สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

กฎหนึ่งเดียวของเอกภพแบบแมคโครไบโอติก

จอร์จ โอชาว่า บิดาแห่งแมคโครไบโอติกได้อธิบายกฎของเอกภพ เพื่อเป็นพื้นฐาน ในการศึกษาแมคโครไบโอติก มี 2 กฎคือ 1. กฎของจักรวาล 7 ประการ 2. กฎหนึ่งเดียวถูกเปลี่ยน ไปเป็นกฎควบคุมโลกของกายภาพ 12 ประการ

กฎของจักรวาล 7 ประการ

กฎหรือระเบียบของจักรวาลนี้เป็นพื้นฐานของปรัชญาทุกแขนง ของศาสนา ทุกศาสนา และของอารยธรรมยุคโบราณทั้งหมด เป็นการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับชีวิตและจักรวาล ที่กว้างใหญ่ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอย่างไม่สิ้นสุดและเป็นสัจธรรม

1. สิ่งซึ่งมีเริ่มต้นต้องมีสิ้นสุด เป็นกฎในเชิงกลับ แสดงให้เห็นว่าทุกสรรพสิ่งในโลกแห่งการเปรียบเทียบนี้ ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งเป็นคำสอนของ พระพุทธเจ้า พระคริสต์ เล่าจื๊อ และนักปราชญ์ทางตะวันออก เป็นหลักแห่งความจริงที่ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งเดียวที่คงที่

2.  สิ่งซึ่งมีด้านหน้าต้องมีด้านหลัง เป็นกฎด้านหน้าและด้านหลัง สะท้อนให้เห็นว่าในโลกแห่งการเปรียบเทียบนี้ดำรงอยู่ด้วยสิ่งตรงกันข้าม เช่น เรามีความแข็งแรงก็เพราะว่า มีบางคนอ่อนแอ มีคนรวยก็เพราะมีคนยากจน วิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมสมัยใหม่ได้สร้างสิ่งซึ่งให้ความสะดวกสบายอย่างใหญ่หลวงของการดำรงชีวิตของเรา ขณะเดียวกันก็ทำให้มีข้อเสียด้านมลพิษต่างๆ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ในปัจจุบัน เป็นต้น

3.  ยิ่งด้านหน้าใหญ่เพียงไรด้านหลังย่อมใหญ่เพียงนั้นเป็นกฎแห่งความสมดุล สะท้อนให้เห็นว่า เมื่อเป็นหยางสุดโต่ง ย่อมกลายเป็นหยิน หรือหยินสุดโต่งจะกลายไปเป็นหยาง เช่น ระเบิดปรมาณูเป็นอาวุธที่ทำลายล้างได้มากที่สุดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น สามารถทำให้เขามีอำนาจในการทำลายล้างที่สุด แต่ว่ามันก็จะทำให้เขาอ่อนแอที่สุดได้เช่นกันเมื่อศัตรูของเขามีอาวุธนี้เช่นกัน มอร์ฟีนมีประโยชน์ต่อมนุษย์ชาติในการระงับความเจ็บปวด ทว่าหากนำไปใช้อย่างไม่ถูกต้องจะทำให้กลายเป็นบ้า เงินนำเอาความสบาย อำนาจและความเบิกบานมาให้ แต่มัน ก็สามารถจะเป็นที่มาของความไม่สบาย ความอ่อนแอและความเศร้าโศกได้เช่นกัน ความงาม เป็นที่ปรารถนาของผู้หญิงทุกคน ทว่ามันคือสาเหตุสำคัญของการหึงหวง ความเคืองแค้น และ การทะเลาะวิวาท เป็นต้น

4.  ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดที่เหมือนกันไปหมดทุกอย่าง เป็นกฎความไม่เหมือนกัน เป็นพิมพ์เดียวกันสะท้อนให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแตกต่างกันทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถ ประยุกต์ใช้กฎข้อนี้ได้ เช่น ตามหลักโภชนาการ คาร์โบไฮเดรตทุกชนิดล้วนเหมือนกันเพราะ มีองค์ประกอบทางเคมีที่เหมือนกัน (คือ C6H1206) แต่แมคโครไบโอติกกลับมองว่าคาร์โบไฮเดรต ที่มาจากธัญพืชแต่ละชนิดล้วนแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น คาร์โบไฮเดรตจากข้าวกล้องครบส่วน ย่อมแตกต่างจากข้าวขาวที่ผ่านการขัดสี

