สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การจำแนกชนิดของงูตามลักษณะกระโหลกและเขี้ยวพิษ

Class: Reptilia
Subclass: Synaptosauria
Order: Squamata
Suborder: Serpentes
Section: Proteroglypha
Solenoglypha
Opisthoglypha
Aglypha

Proteroglypha

เป็นงูที่มีเขี้ยวพิษอยู่ด้านหน้า ขนาดเขี้ยวพิษเล็กเมื่อเทียบกับ Soleno glypha จะผนึกแน่นกับกระดูกท่อนหน้าของขากรรไกรบน ขยับหรือพันเขี้ยวไม่ได้ ได้แก่ งูในวงศ์ Elapidae และ Hydrophiidae.

Family : Elapidae

งูเห่าไทย (Naja naja kaouthia, Lesson 1831)

งูเห่าด่างพ่นพิษ (Naja naja sputatrix, Boie 1827)

งูเห่าดำพ่นพิษ (Naja naja atraVar., Cantor 1842)

งูเห่าทองพ่นพิษ (Naja naja atra, Cantor 1842)

งูเห่าอีสานพ่นพิษ (Naja naja isanensis, Nutphand 1982)

งูเห่าสีนวล (Naja naja kaouthia, Lesson (New subsp.), Nutphand 1982)

งูจงอาง (Ophiophagus hannah, Cantor 1836)

งูสามเหลี่ยม (Bungarus fasciatus, Schneider 1801)

งูทับสมิงคลา (Bungarus candidus, Linnaeus 1758)

งูสามเหลี่ยมหัวแดง (Bungarus flaviceps, Reinhardt 1843)

งูพริกท้องแดง(Maticora bivirgataflaviceps, Cantor 1827)

งูพริกสีน้ำตาล (Maticora intestinalis intestinalis, Laurenti 1768)

งูปล้องหวายแดง (Calliophis maculiceps maculiceps, Gunther 1859)

งูปล้องหวายหลังเส้น (Calliophis maculiceps malcomi, Nov. Nom. 1914)

งูปล้องหวายเทา (Calliophis gracilis, Gray 1834)

งูปล้องหวายข้อดำ (Calliophis macclellandii Macclelland Reinhardt 1844)

งูปล้องหวายหางแหวน (Calliophis hughi, Cochran 1927) Family : Hydrophiidae

Subfamily : Laticaudinae

งูสมิงทะเล (Laticauda lalicauda, Schneider 1758)

งูสมิงทะเลปากเหลือง (Lalicauda colubrina, Schneider 1799)

งูชายธงนวล (Aipysurus eydouxii, Gray 1849)

Subfamily : Hydrophiinae

งูชายธงขาวหลามตัด (Kerilia jerdonii, Gray 1849)

งูชายธงข้าวหลามตัดไทย (Keriliajerdoniisiamensis, M.

Smith 1849)

งูทากลาย (Astrotia stokesii, Gray 1802)

งูกะรังหัวโต (Kolpophis annandalei, Laidlaw 1901)

งูชายธงท้องบาง (Praeculala viperina, Schmidt 1852)

งูคออ่อนท้องขาว (Enhydrina schistosa, Daudin 1803)

งูเสมียนรังหัวสั้น (Thalassophis anomalus, Schmidt 1852)

งูแสมรังหัวเข้ม (Microcephalophisgracilis, Shaw 1826)

งูชายธงหลักดำ (Pelamis platurus, Linnaeus 1766)

งูอายงั่ว (Lapemis hardwickii, Gray 1834)

งูแสมรังหัวเล็ก (Hydrophis ornalus, Gray 1824)

งูแสมรังหลังเยื้อง (Hydrophis caerulesens, Shaw 1802)

งูแสมรังเทา (Hydrophis torquatus aagaardi, Gunther 1920)

งูแสมรังเทาท้องขาว (Hydrophis torquatus diadema, Gunther 1864)

งูฝักมะรุม (Hydrophis klossi, Boulenger 1912)

งูแสมรังปล้อง (Hydrophis fasciatus atriceps, M.Smith 1920)

งูแสมรังทองเหลือง-ขาว (Hydrophis brookei, Gunther 1872)

