สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคมินามาตะ

โรคมินามาตะ – ประสบการณ์ที่เจ็บปวดของชาวญี่ปุ่น (MINAMATA : The painful experience of Japanese)

ประเทศญี่ปุ่นต้องย่อยยับจากการปราชัยในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ทว่าในสายตาของชาวโลกคงประจักษ์กันแล้วว่า ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้พัฒนาทางด้านเศรษฐกิจก้าวไกลจนอยู่ในแนวหน้าของกลุ่มเศรษฐกิจก้าวหน้า เพื่อมาเจาะดูเบื้องหลังของความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นแล้วพบว่า ชาวญี่ปุ่นมีการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานจากเดิมใช้ถ่านหินมา เป็นใช้นํ้ามัน ปรับเปลี่ยนเทคนิคทางไฟฟ้าเคมีมาเป็นใช้เทคนิคปิโตรเคมี และอื่นๆ อีกมาก เป็นไปอย่างรวดเร็วและแพร่หลายอย่างกว้างขวางจนไม่มีการคำนึงถึงมาตรการด้านความปลอดภัย เครื่องไม้เครื่องมือ และเทคนิคที่ใช้ในโรงงาน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติด้วย

สิ่งทั้งมวลนี้ได้ส่งผลก่อให้เกิดโรคทางอาชีวเวชศาสตร์ อุบัติเหตุต่างๆ ในคนงาน และสารพิษปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ที่เป็นอุทาหรณ์ ได้แก่ โรคมินามาตะ ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ปรอท (Methyl mercury = MeHg) ที่ปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1956 การเกิดอุบัติเหตุหมู่จากพิษ carbon monoxide (CO) เนื่องมาจากเหมืองถ่านหินระเบิดในปี ค.ศ.1963 ในปีเดียวกัน ก็ เกิดการเป็นพิษหมู่จากสารพิษ PolychIorobiphenyI (PCB) ปน เปื้อนในการผลิตนํ้ามันรำข้าวของบริษัททำนํ้ามันพืช Kanemi ฯลฯ

โรคมินามาตะ(MINAMATA)เป็นโรคที่รู้จักน้อยมากในครั้งนั้น และ เป็นโรคที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ในการทำลายสิ่งแวดล้อมจนก่อให้ เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขตามมา เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นสิ่งน่าสะพรึงกลัว และจะเป็นบทเรียนที่สำคัญยิ่งของมวลมนุษย์ชาติสืบต่อไป

เรื่องทั้งหมดนี้เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ของปี ค.ศ. 1956 โดยมีคนไข้หญิงสองพี่น้องจากเมืองมินามาตะ ซึ่งเป็นเมืองประมง เกิดอาการเหมือนคนป่วยสมองอักเสบ(Encephalitis) ซึ่งจาก ประสบการณ์ของแพทย์ต่อมาทำให้เรียกโรคนี้ว่า โรคมินามาตะ ซึ่ง เป็นชื่อเมืองที่พบการเกิดโรคนี้เป็นครั้งแรก อยู่ในจังหวัด Kumamoto บนเกาะคิวชู ภายหลังได้มีการสอบสวนโรคนี้ต่อไปจนพบคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ และเป็นภาระของมหาวิทยาลัยแพทย์ของ Kumamoto ที่จะทำการวิจัยหาสาเหตุต่อไป

นักวิจัยได้สัง เกตพบว่าตั้งแต่ปี 1950 เป็นต้นมาได้พบปรากฏการณ์แปลกๆ เกิดขึ้นรอบๆ อ่าวมินามาตะ คือ ปลาว่ายนํ้านอนหงายท้อง ปลาหมึกและปลาทะเลต่างๆ ว่ายนํ้าช้ามากจนใช้มือจับได้ นกทะเลไม่มีและบินตกทะเล แมวที่เลี้ยงตามบ้านนํ้าลายยืด เดินโซเซคล้ายคนเมากระโดดพุ่งไปข้างหน้าโดยไม่ทราบ เหตุผล และสุดท้ายมีอาการชักเกิดขึ้น จากการศึกษาทางระบาดวิทยาและทดสอบทางจุลชีววิทยาสามารถบอกได้ว่าไม่ได้เกิดจากโรคติดต่อ จงคิดว่าน่าจะเกิดจากพิษสารเคมีและได้ทดลองเลี้ยงแมวด้วยปลาที่จับมาจากอ่าวมินามาตะ พบว่าแมวทุกตัวจะเกิดโรคนี้ภายในระหว่าง 30-60 วัน ในบริเวณนี้มีโรงงานเดียวคือ Chisso Corporation ซึ่งผลิตสารเคมี Acetaldehyde ปล่อยนํ้าเสียลงสู่อ่าวมินามาตะ ทางบริษัทไม่ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโรคในพื้นที่นั้น ทางรัฐบาลไม่สั่งจับปลางดหรือทิ้งของเสียลงอ่าวจนชาวบ้านต้องดำเนินการเองโดยงดจับปลาและไม่รับประทานปลาจากอ่าว จนทำให้คนป่วยด้วยโรคนี้มีจำนวนลดลง

