สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ไข้กลับซํ้า

ไข้กลับซํ้า หรือไข้รีแล็ปชิ่ง (Relapsing fever)

ไข้กลับซํ้าเป็นโรคติดต่อชนิดเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรียโดยมีเห็บและเหาเป็นพาหะ ชนิดที่เกิดจากไรหรือเหาเป็นพาหะจะระบาดเฉพาะในเอเชีย อาฟริกา และอเมริกาใต้ ชนิดเกิดจากเห็บเป็นโรคประจำท้องถิ่นทั่วไป มีการระบาดในอาฟริกา ซาอุดิอาระเบีย อิหร่าน อินเดีย อเมริกาเหนือและใต้ รวมทั้งตอนกลางบางส่วนของเอเชีย

สาเหตุ โรคนี้มักเกิดการระบาดในช่วงสงครามหรือในช่วงที่เกิดทุพภิกขภัย โดย เฉพาะในท้องถิ่นที่เกิดความอดอยากขาดแคลนอาหารและประชาชนอาศัยรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น ขาดสุขลักษณะ เป็นโอกาสให้เหาหรือไรสามารถขยายพันธุ์ได้ดี

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค ได้แก่เชื้อแบคทีเรียพวก สไปโรคีต (Spirochete) ชนิดนำโดยเหา มีชื่อเรียกว่าบอร์เรเลีย รีเคอเรนทิส(Borreliarecurrentis) ชนิดนำโดยเห็บ มีชื่อเรียกว่า บอร์เรเลีย ดัทโทไน(Borrelia duttoni) โดยมีเห็บในตระกูล ออนิโทโดโรซ(ornithodoros) เป็นพาหะ

แหล่งของโรคได้แก่มนุษย์ โดยมีเหาเป็นพาหะหรือแหล่งเก็บเชื้อโรคตัวกลางสำหรับ ในป่าพวกสัตว์กัดแทะเป็นแหล่งเก็บเชื้อโรค โดยเห็บเป็นพาหะหรือตัวนำเชื้อโรคด้วยการเก็บไว้ ที่รังไข่ทำให้สามารถถ่ายทอดตัวเชื้อโรคไปสู่ลูกหลานได้

การติดต่อ

ชนิดที่นำโดยเหา มีเหาที่มีชื่อเรียกว่า เพดดิคุลัส ฮิวแมนนัส ฮิวแมนส์ (Pediculus humans humanus) เป็นพาหะ เมื่อเหากัดและถูกบี้ เชื้อโรคที่อยู่ในตัวเหาจะทะลักออกมากับอุจจาระ แล้วแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางรอยถลอกจากการเกาบริเวณที่ถูกเหากัด

ชนิดที่นำโดยเห็บ ในสหรัฐอเมริกาเห็บที่มีชื่อเรียกว่า ออนิโทโดโรซ ทูริคาทา (ornithodo

ros turicata) และออนิโทโดโรซ เฮอร์มไช (ornithodoros hermsi) เป็นพาหะ ในอเมริกากลาง และใต้มีซื่อเรียกว่า ออนิโทโดโรซ รูดิส (ornithodoros rudis) และ ออนิโทโดโรซ ทาลาจี (ornithodoros talaje) เป็นพาหะ

หลังจากกัดและดูดเลือดแล้วตัวเห็บจะรีบปล่อยตัวหลุดจากผู้ที่ถูกกัดทันที ในอาฟริกา เห็บบางชนิดนำตัวเชื้อโรคจากมนุษย์ไปสู่มนุษย์ส่วนเหาจะไม่นำเชื้อจากมนุษย์ไปลู่มนุษย์โดยตรง

 ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 5-15 วัน หรือประมาณ 8 วันโดยเฉลี่ย

ระยะติดต่อ สำหรับชนิดที่มีเหาเป็นพาหะ หลังจากที่เหากัดผู้ที่มีเชื้อโรคเพื่อดูดเลือด เป็นอาหาร เชื้อโรคไข้กลับซํ้าจะเข้าไปอยู่ในร่างกายของเหา หลังจากนั้น 4-5 วัน เหาจึงจะมี อาการติดเชื้อซึ่งเชื้อโรคจะสามารถอยู่ในตัวเหาได้ตลอดชีวิตของมันซึ่งอยู่ในราว 20-40 วัน เมื่อเหาไปกัดคนปกติและถูกบี้เชื้อโรคก็จะเข้าสู่รอยแผลของผู้ที่ถูกกัด                                                                                                                                            สำหรับชนิดที่มีเห็บเป็นพาหะ ตัวเห็บที่เก็บตัวเชื้อโรคนี้ไว้สามารถมี ชีวิตอยู่ได้หลายปีโดยไม่ต้องกินเลือด เลย และยังคงเก็บเชื้อโรคไว้ได้ นาน ผู้ที่ถูกเห็บกัดและบี้เชื้อโรคก็จะ สามารถเข้าสู่ร่างกายทางรอยแผลที่ ยูกกัดได้เช่นกัน หรือเมื่อเห็บกัดมนุษย์จะปล่อยนํ้า coxal fluid ออก มาซึ่งสามารถแพร่เชื้อโรคมาสู่มนุษย์ได้

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ทุกๆคนจะไวต่อการเป็นโรคไข้กลับซํ้าทั้งนั้น เมื่อเป็นโรคนี้แล้วจะมีภูมิต้านทานอยู่ได้นานเท่าใด ยังไม่ทราบแน่นอน คาดว่าอย่างน้อย 2 ปี อาการ