งูแสมรังคอยาว (Hydrophis maoillaris, Daudin 1803)

งูแสมรังเหลือง (Hydrophis cyanocintus, Daudin 1803)

งูแสมรังสปิราลิส (Hydrophis spiralis, Shaw 1977)

Solenoglypha

มีเขี้ยวพิษหน้า ขนาดของเขี้ยวยาวมากที่สุดในจำนวนงูพิษทั้งหมด เขี้ยวพิษ เคลื่อนไหวได้โดยการพบเก็บแนบกับขากรรไกรบนมาทางลำคอ มีเหงือก บาง (protective sheath) ครอบอยู่ ได้แก่งูในวงศ์ Viperidae และ Crotalidae.

Family : Viperidae

งูแมวเซา (Vipera russellii siamensis, Shaw 1797)

Family : Croialidae

งูกะปะ (Agkislrodon rhodosloma, Boie 1827)

งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (Trimeresurus albolabris, Gray 1842)

งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว (Trimeresurus popeorum, M.Smith 1853)

งูเขียวไผ่ (Trimeresurus siejnegeri, Schmidt 1894)

งูเขียวหางไหม้ข้างขาว (Trimeresuruserythrurus,Cantor-

 

งูหางแฮ่มกาญจน์ (Trimeresurus kanburiensis, M.Smith-

งูเขียวตุ๊กแก (Trimeresurus wagleri, Boie 1827)

งูปาล์มแดง (Trimeresurus puniceus, Boie 1827)

งูพังกา (Trimeresurus purpureomaculatus purpureom- aculatus, Gray 1890)

งูหางแฮ่มภูเขา (Trimeresurus monticola, Gunther 1864)

งูแก้วหางแดง (Trimeresurussumatranus, Raffles 1822)

งูปาล์ม (Trimeresurus wiroti, Trutnau 1980)

Opisthoglypha

มีเขี้ยวพิษเล็ก อยู่ประมาณใต้ตา (Rear-fang or backfang) เขี้ยวพับได้ อยู่ที่ส่วนท้ายของกระดูกขากรรไกรบน เป็นงูที่มีต่อมพิษเล็ก น้ำพิษน้อย อำนาจพิษอ่อน ไม่มีอันตรายมากนัก ได้แก่งูบางชนิดในวงศ์ Colubridae

Family : Colubridae

Subfamily : Boiginae

งูปล้องทอง (Boiga dendrophila melanola, Boie 1896)

งูเขียวดง (Boiga cyanea, Dumeril & Bibron 1854)

งูต้องไฟ (Boiga nigriceps, Gunther 1863)

งูแช่หางมา (Boiga cynodon, Boie 1827)

งูแช่หางม้าดำ (Boiga cynodon Var., Boie 1827)

งูแช่หางม้าเทา (Boigacynodon siamensis, Taylor 1965)

งูหมอก (Psammodynastes pulverulentus, Boie 1827)

งูเขียวหัวจิ้งจก (Dryophis prasinus, Boie 1827)

งูเขียวพระอินทร์ (Chrysopelea ornata, Shaw 1802)

งูเขียวร่อน (Chrysopelea paradisi, Boie 1827)

งูดอกหมากแดง (Chrysopeleapelias, Linnaeau 1758)

งูม่านทอง (Psammophis condernarus, Merrem 1820)

งูดงคา (Boiga draspiezii,Boie 1827)

งูกระ (Boiga jaspidea,Bibron and dumeril, 1854)

งูแม่ตะงาว (Boiga mullomaculala, Boie 1827)

งูเขียวปากแหนบ (Dryophis nasutus,Lacepede,1789) Subfamily : Homalopsinae

งูหัวกระโหลก (Homalopsis buccata, Linnaeus 1758)

งูปากกว้างน้ำเค็ม (Cerberus rhynchops, Schneider 1799)

งูกระด้าง (Erpeton lenlaculatum, Lacepede 1800)

งูเปี้ยว (Bitia hydroides, Gray 1842)

งูปลาตาแมว (Gerarda prerostiana, Eydoux 1837)

งูสายรุ้ง (Enhydris enhydris, Schneider 1799)

งูสายรุ้งดำ (Enhydris smilhi, Boulenger 1914)

