สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การจัดประเภทอาหารตามหยิน-หยาง

อาหารเป็นวิถีแห่งวิวัฒนาการ ซึ่งทำให้ มีชีวิตชนิดหนึ่งเปลี่ยนไปเป็นอีกชนิดหนึ่ง การกินคือการนำเอาสิ่งแวดล้อมทั้งหมดเข้าไปภายในร่างกาย เช่น แสงแดด ดิน นํ้า และอากาศ การแบ่งอาหารเป็นหยิน-หยางเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปรุงอาหารที่สมดุล ปัจจัยของการเจริญเติบโตและโครงสร้างของอาหารที่แตกต่างกันจะเป็นตัวบ่งชี้ว่า อาหารชนิดนั้นมีแนวโน้ม เป็นหยินหรือหยาง

อาหารหยินมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะดังนี้: มีโปแตสเชียมมาก เติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศอบอุ่นหรือร้อนโตเร็ว ใหญ่กว่าสูงกว่า อ่อนกว่า เหลวเป็นนํ้า เติบโตเป็นแนวตั้งตรงขึ้นไป ในอากาศ เติบโตไปแนวนอนข้างใต้พื้นดิน ใบใหญ่กว่า ขอบใบเรียบ สุกเร็ว

การกินอาหารหยินจะทำให้ร่างกายเย็นขึ้น นุ่มขึ้น สงบ ช้าลง ต้องการเวลา นอนหลับมากขึ้น

อาหารหยางมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะดังนี้ : มีโซเดียมมาก เติบโตได้ดีในสภาพ ภูมิอากาศหนาวหรือเย็น หรือในฤดูหนาว เติบโตช้า เล็ก สั้น แข็ง มีนํ้าเป็นองค์ประกอบน้อย เติบโต ไปตามแนวนอนเหนือพื้นดิน เติบโตเป็นแนวตั้งตรงลงไปในดิน ใบเล็กกว่า ขอบใบเป็นหยัก แข็งขึ้นเมื่อปรุงสุกแล้ว

การกินอาหารหยางทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น แข็งขึ้น อารมณ์หุนหัน เคลื่อนไหว รวดเร็ว ใช้เวลานอนหลับสั้น

ในการจัดประเภทของอาหารนั้นต้องดูที่ปัจจัยหลัก เนื่องจากอาหารทุกชนิดมี คุณสมบัติทั้งหยินและหยาง วิธีการแน่นอนที่สุดในการจัดประเภทคือการสังเกตวงจรของการ เจริญเติบโตของพืชนั้นๆ ในหน้าหนาวอากาศจะหนาวกว่า (หยิน) ในช่วงนี้พลังของพืชผักจะลงไป อยู่ที่ราก พลังชีวิตของพืชจะเข้มข้น แห้งกว่า เก็บไว้ได้นานกว่า ให้ความอบอุ่น ส่วนหน้าร้อน อากาศจะร้อนกว่า (หยาง) พืชจะเป็นหยินมากกว่า มีนํ้ามากกว่า เหี่ยวเฉาและเน่าได้ง่าย จะให้ความเย็นแก่ร่างกายในหน้าร้อน วงจรประจำปีนี้แสดงให้เห็นการสลับไปมาระหว่างพลังของ หยินและหยางเมื่อฤดูกาลเปลี่ยนแปลง สามารถใช้ได้กับทุกๆ ส่วนของโลก อาหารที่กำเนิดใน เขตร้อนมักจะเขียวชอุ่ม ฉํ่า และอุดมสมบูรณ์ก็จะเป็นหยินมากกว่า ในขณะที่อาหารซึ่งมีกำเนิดจากเขตเหนือหรือมีอากาศหนาวจะเป็นหยางมากกว่า

