สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคหัวใจและหลอดเลือด หมายถึง โรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease-IHD หรือcoronary artery disease) รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease-CVD) เเละโรคคหลอดเลือดส่วนปลาย (peripheral vascular disease) ประชากรที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ที่มีไขมันในเลือดผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และไม่ออกกำลังกาย ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้คือ เพศ เผ่าพันธุ์ และอายุ ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ (dyslipidemia) คือ ระดับไขมัน เลือดที่มีคอเลสเตอรอลมากกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (มก./ดล) ระดับ HDL-cholesterol- HDL-C) หรือไขมันดี น้อยกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับ LDL-cholesterol-C (LDL-C) หรือไขมันเลว มากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ระดับไตรกลีเซอไรด์ มากกว่า 150 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร

การศึกษาในทางคลินิกและเชิงระบาดวิทยา พบว่าภาวะไขมันในเลือดสูงมีความ สัมพันธ์ต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะการมี small dense LDL-Cholesterol สูง มีระดับ HDL – Cholesterol ตาและไตรกลเชอไรด์สูง นอกจากนี้ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอล ในเลือดสูง > 250 mg/dl มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ

ปัจจัยเสี่ยง

National Cholesterol Education Program: Expert Panel on Detection, Evalua-  on and Treatment of High Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III) ได้กล่าวถึง ปัจจัยเสียงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งได้แก่

  1. มีประวัติคนในครอบครัวที่มีการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดโดยเฉพาะผู้ชายที่มีญาติ เป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุน้อยกว่า 55 ปี และในญาติผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือด เมื่ออายุน้อยกว่า 65 ปี
  2. เพศ เพศชายมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า
  3. อายุ ในเพศชายที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงในวัยหมดประจำเดือน ตั้งแต่อายุ 55 ปี
  4. สูบบุหรี่
  5. มีไขมันในเลือดสูง HDL – Cholesterol น้อยกว่า 40 มก./ดล.
  6. โรคความดันโลหิตสูง (140/90 มิลลิเมตรปรอท)
  7. โรคเบาหวาน
  8. โรคอ้วน
  9. โรคเครียด
  10. ขาดการเคลื่อนไหวและการออกกำลังกาย

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อก็จะมีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ง่ายกว่า และมักจะ มีความรุนแรงของโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง

เป้าหมายการลดภาวะไขมันในเลือดที่ผิดปกติ

ผลการตรวจทางชีวเคมีคือระดับคอเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่า 200 มก./ดล ระดับ มากกว่า 40 มก./ดล. ระดับ LDL-C น้อยกว่า 130 มก./ดล. และระดับไตรกลีเซอไรด์ น้อยกว่า 15 มก./ดล. ควรมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต (lifestyle modification) ซึ่งประกอบด้วย การควบคุมอาหารตามหลักการของ Therapeutic Lifestyle Change Diet (TLC diet)  รวมทั้งการควบคุมนํ้าหนัก มีการออกกำลังกายแบบแอโรบิคสมํ่าเสมอ และงดการสูบบุหรี่

การป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยง

  1. จำกัดการรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่ให้เกินร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด ที่ได้รับ หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบมากในไขมันสัตว์ นํ้ามันมะพร้าวและนํ้ามันปาล์ม ลดปริมาณ อาหารที่มีสารคอเลสเตอรอลซึ่งพบในอาหารพวกไข่แดง เครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ ตับวัว ตับหมู อาหารทะเลหอยแครง หอยแมลงภู่ หอยนางรม ปลาหมึก ไข่ปลา ฯลฯ มีข้อมูลจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าระดับคอเลสเตอรอลในเลีอดมีส่วนสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง >200 มก./ดล.หรือมีระดับ LDL-C >130มก./ดล. รายงานของ WHO พบว่าผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง 250-300 mg/dl มีโอกาสเสี่ยงต่อ การเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 2-3 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปกติ ถ้าคอเลสเตอรอลและ LDL-C สูง แต่ไตรกลีเชอไรด์ปกติ ลดไขมันจากสัตว์และอาหารที่มี คอเลสเตอรอลสูง ถ้าโตรกลีเซอไรด์สูง แต่คอเลสเตอรอลปกติ พบได้ 3 แบบ คือ มีไคโลไมครอนสูง หรือ VLDL สูง หรือทั้งไคโลไมครอน และ VLDL สูงทั้งคู่ ต้องจำกัดอาหารประเภทนํ้าตาล ขนมหวาน กะทิ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด และออกกำลังกายสมํ่าเสมอ และกรณีที่คอเลสเตอรอลสูงและไตรกลีเซอไรด์สูง คือมี LDL-C และ VLDL สูง ต้องจำกัดการรับประทาน ไขมันอิ่มตัว (ไขมันสัตว์) ให้น้อยที่สุด ลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง และควรลดอาหารประเภท แป้ง นํ้าตาล ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ควรรักษาอัตราส่วนของ HDL ต่อ LDL ให้พอเหมาะคือ 3 และไม่ควรเกิน 4