โรคมีนามาตะ เกิดขึ้นกับระบบประสาทของร่างกาย มีพยาธิสภาพ เกิดการทำลายที่ Cerebellum และ Cerebral Cortex มีอาการชารอบปากและชาตามแขนขา พูดไม่ชัด หูตึง เดินโซเซ มองเห็นภาพแคบลง มือไม้สั่น ฯลฯ นักวิจัยได้ค้นคว้าโรคต่างๆ จากทั่วโลก และพบรายงานจากการศึกษาของนักวิจัยชาวอังกฤษคือ Hunter D. Bombord เกี่ยวกับพิษของสาร methyl mercury ในโรงงานผลิตสารเคมีทางการเกษตรเมื่อปี ค.ศ. 1940 และ 1954 เข้ากันได้กับอาการของโรคนี้

จากการตรวจดินจากที่บริเวณทิ้งนํ้าเสียของโรงงาน Chisso พบสารปรอทในปริมาณสูงมากผิดปกติ (2000 ppm) ตรวจสัตว์นํ้าในอ่าวมินามาตะพบสารปรอทสูงมาก (40 ppm) พบสารปรอทสูง มากในอวัยวะต่างๆ ของผู้ป่วยที่ตายจากโรคนี้ และพบปริมาณสูงมากในเส้นผมของญาติในครอบครัวผู้ตาย ในที่สุดหลังจากที่เวลาวิจัยนานถึง 3 ปีครึ่ง ก็สามารกไขปริศนานี้ได้โดยการแยกสาร methyImercury จากหอยทะเลในอ่าวมินามาตะเป็นผลสำเร็จ ทางมหาวิทยาลัย Kumamoto ได้รายงานเป็นทางการให้ทางกระทรวงสาธารณสุขทราบในเดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 1959 ว่าสารอินทรีย์ที่อยู่ในปลาและหอยในอ่าวมินามาตะเป็นสาเหตุของโรคนี้ บริษัท Chisso ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยอ้างว่าโรงงานของตนใช้
สารอนินทรีย์ปรอทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีในกระบวนการผลิตสาร Acetaldehyde ซึ่งจากข้อเท็จจริงแล้วในปฏิกิริยาเคมีจะเปลี่ยน
สารอนินทรีย์ปรอทไปเป็นสารอินทรีย์ปรอทนั่นเอง ได้เริ่มมีการ เจรจาเรียกค่าชดเชยความเสียหายจากประชาชนตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี ค.ศ.1959 บริษัท Chisso ได้จ่ายเงินให้อย่างเสียไม่ได้ และไม่เรียกว่า เป็นค่าชดเชยความเสียหายแต่กลับเรียกว่า เป็นรางวัลตอบแทน ด้วยความเห็นใจและสงสาร เป็นเงินคนละ 50000 เยน (140 ดอลลาร์)ในผู้ใหญ่ ต่อปี และ 30000 เยน (80 ดอลลาร์) ในเด็กต่อปี หลังจากต่อสู้กันในทางศาลมาตลอด จนในที่สุด ศาลตัดสินให้สัญญาที่ทำนี้เป็นโมฆะในปี ค.ศ. 1973 และให้บริษัท Chisso จ่ายเงินชดเชยค่าเสียหายในทุกกรณี โดยจ่ายผู้เสียหาย คนละ 16-18 ล้านเยน (58000-66000 ดอลลาร์) นอกเหนือเงินที่ได้รับตามสภาพความเจ็บป่วย

