สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาหารมังสวิรัติและโรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

มีรายงานวิจัยหลายแห่งต่างพบว่า การบริโภคอาหารมังสวิรัติจะให้ผลดีมากต่อการป้องกันและการรักษาโรคเบาหวาน ในการใช้อาหารมังสวิรัติร่วมกับการรักษาโรคเบาหวานด้วยยาแผนปัจจุบัน ทำให้การรักษาโรคได้ผลดีกว่าวิธีการเดิมอย่างซัดเจน

Barnard และคณะ รายงานว่า เขาได้ศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานซนิดที่ 2 (type 2 diabetes) จำนวนทั้งหมด 99 คน แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มโดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยให้กลุ่มแรก (n=49) ได้รับอาหารมังสวิรัติซนิดวีแกน (ปราศจากเนื้อสัตว์ นม และไข่) ที่มีไขมันตํ่า และกลุ่มที่ สอง (n=49) ได้รับอาหารตามที่สมาคมโรคเบาหวานอเมริกา (American Diabetes Association (ADA)) รับรอง ทำการศึกษาต่อเนื่องนาน 22 สัปดาห์ เมื่อวิเคราะห์เฉพาะผู้ที่ติดตามการรักษา ด้วยยาที่แพทย์สั่งให้อย่างต่อเนื่องตลอดการวิจัย พบว่า การรักษาในกลุ่มที่ได้รับอาหารมังสวิรัติ จะได้ผลดีกว่ากลุ่มควบคุม และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในเลือด ซึ่งเป็น glycosylated hemoglobin และเป็นค่าที่ใช้บอกภาวะความรุนแรงของโรคเบาหวาน ในกลุ่มได้รับอาหารมังสวิรัติ ระดับค่า A1C นื้ลดลง 1.23 points และในกลุ่มควบคุมลดลงเพียง 0.38 points (P = 0.01) นํ้าหนักร่างกายในกลุ่มที่หนึ่งลดลง 6.5 กก. ส่วนในกลุ่มที่สองลดลงเพียง 3.1 กก. (P < 0.001) การเปลี่ยนแปลงของนํ้าหนักดัวมีความสัมพันธ์กันกับระดับ A1C อีกด้วย (r= 0.51, ท = 57, P < 0.0001) ค่า LDL cholesterol ในกลุ่มที่หนึ่งลดลง 21.2% และในกลุ่มที่สองลดลงเพียง 10.7% (P = 0.02) ระดับของอัลบูมินในปัสสาวะ 24 ชม. ในกลุ่มได้รับอาหาร มังสวิรัติจะลดลง 15.9 มก. มากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งลดลง 10.9 มก. (P = 0.013)

Goff และคณะ แห่งโรงพยาบาล Hammersmith Hospital ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้ทดสอบสมมติฐานที่ว่า อาหารมังสวิรัติชนิดวีแกนสามารถเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความไวต่อระดับอินซูลิน (insulin sensitivity, %IS) และ beta-cell function (%B) ดีขึ้น และทำให้ระดับ ไขมันในเซลล์กล้ามเนื้อโซเลียส (soleus intramyocellular lipid, IMCL) ลดลง

จากการศึกษา เปรียบเทียบแบบ case-control study ในกลุ่มอาหารวีแกน 21 คน และกลุ่มอาหารทั่วไป 25 คน โดยควบคุมเพศ อายุ และค่าดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) ปริมาณการได้รับอาหารที่ให้พลังงาน และเส้นรอบเอวในสองกลุ่มให้เหมือนกัน การทดลองใช้เวลานาน 7 วัน พบว่าในกลุ่มอาหารวีแกน ระดับความดันโลหิต (systolic blood pressure) ลดลงอย่างชัดเจนทางสถิติ (P = 0.027) ส่วนปริมาณการได้รับสารคาร์โบไฮเดรตฃองร่างกายดีขึ้น (P<0.001) ส่วนค่าดัชนี น้ำตาลในเลือด (glycaemic index) ลดลง (P< 0.001) ระดับไขมันในพลาสม่าลดลง (P< 0.001) ระดับกลูโคสในพลาสม่าลดลง (P = 0.05) IMCL ลดลง (P = 0.01) สรุปได้ว่า อาหารมังสวิรัติวีแกนสามารถป้องกันโรคหัวใจและเบต้า-เซลล์ของตับอ่อนได้

คณะวิจัยได้รายงานว่า ผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติประจำจะมีระดับของกรดยูริก ในเลือดต่ำกว่า และมีความไวต่ออินซูลินมากกว่าผู้ที่บริโภคอาหารทั่วไปที่มาจากทั้งเนื้อสัตว์และ พืชผักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และความไวต่ออินซูลินมีความสัมพันธ์กับจำนวนปีที่รับประทาน มังสวิรัติอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : ศ.เกียรติคุณ , ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ – กองการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า