สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเอดส์ (Aids)

เอดส์ (Aids) เป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง สามารถแพร่กระจายเพิ่มปริมาณผู้ป่วยไปได้อย่างรวดเร็ว เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สังคมและเศรษฐกิจ เนื่องจากยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ ในปัจจุบันผู้ป่วยด้วยโรคนี้จึงรักษาตามอาการเพื่อประทังชีวิตแต่ในที่สุดก็ต้องถึงแก่ความตายทุกราย กระทรวงสาธารณสุขได้มีประกาศลงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2528 เพิ่มเติมโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความอีก 1 โรค คือ โรคเอดส์ (Acquired Immuno Deficiency Syndrome) เขียนย่อว่า Aids หมายถึง กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายเสื่อมหรือบกพร่อง โดยมิได้เป็นมาแต่กำเนิด ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ โรคเอดส์จึงเป็นโรคติดต่อที่อันตรายถึงชีวิต และขณะนี้ยังไม่พบวิธีหรือยาที่สามารถรักษาได้

มีรายงานของโรคเอดส์ครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยค้นพบในปี พ.ศ. 2524 องค์การอนามัยโลกได้รายงานสถานการณ์โรคเอดส์จาก 163 ประเทศ ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 พบผู้ป่วยโรคเอดส์ถึง 418,430 รายและจากรายงานขององค์การอนามัยโลกจนถึงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2536 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์ทั้งหมดทั่วโลก 444,681 ราย และจากการคาดการณ์ขององค์การอนามัยโลกว่าเมื่อถึงปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) จะมีผู้ติดเชื้อเอดส์ 30-40 ล้านคน และมีผู้ป่วยประมาณ 12-18 ล้านคน โรคเอดส์จึงมีแนวโน้มว่าจะเป็นปัญหาอันยิ่งใหญ่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

สำหรับในประเทศไทย ได้ค้นพบผู้ป่วยโรคเอดส์รายแรกเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2527 สถานการณ์โรคเอดส์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 มีผู้ติดเชื้อทั้งสิ้น 26,536 ราย เป็นชาย 25,784 ราย หญิง 752 ราย ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-39 ปี โดยพบว่ามีผู้ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขเฉพาะที่มีการสำรวจพบประมาณกันว่ามีคนไทยติดเชื้อเอดส์ที่ยังไม่ได้รับการตรวจอีกหลายแสนคนทั่วประเทศ โรคนี้เป็นได้ทั้งชายและหญิง และเป็นไต้ทุกเพศทุกวัยเมื่อได้สัมผัสหรือติดเชื้อ

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า เอช-ไอ-วี หรือ ฮิวแมน อิมมูโนเดฟิเซียนซี ไวรัส (HIV:Human Immunodeficiency Virus) เชื้อไวรัสเอดส์เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาวซึ่งมีหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิต้านทานโรค เกิดภูมิต้านทานเสื่อมหรือบกพร่อง เป็นสาเหตุให้ร่างกายอ่อนแอ มีการเจ็บป่วยบ่อยๆ รักษาไม่หาย ป่วยเป็นโรคเรื้อรังที่ถือโอกาสซํ้าเติม และในที่สุดก็จะตาย ด้วยโรคเรื้อรังนั้นๆ

แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ที่มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ในร่างกาย หรืออยู่ในนํ้าหรือของเหลวที่คัดหลั่งออกจากร่างกาย เช่น เลือด นํ้าอสุจิ นํ้าลาย นํ้าตา นํ้าเมือก นํ้าจากช่องคลอด เป็นต้น

การติดต่อ

การติดต่อของโรคเอดส์ คล้ายคลึงกับโรคไวรัสตับอกเสบชนิด B สามารถติดต่อได้ 3 ทาง

คือ

1.ทางเพศสัมพันธุ์ โดยการร่วมประเวณีกับผู้ที่มีเชื้อเอดส์

2.ทางเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือด เช่น

-การได้รับเลือดหรือผลิตภัณฑ์จากเลือดที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ เช่น จากการถ่ายเลือด

-การได้รับอวัยวะต่างๆ ที่มีเชื้อไวรัสเอดส์ เช่น ดวงตา หัวใจ ตับ ไต  การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน

-การสักผิวหนัง การเจาะหู การฝังเข็ม

โดยเชื้อไวรัสจะติดอยู่ตามอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เข็มและกระบอกฉีดยา เข็มที่ใช้ในการเจาะหูหรือเข็มที่ใช้สัก

3. จากการรับเชื้อโดยผ่านทางรก เช่น ทารกได้จากมารดา เป็นการติดเชื้อตั้งแต่กำเนิด และสามารถติดทั้งในระหว่างการคลอดและหลังคลอดก็ได้

ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงได้แก่ พวกสำส่อนทางเพศ เช่น ชายรักร่วมเพศ หญิงโสเภณี ผู้ที่มีเพศสัมพันธุ์กับบุคคลหลายคน ผู้ใช้สิ่งเสพติดชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด

พฤติกรรมที่ไม่ติดโรคเอดส์ ได้แก่

1.การอยู่ด้วยกัน        การกินอาหาร การเรียน การทำงาน ใช้ห้องสุขาร่วมกัน การขึ้นรถเมล์ หรือใช้โทรศัพท์เครื่องเดียวกัน ใช้สระว่ายนํ้าสระเดียวกัน

2.การจูบหรือสัมผัสกอดรัดอย่างธรรมดา            การจับมือหรือสัมผัสร่างกายซึ่งกันและกัน

3.การถูกแมลงกัดหรือดูดกินเลือด            เช่น ยุงหรือแมลงอื่นๆ เพราะเชื้อโรคเอดส์ที่อยู่ในตัวยุงจะไม่แบ่งตัวและจะตายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

เชื้อเอดส์เข้าทำลายภูมิคุ้มกันผู้ป่วยป็นโรคเอดส์

ระยะฟักตัวของโรค ส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโรคเอดส์จะมีระยะฟักตัวนานประมาณ 6 เดือน หรือ 3-5 ปี จึงเริ่มปรากฏอาการ ซึ่งระยะเวลาอาจจะนานกว่าที่กล่าวมานี้

ระยะติดต่อ ตลอดเวลาที่ผู้ป่วยมีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ในร่างกาย

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ทุกคนที่ได้รับเชื้อมีโอกาสเป็นโรคเอดส์ ไม่มีภูมิต้านทานโรค

อาการ

เชื้อไวรัสเอดส์ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะภูมิคุ้มกันบกพร้องหรือลดต่ำลง จึงเจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆได้ง่ายกว่าคนปกติ อาจแบ่งอาการของโรคนี้ได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 ระยะติดเชื้อไวรัสเอดส์โดยไม่มีอาการ ระยะนี้ผู้จะทราบว่าติดเชื้อได้จากการตรวจเลือด ผู้ป่วยจะยังมีสุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ หลังจากติดเชื้อประมาณ 6 สัปดาห์ จะตรวจพบเลือดบวกเอดส์ หรือส่วนใหญ่จะตรวจพบได้ในระยะเวลาประมาณ 3 เดือนไปแล้วหลังจากสัมผัสโรคมา แม้ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการแต่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

ระยะที่ 2 ระยะที่ปรากฏอาการเริ่มแรกหรือเรียกว่า ระยะมีความสัมพันธุ์กับเอดส์ (AIDS related Complex หรือเรียกย่อๆว่า ระยะ ARC) อาจเรียกว่าระยะใกล้เอดส์ ผู้ป่วยจะเริ่มปรากฏอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ และมักจะเป็นอาการเรื้อรังที่ไม่ทราบสาเหตุ เช่น ต่อมนํ้าเหลืองโต ลิ้นเป็นฝ้า โรคเริม อ่อนเพลีย นํ้าหนักลด มีไข้เรื้อรัง ท้องเสีย ฯลฯ

ผู้ป่วยจะมีอาการหนึ่งหรือหลายอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ดังนี้

1.ต่อมนํ้าเหลืองในร่างกายหลายแห่งจะโตขึ้น เช่น ที่คอ รักแร้ และจะเป็นติดต่อกัน เป็นเวลานานกว่า 3 เดือน

2.นํ้าหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วโดยไม่ทราบสาเหตุ

3.อาจมีอุจจาระร่วงเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ และเป็นนานมากกว่า 1 เดือน

4.มีฝ้าขาวที่ลิ้นและในลำคอ หรือมีเชื้อราเกิดขึ้นในช่องปาก

5.มีไข้เรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ

6.มีอาการโรคเริมลุกลามไปตามอวัยวะต่างๆ และเป็นเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ที่สำคัญคือเมื่อมีอาการดังกล่าวมาแล้ว เมื่อไปตรวจเลือดพบว่ามีเชื้อเอดส์

ระยะที่ 3 ระยะโรคเอดส์หรือระยะที่เป็นโรคเอดส์เต็มขั้น ซึ่งเป็นระยะสุดท้าย ระยะนี้อาจมีอาการแบบในระยะที่ 2 และมีการติดเชื้อจากพวกเชื้อฉวยโอกาสร่วมด้วย เนื่องจากภูมิคุ้มกันเสื่อมหรือถูกทำลายไปมาก เป็นผลให้เกิดการติดเชื้อในระบบต่างๆ เช่นระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบทางเดินหายใจ หรือบางรายอาจเกิดมะเร็งแทรกซ้อนในหลอดเลือด หรือ ต่อมนํ้าเหลือง ที่เรียกว่า มะเร็งคาโปซี่ซาร์โคมา (Kaposi’s Sarcoma)