งูสายรุ้งลาย (Enhydris jagorii, Peters 1863)

งูปลิง (Enhydris plumbia, Boie 1827)

งูไซ (Enhydris bocouti, Jan 1865)

Aglyph

เป็นงูไม่มีพิษ ไม่มีเขี้ยวพิษ มีแต่ฟันในรูปแบบต่าง ๆ โดยมากซี่เล็กเรียงถี่เป็นแถว บางชนิดจะมีฟันซี่ในสุดใหญ่กว่าซี่อื่น ๆ เห็นได้ชัด อาจทำให้เข้าใจผิดในการวินิจฉัยรอยแผลของผู้ถูกกัด โดยคิดว่าเป็นรอยของเขี้ยวพิษ ได้แก่ งูในวงศ Typhlopidae, Anilidae, Xenopeltidae, Boidae, Dipsadidae และ Colubridae บางชนิด

ลักษณะของงูพิษวงศ์ Elapidae ในประเทศไทย

1.  มีชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดยาว 4.50-5.00 เมตร คืองูจงอาง (Ophiophagus hannah) ชนิดที่มีขนาดปานกลาง คือ สกุลงูเห่า (Naja) และสกุลงูสามเหลี่ยม (Bungarus) ชนิดที่มีขนาดเล็ก คือ สกุลงูพริก (Maticora) และงูปล้อง หวาย (Calliophis)

2. หัวป้อมมน เกล็ดบนหัวใหญ่ โดยเฉพาะเกล็ดกระหม่อม (Parie- tals) เป็นคู่ที่ใหญ่ที่สุด ตาดำ (Pupil) กลม เกล็ดทั่วไปมักเป็นเกล็ดเรียบ (Unke­eled) เกล็ดกลางสันหลัง (Hexagonal) มักใหญ่ ตัวยาวเรียว

3.  มีเขี้ยวพิษในแบบ Proteroglypha มีต่อมพิษอยู่บริเวณท้ายหัวทั้งสองข้าง พิษมีเปอร์เซ็นต์มากในทางระบบประสาท คือ สกุลงูเห่า (Naja) สกุลงู สามเหลี่ยม (Bungarus) เขี้ยวพิษไม่ถูกคลุมด้วยแผ่นเหงือก (Sheath) ประเภท ต่อมพิษเล็กยาวและลึกเข้าไปในตัว (Body-cavily) คือ สกุลงูพริก (Maticola)

4.  มีชนิดที่มีกระดูกคอ (Transverse process of nuchal ribs) ยาว แเละหนังคอยืดได้มาก สามารถแผ่แม่เบี้ยได้ คือ งูเห่า (Naja) และงูจงอาง (Ophiophagus hannah)

5. เป็นงูบก ขึ้นต้นไม้หรือลงนํ้าเป็นบางชนิด และจะเป็นขณะเที่ยว

หาอาหาร

6. ลายที่คอของงูเห่าไทย (Naja naja kaouihia) ที่เป็นลายปกติจะเป็นวงกลมสีขาววงเดียว (Monocellate) ที่กลางคอด้านหลังถ้าหากไม่มีลายวงกลมหรือเป็นลักษณะตัวยู  (U) จะเป็นงูเห่าพ่นพิษ

ลักษณะของงูทะเลพิษวงศ์ Hydrophiidae ในประเทศไทย

1.  เป็นงูทะเล ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเลตลอดไม่ขึ้นบกมีอยู่เพียง สกุลเดียว คือ งูสมิงทะเล (Lalicauda) ที่ขึ้นวางไข่บนบก

2.  ส่วนมากจะมีสีเทา นํ้าเงินเทา เทาเหลือง ลายเป็นปล้อง หรือลักษณะชายธงขวางตามตัว หางแบนเป็นพาย

3. มีบางชนิดที่มีหัวเล็ก มาก เช่น งูแสมรังหัวเข็ม (Micro- cephalophis) แต่ตัวใหญ่ หางแบนใหญ่

4. มีเขี้ยวพิษในแบบ Proteroglypha

5. หลายชนิดเกล็ดตัวเป็นเกล็ดชนิดเกล็ดสันแหว่ง (Broken keeled)