5.  สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์กันล้วนส่งเสริมกัน สิ่งซึ่งตรงกันข้ามและเป็นปฏิปักษ์กัน ในโลกนี้ได้แก่ เกิดกับตาย ความยุติธรรมกับอยุติธรรม เสรีภาพกับความเป็นทาส ความสุขกับ ความทุกข์ ความรักกับความชัง อาจจะดูเป็นเพียงปฏิปักษ์กันอย่างเดียวแต่กลับส่งเสริมกันเช่นกัน โดยแต่ละฝ่ายของแต่ละคู่ต่างพึ่งพาอาศัยอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อการดำรงอยู่ เช่น หากไม่มีกลางวัน ก็ไม่สามารถที่จะมีกลางคืนได้ ทั้งกลางวันและกลางคืนส่งเสริมกันเป็นหนึ่งวัน หลังจากที่ได้ประสบกับความเจ็บป่วยแล้ว เราจึงจะซาบซึ้งว่าการมีสุขภาพดีนั้นช่างวิเศษสักเพียงไร

6.  สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์และส่งเสริมกันสามารถแบ่งออกเป็นหยินกับหยาง ปรากฏการณ์ธรรมชาติล้วนเป็นการแสดงออกด้วยองค์ประกอบของหยิน-หยางทั้งสิ้น เช่น อุณหภูมิแสดงออกมาเป็นร้อนกับเย็น เพศแสดงออกมาเป็นหญิงกับชาย จะอยู่ในประเภทใดนั้น ขึ้นอยู่กับธรรมชาติของมัน

7.  หยินกับหยางเป็นแขนทั้งสองของอนันต์เป็นหนึ่งเดียวที่สมบูรณ์ จักรวาลเป็นอนันต์ สมบูรณ์ หนึ่งเดียวที่ไร้ขีดจำกัด เป็นนิรันดร อยู่นอกเหนือสัมผัสของเรา แต่จักรวาล ส่วนเล็ก ที่เรารู้สึกได้และคุ้นเคยคือโลกแห่งการเปรียบเทียบที่เราอาศัยอยู่นี้ซึ่งจะมีความเป็นตัวตนมีขีดจำกัด และมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า

โลกทางฟิสิกส์ที่มีตัวตนจับต้องได้จะมีสองด้านเสมอ คือด้านหน้ากับด้านหลัง ต้นกับ ปลาย ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นโดยผ่านทางสัมพันธภาพของสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน คือสิ่งที่เป็น ปฏิปักษ์และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมกัน เรียกว่า หยินกับหยาง มันเป็นเพียงสองด้านของเหรียญๆ เดียวที่เป็นหนึ่งเดียว จากความเป็นหนึ่งเดียวแตกออกเป็นสองขั้ว สร้างความเป็นคู่คือ หยินกับหยางขึ้นมา ปฏิสัมพันธ์ของหยิน-หยางนี้ ทำให้เกิดพลังงานขึ้นมา พลังงานเหล่านี้กระทบ ซึ่งและกัน จนหนาแน่นขึ้นตามลำดับและก่อให้เกิดอนุภาค เช่น โปรตอน อิเล็กตรอน และ นิวตรอนจะรวมตัวกันกลายเป็นอะตอมและธาตุต่างๆ ธาตุต่างๆ รวมตัวกันในแบบต่างๆ กลายเป็น สารอินทรีย์และพืชผักต่างๆ ขึ้นมา พืชผักต่างๆ ถูกกินและกลายเป็นสัตว์ สัตว์ก็จะมีวิวัฒนาการจากความเป็นสัตว์ชั้นต่ำที่สุด มาเป็นสัตว์ชั้นสูงที่สุดคือมนุษย์ วิวัฒนาการตามธรรมชาตินี้เป็น ระเบียบมากการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งดำเนินไปตามระเบียบของหยิน-หยางสลับกันโดยหยินสุดโต่ง จะเปลี่ยนไปเป็นหยาง และหยางสุดขั้วก็จะเปลี่ยนไปเป็นหยิน เช่น จากขั้วทั้งสองของความว่างเปล่า—> (หยิน) พลังงาน——      >(หยาง) อนุภาค —-> (หยิน) อะตอม ——>(หยาง)พืชผัก     —-> (หยิน)——    > สัตว์ (หยาง) ต่อจากโลกของสัตว์คือโลกของจิตวิญญาณเป็นหยิน

ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างหยินกับหยางสร้างสวรรค์กับโลก กลางวันกับกลางคืน มืดกบสว่าง ช้ากับเร็ว เย็นกับร้อน ฟ้ากับดิน เป็นต้น ด้วยเหตุที่มันมีกำเนิดเดียวกัน จึงมีความดึงดูดระหว่างขั้วของแต่ละคู่  สิ่งที่ตรงกันข้ามกันจะดึงดูดซึ่งกันและกัน และรวมกันในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน ก่อให้เกิดเป็นส่วนที่สามขึ้นมา จากนั้นส่วนที่สามนี้จะสร้างสิ่งที่ตรงกันข้ามกับมันขึ้นมา เป็นส่วนที่สี่ จากนั้นส่วนที่สามและที่สี่รวมกันสร้างเป็นส่วนที่ห้า และส่วนที่ห้าก็สร้างส่วนที่หก ส่วนที่ห้ากับที่หกรวมกันอีกเป็นส่วนที่เจ็ดต่อไปเรื่อยๆ ก่อให้เกิดเป็นเกลียวแห่งการสร้างสรรค์ ที่คลี่ขยายออกไปเรื่อยๆ ความคิดทางตะวันออกนั้นทุกสิ่งถูกจัดประเภทไปตามลักษณะความเป็น หยิน-หยาง เป็นรากฐานของความเข้าใจถึงอาหารตามแนวแมคโครไบโอติก และเมื่อเข้าใจแล้วจะทำให้แมคโครไบโอติกเป็นเพียงการกระทำตามสามัญสำนึก หากเข้าใจลึกซึ้งมากขึ้นก็จะพบ กับความสงบสุขอย่างลึกซึ้งมากขึ้นตามไปด้วย

 

กฎหนึ่งเดียวถูกเปลี่ยนไปเป็นกฎควบคุมโลกของกายภาพ 12 ประการ

1. หยินและหยางเป็นสองขั้ว มีผลเมื่อมีการขยายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ณ จุดแบ่งแยก

2. หยินและหยางถูกสร้างอย่างต่อเนื่อง โดยการขยายตัวที่เหนือธรรมชาติ

3. หยินเป็นแรงออกจากศูนย์กลาง หยางเป็นแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง หยินและหยางให้พลังงาน

4. หยินดึงดูดหยาง และหยางดึงดูดหยิน

5. หยินและหยางในสัดส่วนที่ต่างกันทำให้เกิดปรากฏการณ์ทุกอย่าง

6. ปรากฏการณ์ทุกอย่างล้วนไม่ยั่งยืน สลับซับซ้อนไม่มีที่สิ้นสุดและ เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของหยินและหยางตลอดเวลา ทุกสรรพสิ่งไม่สงบนิ่ง

7. ไม่มีสิ่งใดเป็นหยินอย่างสมบูรณ์ หรือเป็นหยางอย่างสมบูรณ์ แม้แต่ปรากฏการณ์ง่ายๆที่เห็นจากภายนอก ทุกสรรพสิ่งล้วนประกอบไปด้วยสองขั้วของหยิน-หยาง ในระดับต่างๆ กัน

8. ไม่มีสิ่งใดเป็นกลาง ทุกสรรพสิ่งล้วนมีหยินหรือไม่ก็หยางเกิน

9. แรงดึงดูดระหว่างของสองสิ่งเป็นสัดส่วนกับความแตกต่างในองค์ประกอบของหยินและหยาง

10. หยินผลักหยิน และหยางผลักหยาง การผลักและการดึงดูดกันเป็นสัดส่วนกลับ (ผกผัน) ของความแตกต่างระหว่างแรงหยินและหยาง

11. ช่วงเวลา (Time) และอวกาศ (Space) หยินสร้างหยาง และหยางสร้างหยิน

12. หยางอยู่ศูนย์กลาง และหยินอยู่ผิวนอกของทุกๆ กายภาพ

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า