อาการ

สาเหตุที่เรียกว่าไข้กลับซํ้า เพราะผู้ป่วยจะมีอาการไข้และกลับเป็นปกติสลับกันไปมาอยู่ เช่นนี้ประมาณ 2-10 ครั้ง โดยผู้ป่วยจะมีอาการไข้ 2-9 วัน แล้วกลับสู่ปกติ 2-4 วัน อาการ ของโรคนี้จะเป็นแบบเฉียบพลัน คือมีไข้ขึ้นทันที มีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ใจสั่น จิตใจผิดปกติ คลื่นไส้และอาเจียน ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อ บางครั้งอาจมีอาการไอหรือหลอดลมอักเสบร่วมด้วย

ในระยะสุดท้ายผู้ป่วยอาจมีอาการตัวเหลืองอันเกิดจากตับและม้ามโตหรืออาจจะไม่มี อาการตัวเหลืองก็ได้ บางรายอาจมีผื่นแดงปรากฏตามลำตัวและแขนขาในระยะแรกของโรค ต่อมากลายเป็นจุดแดง ๆ และอาจมีจํ้าเลือดขึ้นได้

การตรวจหาเชื่อและวินิจฉัยโรค

1 .โดยการเจาะโลหิตของผู้ป่วยขณะที่มีอาการนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หรือนำไปฉีด เข้าหนูทิ้งไว้ 3-5 วันแล้วเจาะโลหิตจากหางหนูมาย้อมสี จะพบเชื้อของโรคนี้

2.ในระหว่างมีไข้จะพบโปรตีนในปัสสาวะขอผู้ป่วย และพบเม็ดโลหิตขาวสูงมาก

การรักษาพยาบาลให้ผู้ป่วยรับประทานยาจำพวก เตทตราซัยคสิน (Tetracycline)ขนาด 0.5 กรัม ทุก 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน หรือใช้ยาจำพวก โปรเคน เพนิซิลสิน Procaine penicillin G. ขนาด 600,000 Units ฉีดเข้ากล้ามเนื้อเป็นเวลา 10 วัน (ควรปรึกษาแพทย์)

วัคซีน (ดูหัวข้อ การป้องกันและควบคุมโรค ข้อร)

โรคแทรกซ้อน –

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายไข้กลับซํ้า ควรแยกออกจากโรคไข้จับสั่น โรคเลพโท สไพโรซิส ไข้เหลือง ไข้รากสาดใหญ่ และโรคเมนนิงโกคอดซีเมีย

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็นไข้กลับซํ้า นอกจากการไปพบแพทย์และ ปฎิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว มีข้อ ควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1 .เมื่อมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้กลับซํ้า ต้องรีบรายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นทราบ

  1. ไม่ต้องแยกกักผู้ป่วย            แต่ต้องกำจัดเหาหรือไรตามเสื้อผ้า สิ่งของเครื่องใช้ ที่พักอาศัย ของผู้ป่วย หรือกำจัดเห็บด้วย
  2. ทำการกักกันผู้สัมผัสและผู้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไว้         9 วัน หรืออาจกำจัดเหาหรือไรให้ หมดสิ้นไปด้วยการใช้ยาฆ่าแมลง แล้วจึงเกิดกักกันได้
  3. สืบสวนค้นหาผู้สัมผัสโรค และแหล่งที่เก็บของตัวเชื้อโรค ค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ของ เห็บและกำจัดทำลาย (ส่วนที่เกิดจากเหาให้ดำเนินการตามหัวข้อการควบคุมขณะมีการระบาด ของโรค)

การป้องกันและควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิด โรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้

1 .ทำการควบคุมและกำจัดเหาหรือไร (ดู ในเรื่อง ไข้รากสาดใหญ่)

2.ทำการควบคุมและกำจัดเห็บ โดยใช้ยา ฆ่าแมลง ได้แก่ N-diethyl-m-toluamide และ dimetthylphthlate ทาตามแขนและขา เช่นใน ทรณีที่ดึงเห็บออกจากตัวสัตว์

ทำการพ่นยาฆ่าแมลงจำพวก chordane, dieldrin, lindane, diazinon หรือ benzene hexachloride เพื่อเป็นการลดจำนวนตัวเห็บบ้าง

3.โรคนี้ไม่มีการให้ภูมิคุ้มกัน

4.ควรทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ เพื่อไมให้เป็นที่อยู่อาศัยของ สัตว์พาหะของโรค เช่นพวกเหาและเห็บ เป็นต้น

การควบคุมขณะมีการะบาดของโรค ในขณะที่มีการระบาด ให้ทำการพ่นยาที่มี ฤทธิ์ตกค้าง เพื่อทำลายเหาหรือไรแก่ผู้สัมผัสโรคและผู้ป่วย ในกรณีที่โรคระบาดออกไปอย่าง กว้างขวางแล้ว จำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้างพ่นและโรยแกบุคคล คนในชุมชนที่มี การระบาดอย่างทั่วถึง

การควบคุมและป้องกันโรคระหว่างบระเทศ แจ้งให้องค์การอนามัยโรคและ ประเทศใกล้เคียงทราบถึงการระบาด

ข้อควรทราบเพิ่มเติม ตามข้อประชุมขององค์การอนามัยโลกครั้งที่ 22 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2517 โรคไข้กลับซํ้า มิได้เป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎข้อบังคับระหว่างประเทศ แต่ควรแจ้งไปยังองค์การอนามัยโลกเมื่อมีการระบาด เพราะเป็นโรคที่ยังต้องมีการเฝ้าระวัง (Disease Under Surveillance of WHO)

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า