ลักษณะของงูพิษวงศ์ Viperidae ในประเทศไทย

1. มีเพียงชนิดเดียว คือ งูแมวเซา (V.russellii siamensis)

2. หัวเป็นรูปสามเหลี่ยมฐานแคบ ตัวอ้วน หางสั้น ชอบทำเสียงขู่ ฟ่อยาว ๆ ด้วยการสูดลมเข้าตัวจนตัวพอง และผ่อนระบายลมออก

3.  มีเขี้ยวพิษยาวพบได้ในแบบ Solenoglypha เมื่อหุบปากเขี้ยวพิษ จะถูกคลุมด้วยแผ่นเหงือก (Sheath)

4. ออกลูกเป็นตัวครั้งละ 15-30 ตัว

5. สีน้ำตาลอ่อน ลายน้ำตาลแก่ ลายกลางหลังเป็นดวงปื้นใหญ่กว่า

ลายข้างตัว

6. เกล็ดตัวเป็นเกล็ดสัน (Keeled)

ลักษณะของงูพิษวงศ์ Crotalidae ในประเทศไทย

1. เป็นกลุ่มงู Pit Viper มีช่อง Pit อยู่หน้าเกล็ดหัวตา (Preoculars)

ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญของงูวงศ์นี้

2.  มีเขี้ยวพิษยาวในเเบบ Solenoglypha พิษมีเปอร์เซ็นต์มากในระบบโลหิต เมื่อหุบปากเขี้ยวพิษจะถูกคลุมด้วยแผ่นเหงือก (Sheath)

3. มีชนิดที่มีเกล็ดบนหัวใหญ่อยู่เพียงชนิดเดียว คือ งูกะปะ(A.rhodostoma) หัวเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายจมูกแหลม ลายที่หลังเป็นรูปสาม เหลี่ยมปลายจรดกลางหลัง สามารถแผ่กระดูกซี่โครงทำตัวแบนได้

4.  พวกสกุลงูเขียวหางไหม้ (Trimeresurus) มีเกล็ดบนหัวเล็ก มาก 9-12 ชิ้น บางชนิดเกล็ดคิ้ว (Supraoculars) แบ่งออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ บางชนิด เกล็ดเป็นชนิดเกล็ดสัน เช่น งูหางแฮ่มกาญจน์ (T.Kanburiensis) และงูปาล์ม (T.wiroti)

5. หัวกว้างโต คอเล็ก ตัวอ้วน หางเล็กแหลม

6.  หลายชนิดหางแดง คือ งูเขียวหางไหม้ท้องเหลือง (T.albolabris) งูเขียวหางไหม้ท้องเขียว (T.popeorum) งูแก้วหางแดง (T.sumatranus) งูเขียวหางไหม้ข้างขาว (T.erythrurus) งูเขียวไผ่ (T.stejnegeri) นอกนั้นมักหางสีน้ำตาล เข้ม

7. เนื่องจากออกหากินกลางคืน กลางวันตาดำ (Pupil) จึงหรี่เห็นยาวทางตั้ง (Vertical)

ลักษณะของงูพิษวงศ์ Colubridae ในประเทศไทย

1.  มีเขี้ยวพิษในแบบ Opisthoglypha พิษอ่อน เขียวพิษไม่มีแผ่นเหงือก (Sheath).

2. พวกหากินตามต้นไม้ Subfamily : Boiginae มีหัวโต คอเล็ก ตัวเรียวยาว หางยาว พิษทำให้ปวดบวมเล็กน้อย ได้แก่งูปล้องทอง (B.dendrophita melanota) งูเขียวดง (B.cyanea) งูต้องไฟ (B.nigriceps) งูแช่หางม้า (B.cynodon) งูเขียวหัวจิ้งจก(D.prasinus) ส่วนงูหมอก (P.puJverulentus) ไม่พบรายที่ปรากฏอาการทางพิษ

3. พวกชอบหากินตามนํ้า Subfamily : Homalopsinae ไม่พบรายที่ปรากฏอาการทางพิษ

4. หลายชนิด เช่น งูสายรุ้ง (Enhydris) มีเกล็ดตัวชนิดเกล็ดเรียบ

(Unkeeled)

 

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า