เมื่อย้อนกลับไปดูในชั้นศาล บริษัท Chisso ได้โต้แย้งว่าโรคมินามาตะไม่มีใครสามารถรู้ล่วงหน้าได้ เพราะไม่เคยมีรายงานโรคนี้ที่เกิดจากสภาพสิ่งแวดล้อม เป็นที่โชคดีว่าศาลไม่เห็นด้วยกับ เหตุผลนี้ ซึ่งถ้าหากเห็นด้วยแล้ว กลุ่มสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อมจะปัดความรับผิดชอบโดยพูดง่ายๆ ว่า เราไม่รู้โรคนี้ล่วงหน้าได้ อุทาหรณ์ของเรื่องนี้ก็คือโรงงาน Chisso ผลิตสารเคมีมากมายหลายชนิด และเป็นปริมาณมากจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบทุกกรณีในอันที่จะกระทำทุกอย่าง เพื่อเป็นการประกันความปลอดภัยต่อผู้อื่น จึงไม่อาจอภัยให้กับโรงงาน Chisso นี้ได้เลย

ผลของสารอินทรีย์ปรอทนี้ยังเกิดแก่ทารกในครรภ์มารดาโดยผ่านทางรกและเข้าสู่สมองเด็กได้ เด็กเกิดมาจะมีความพิการเหมือนพวกสมองพิการแต่กำเนิด มีอาการปัญญาอ่อน ตากระตุก พูดลำบาก อัมพาต ร่างกายทำงานไม่ประสานกัน และมีนํ้าลายยืด พบเด็กเหล่านี้ระหว่างปี ค.ศ. 1952 ถึง1963 และตรวจพบสาร MeHg ในสายรกด้วย อุบัติการของโรคนี้ในช่วง 5 ปี นี้พบ 7.9% และมีอุบัติการของเด็กปัญญาอ่อน 29.1% เมื่อตรวจพบเด็กที่เป็นโรคนี้แต่กำเนิดจนถึงปี ค.ศ. 1982 พบมีทั้งหมด 40 คน WHO ได้กำหนดระดับอันตรายของสารปรอทในตัวอย่างเส้นผมของมารดาคือ 50 ppm แต่ต่อมาพบว่าน้อยกว่านี้ยังทำลายสมองเด็กได้ ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะกำหนดมาตรฐานระดับปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นสารเคมีชนิดใดๆ ก็ตามเนื่องจากเด็กในครรภ์นั้นไวต่อสารเคมีมาก

เหตุการณ์ทำนองเดียวกันกับที่เกิดในเมืองมินามาตะได้เกิดขึ้นมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 1965 ที่เมือง Niigata โดยโรงงาน Kanase ของบริษัทเคมีภัณฑ์ Showa Denbo ซึ่งสังเคราะห์สาร Acetaldehyde โรงงานนี้ปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่นํ้า Agano จนเกิดโรคกับชาวบ้านที่อยู่ตอนปลายแม่นํ้านี้ อาการทางคลินิคไม่แตกต่างกับที่เกิดที่เมืองมินามาตะเลย ณ ที่นี้จากประสบการณ์ครั้งก่อน ทำให้สามารถ ตรวจพบคนที่เป็นโรคน้อยๆ หรือเป็นโรคที่อาการไม่ชัดเจน และพบอาการไม่ชัดเจน และพบอาการเรื้อรังทางโรคนี้ด้วย

จำนวนยอดคนป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่จนถึงปี ค.ศ. 1970 มีทั้งสิ้น 121 คน และมีจำนวน 2200 คนที่ต้องเดือดร้อนจากโรคนี้ด้วย และได้ฟ้องร้องบริษัท Chisso

กล่าวโดยสรุปได้ว่าโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้รับการบำบัดหรือปรับสภาพให้เหมาะสมลงสู่แม่น้ำลำธาร สารพิษในนํ้า เสียเข้าสู่ปลา และสัตว์นํ้า เมื่อคนและสัตว์กินปลาและสัตว์นํ้าจะ ได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย อุทาหรณ์ที่เป็นเรื่องของสารอินทรีย์ปรอท เข้าไปทำลายเซลสมองและไต จนเกิดโรคมินามาตะขึ้นกับชาวบ้าน และเป็นอุทาหรณ์ให้กับทางรัฐบาลตลอดจนผู้เกี่ยวข้องได้หันกลับมาพิจารเนาดำเนินมาตรการทุกวิถีทางที่จะควบคุมและป้องกันความปลอดภัยต่างๆ มากขึ้น ส่วนในด้านกฎหมายนั้นจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ทันกับความเจริญก้าวหน้าไปด้วย

ที่มา: น.พ.วิวัฒน์   เธียระวิบูลย์ M.D..M.P.H.
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า