 

ตารางที่ 13 ปริมาณกรดไขมันประเภทต่างๆ ในอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบ

อาหาร

ปริมาณไขมัน

 

ชนิดกรดไขมัน

 

ไขมันสัตว์

อิ่มตัว

ไม่อิ่มตัว (MUFA)

ไม่อิ่มตัว CPUFA)

ไก่ 100 32 45 18
หมู 100 40 44 12
วัว 100 48 42 4
เนย 81 50 23 3
น้ำมันข้าวโพด 100 13 25 58
ถั่วเหลือง 100 14 24 57
เมล็ดฝ้าย 100 26 19 51
ถั่วลิสง 100 17 47 31
ปาล์ม 100 48 38 9
มะกอก 100 14 72 9
มะพร้าว 100 86 6 2

แหล่งข้อมูล : Whitney EN. Hamilton EMN. Understanding Nutrition, 1987

ตารางที่ 14 ปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหาร (มิลลิกรัม/100 กรัมอาหาร)

ชนิดอาหาร

ปริมาณของคอเลสเตอรอล (มิลลิกรัม)

ชนิดอาหาร

ปริมาณของคอเรสเตอรอล(มิลลิกรัม)

นม 24 แฮม, ขาไก่ 100-110
ไอศกรีม 40 ซี่โครงหมู 105
เนยแข็ง 140 ตับหมู 420
เนื้อไก่, เป็ด 60-90 ไข่นกกระทา 3640
เนื้อกุ้ง 150-200 ไข่ไก่ 1 ฟอง 504
เนื้อหมูไม่ติดมัน 70-90 ไข่ขาว 0
เนื้อปู 145 ไข่แดงล้วน 1480
หอยแครง, แมลงฎ่ 454 น้ำสลัดครีม 165-225
เนื้อวัว 65 ไสัหมูกระเพาะหมู 150

 

 

  1. ควบคุมนํ้าหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน นักวิจัยพบว่าภาวะนํ้าหนักเกินและโรคอ้วน มีความสัมพันธ์กับคอเลสเตอรอล โดยทำให้เกิดการเผาผลาญที่ผิดปกติ
  2. เพิ่มปริมาณใยอาหาร ใยอาหารพบได้ในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารที่ละลายน้ำได้ เช่น เพคตินในส้ม แอปเปิล และมะนาว เบต้ากลูแคนในธัญพืช เช่น ข้าวโอ๊ต มีผลต่อ การลดระดับคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดไต้ โดยจะดูดซับเอากรดนํ้าดีไว้ เและขับออกมาใน อุจจาระ ทำให้ร่างกายต้องดึงคอเลสเตอรอลมาใช้เพื่อสร้างนํ้าดี คอเลสเตอรอลในเลือดก็ลดลง
  3. หมั่นออกกำลังกายและเคลื่อนไหว การออกกำลังกายแบบแอโรบิกมีผลต่อการเพิ่มระดับของ HDL-C และลดระดับไตรกลีเซอไรด์ แต่ไม่มีผลต่อการลดระดับคอเลสเตอรอลรวม และ LDL-C การออกกำลังกายครั้งละ 30-60 นาที สัปดาห์ละ 2-5 ครั้ง จะมีผลทำให้อัตราการ เต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น 50-70% มีผลทำให้ระดับ HDL-C ขึ้นและ LDL-C ลดลง
  4. งดการสูบบุหรี่ บุหรี่ไม่มีผลต่อการเพิ่มระดับ LDL-C แต่จะเป็นปัจจัยเสี่ยงร่วม ที่จะทำให้ระดับไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นและระดับของ HDL-C ลดลง คาร์บอนมอนอกไซด์ในควันบุหรี่ จะจับฮีโมโกลบิน ทำให้หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
  5. เพิ่มการกินผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี พบมากในผักที่มีสีส้ม แสด เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ กระเทียม หอม เป็นต้น สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยลดระดับไขมันในเลือด และป้องกัน LDL จาก การออกซิเดชั่น จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง

สรุปว่า การควบคุมการรับประทานอาหารให้มีปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัวตํ่า คอเลสเตอรอลตํ่า การควบคุมนํ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การรับประทานพืช ผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดการสูบบุหรี่ จะช่วยส่งเสริมให้ระบบการทำงาน ของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น และช่วยป้องกันหรือการลดระดับของปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า