นอกจากอาการเหล่านี้แล้ว คนไข้โรคเอดส์เต็มขั้นอาจมีอาการทางจิตประสาทได้อีกด้วย ผู้ป่วยโรคเอดส์ที่พัฒนาเต็มขั้นแล้วนี้ส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายในเวลา 6 เดือนหรือ 1-2 ปี ด้วยอาการปอดบวม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มะเร็งหลอดเลือดและมะเร็งของต่อมนํ้าเหลือง ฯลฯ

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค โดยการตรวจเลือด สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสเอดส์ได้ที่

1.โรงพยาบาลของรัฐบาลทุกแห่งทั่วประเทศไทย เช่น โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลวชิระ โรงพยาบาลตากสิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลธัญญารักษ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า

2.โรงพยาบาลเอกชนหรือคลินิกเอกชนบางแห่ง

3.กองกามโรค ถนนสาธรใต้

4.ศูนย์กามโรคเขตต่าง        ๆ

5.คลินิกนิรนามสภากาชาดไทย ในบริเวณสถานเสาวภา (สวนงู) ถนนพระราม4 กรุงเทพฯ

6.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

7.กองโรคเอดส์ ของกรมควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแต่ไม่มีบริการตรวจเลือดในส่วนภูมิภาค เช่นที่

1.ศูนย์กามโรคทุกแห่ง

2.โรงพยาบาลของทบวงมหาวิทยาลัยทุกแห่ง

3.โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข

4.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต โรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง

5.คลินิกนิรนามในบางจังหวัดที่มีโรคเอดส์ระบาดมาก เช่น สมุทรปราการ มีคิลนิกนิรนาม 3 แห่ง คือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลสมุทรปราการ และโรงพยาบาลบางบ่อ

การรักษาพยาบาล ในปัจจุบันยังไม่พบวิธีหรือยารักษาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ จึงเป็นเพียงการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้นเท่านั้น

ยาที่ใช้รักษาเอดส์ในปัจจุบันก็มีฤทธิ์เพียงสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสเท่านั้น แต่ไม่ทำให้หายขาดได้ จึงอาจทำให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตยืนยาวต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง

แพทย์ได้แบ่งการรักษาออกเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้

1.การรักษาโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากโรคติดเชื้อหรือมะเร็ง

2.การรักษาเพื่อกำจัดเชื้อไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งในปัจจุบันยังไมมียาที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อไวรัสนี้ได้ ยาที่ใช้อยู่เป็นยาที่ไปหยุดการแบ่งตัวของไวรัส

3.การรักษาเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายมีภูมิต้านทานมากขึ้น

4.การรักษาทางด้านจิตใจเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ AZT (Azidothymidine) ฯ

วัคซีน อยู่ในระหว่างการค้นคว้าวิจัยและทดลอง

โรคแทรกซ้อนโรคฉวยโอกาสต่างๆ (ดูในหัวข้อ อาการ ระยะที่ 3)

โรคอื่นๆ ที่มีอาการคล้ายโรคเอดส์ (ดูในหัวข้อ อาการ ระยะที่ 2)

การปฎิบัติตน                 

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็นโรคเอดส์ นอกจากการรีบไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.หลีกเลี่ยงการรับเชื้อโรคเอดส์จากผู้อื่นเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอีก เช่น ไมสำส่อนทางเพศ  ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

2.ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์

3.งดบริจาคเลือดหรือบริจาคนํ้าอสุจิในการผสมเทียมอย่างเด็ดขาด

4.หญิงที่ติดเชื้อเอดส์ไมควรปล่อยให้มีการตั้งครรภ์

5.พบแพทย์เมื่อมีอาการเจ็บป่วยจากโรคติดเชื้อแทรกซ้อน

6.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ

การป้องกันเละควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังมีรายละเอียดในหัวข้อ การป้องกันและควบคุมโรค จากบทนำแล้วยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการป้องกับเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักอันตรายการติดต่อ การระวังตัวไม่ให้เสี่ยงต่อการติดโรค

2.ไม่ใช้สิ่งของที่สามารถติดเชื้อเอดส์ร่วมกับผู้อื่น เช่น เข็มและกระบอกฉีดยา

3.ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธุ์กับบุคคลที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอดส์ หรือผู้ที่สงสัยว่าน่าจะติดเชื้อเอดส์ ที่สำคัญคือควรงดการสำส่อนทางเพศ

4.ไม่ควรใช้เครื่องมือบางอย่างที่อาจทำให้เกิดบาดแผลร่วมกัน          เช่น ใบมีดโกนหนวด กรรไกรตัดเล็บ เครื่องมือทำเล็บ ไม้แคะหู แปรงสีฟัน เป็นต้น

5.ไม่ใช้มือเปล่าแตะต้องเลือดของผู้อื่น เพราะเชื้อเอดส์อาจเข้าทางบาดแผลที่มือได้ ควรสวมถุงมือยาง หรือถุงพลาสติก ทุกครั้งที่ต้องแตะต้องเลือดหรือบาดแผลผู้อื่น

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า