อาหารที่ได้จากพืชผักจะเป็นหยินมากกว่าที่ได้จากสัตว์ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. ผักจะอยู่กับที่ เจริญเติบโตในที่เดิม ในขณะที่สัตว์จะเคลื่อนที่ไปมาและใช้เนื้อที่มากในการดำเนินชีวิต
  2. ผักโดยทั่วไปจะมีโครงสร้างที่ขยายออก เจริญเติบโตเหนือพื้นดิน ขึ้นสู่ ฟ้า หรือไปด้านข้างขนานกับพื้นดิน ในขณะที่สัตว์จะมีโครงสร้างที่แน่น และแต่ละส่วนแยกจากกัน ผักจะมีรูปลักษณ์ที่ขยายตัวมากกว่า มีกิ่ง ก้าน ใบ เจริญเติบโตออกด้านนอก ขณะที่ร่างกาย
  3. อุณหภูมิของพืชจะเย็นกว่าสัตว์บางชนิดพืชหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ เข้าไปและหายใจเอาออกซิเจนออกสัตว์หายใจเอาออกซิเจนเข้าและเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกเป็นตัวแทนสีเขียวของคลอโรฟีล ในขณะที่สัตว์มีสีแดงของฮีโมโกลบิน โครงสร้างทางเคมีของทั้งพืชและสัตว์นั้นคล้ายคลึงกัน แต่ตรงกลางของโครงสร้างทางเคมีของคลอโรฟิลเป็น แมกนีเซียม แต่ตรงกลางของฮีโมโกลบินเป็นเหล็ก

เราสามารถแบ่งว่าผักชนิดไหนเป็นหยินมากกว่า และชนิดไหนเป็นหยางมากกว่า  แต่เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัยที่เราจะกินผักหยินเพื่อให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นหยาง ในทางกลับกันเมื่อกินพืชในหน้าหนาวหรือในเขตอากาศหนาว เราควรเลือกกินพืชผักที่เป็นหยาง เพื่อให้สมดุลกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นหยิน หรืออาจทำให้อาหารมีความเป็นหยางมากขึ้น โดยการปรุง อาหารให้นานขึ้น และเพิ่มปัจจัยอื่นๆ เช่น ความดัน ความร้อน และเกลือ

ดังนั้นเราสามารถจัดกลุ่มอาหารทั้งหมดจากหยินไปหยางหรือจากหยางไปหยินคือ อาหารจากสัตว์เป็นหยางสูงมาก ผลไม้ นม นํ้าตาล เครื่องเทศ และพริกจะเป็นหยินสูงมาก พวกธัญพืช ถั่ว และผักต่างๆ อยู่ตรงกลางระหว่างหยางกับหยิน ในกลุ่มอาหารที่มีหยางสูงมาก เราอาจจัดเรียงจากหยางมากสุดไปหาหยางน้อยดังนี้ เกลือ ไข่ เนื้อ สัตว์ปีก เนยแข็งที่เค็ม และ ปลา ในกลุ่มอาหารที่มีหยินสูงมาก เรียงจากหยินน้อยไปหาหยินมากดังนี้ นมและผลิตภัณฑ์นม พืชผักและผลไม้เมืองร้อน กาแฟ ชา เหล้า เครื่องเทศ นํ้าผึ้ง นํ้าอัดลม และอาหารหวานต่างๆ อาหารทุกชนิดที่ใช้สารเคมีและสารปรุงแต่งสังเคราะห์ กัญชา โคเคน ยาเสพติดต่างๆ และยา รักษาโรคเกือบทั้งหมด ส่วนในกลุ่มอาหารที่อยู่ตรงกลางระหว่างหยินกับหยางเมื่อเปรียบเทียบ ในกลุ่มกันเอง เรียงจากหยางไปหาหยินดังนี้ เมล็ดข้าวชนิดต่างๆ พวกถั่ว เมล็ดพืช รากของผัก ผักใบกลม ผักใบกว้าง นัท และผลไม้ที่เติบโตในเขตร้อนและเขตอบอุ่น

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า