สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคปอดอักเสบ

(Pneumonia)

โรคปอดอักเสบ หรือ นิวมอเนีย (Pneumonia)

เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า โรคปอดบวม

มักเกิดกับคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือผู้ที่อยู่ในภาวะร่างกายอ่อนแอ เช่น ทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกแฝด ซึ่งมีนํ้าหนักน้อย เด็กขาดอาหาร คนชรา ผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้ที่กินยาสเตียรอยด์ (Steroids)  เป็นประจำนานๆ และผู้ที่เมาสุรา บุคคลเหล่านี้ร่างกายจะขาดภูมิต้านทานโรค

สาเหตุ

โรคปอดอักเสบเป็นโรคที่เกิดการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ปอดทำหน้าที่ ได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากการอักเสบ บวม มีหนองขัง ผู้ป่วยจึงหายใจสะดุด หรือหายใจหอบเหนื่อย อาจ มีอันตรายถึงชีวิตได้ นับเป็นโรคร้ายแรงเฉียบพลันชนิดหนึ่ง แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดัง นั้นผู้ป่วยหรือสงสัยว่ามีอาการเกี่ยวกับโรคปอดอักเสบ ควรรีบไปพบแพทย์

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค

โรคปอดอักเสบเกิดจากเชื้อหลายชนิด  นับตั้งแต่ตระกูลไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และพยาธิต่างๆ ที่สำคัญและพบได้บ่อยคือ โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโม

คอคัส นิวโมเนีย (Pneumococcal Pneumonia) แหล่งของโรค โรค ปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส เป็นโรคที่พบได้ ทั่วไปมากกว่าโรคปอด ชนิดอื่นโดยเฉพาะเด็กและ ผู้สูงอายุมักเป็นโรคนี้ได้ ง่าย มักพบในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม และมีผู้คนอยู่หนาแน่น เป็นกัน มากในกลุ่มชนที่มีฐานะเศรษฐกิจตกต่ำ โรคปอดอักเสบเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่จะเกิดมากในช่วง ฤดูหนาวโดยมีผู้ป่วยเป็นพาหะ

การติดต่อ

โรคปอดอักเสบ อาจติดต่อได้หลายทาง เช่น

  1. ทางเดินหายใจ          โดยเชื้อโรคผ่านเข้าทางจมูก ลำคอ ลงไปที่ปอด ซึ่งได้รับเชื้อจาก ละอองนํ้ามูก นํ้าลาย และเสมหะของผู้ที่เป็นโรค
  2. โดยการสำลักเอาสารเคมี   เช่นนํ้ามันก๊าด หรือเศษอาหารเข้าไปในปอด ทำให้เกิดปอด อักเสบได้
  3. เชื้อแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด        เช่น เมื่อมีการอักเสบหรือมีหนองฝีอยู่ที่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย เชื้อโรคก็สามารถแพร่กระจายไปตามกระแสเลือดสู่ปอด
  4. คนที่เป็นโรคทางปอดเรื้อรัง เช่น หืด หลอดลมอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง มีโอกาสเป็นโรคปอดอักเสบแทรกซ้อนได้บ่อย

ระยะฟักตัวของโรค ประมาณ 1-3 วัน

ระยะติดต่อยังไม่ทราบระยะการติดต่อแน่นอน แต่เชื่อว่าตราบใดที่ยังมีเชื้อโรคอยู่ใน นํ้ามูก นํ้าลายและเสมหะของผู้ป่วย ย่อมสามารถติดต่อไปสู่ผู้อื่นได้

ความไวต่อโรคและความต้านทาน

โดยปกติร่างกายจะมีความต้านทานต่อโรค นี้ แต่หากอยู่ในภาวะเปียกชื้น หนาว อ่อนเพลียและการติดสุราเรื้อรัง ความต้านทานต่อโรค จะลดน้อยลงไป เมื่อหายป่วยแล้วจะมีภูมิคุ้มกันโรคในระยะเป็นเดือนหรือเป็นปี แต่มีเฉพาะเชื้อชนิดเดียวกัน

อาการ

โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส จะเริ่มด้วยอาการเฉียบพลันหนาวสั่นมีไข้เจ็บหน้าอก ไอ หายใจหอบ มักพบว่าเกิดการอักเสบของหลอดลมมากกว่าปอด อาการในเด็กอาจรุนแรง เช่นมีการอาเจียนและชักได้

อาการที่สำคัญของโรคปอดอักเสบหรือปอดบวม ได้แก่ ไข้สูงตัวร้อนจัด ร่วมกับอาการ หายใจหอบ อาจมีอาการคล้ายไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หลอดลมอักเสบ แต่อาจจะมีอาการหนาวสั่นมากต้องห่มผ้าถึง 2-3 ผืน เจ็บแปลบๆ ที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าเหมือนมีอะไรมาแทง หรืออาจไอมีเสลดเป็นหนอง

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค

  1. ส่งเสมหะและโลหิตไปเพาะเชื้อย้อมสีแกรม จะพบเชื้อนิวโมคอคคัส
  2. เอ็กซเรย์จะพบอาการอักเสบในเนื้อเยื่อของปอดทั่วทั้งก้อนของปอด
  3. ผู้ป่วยจะมีจำนวนเม็ดโลหิตขาว สูงมากประมาณ 20,000-30,000 ต่อคิวบิดมิลลิเมตร

การรักษาพยาบาล

ให้อยู่ในการดูแลของแพทย์ รักษาตามอาการ เช่น ให้ออกซิเจน

นํ้าเกลือ ยา อาหารเหลวที่มีแคลลอรี่สูง และวิตามิน

ยาที่ใช้รักษา

ได้แก่ โปรเคน (Procaine) เพนิซิลสิน (penicillin) เทตราซัยคลิน (Tetracycline) อีริธโทรมัยซิล (Erythromycin) นอกจากนั้นยังมียาที่รักษาตามอาการ เช่น ยา แก้ปวด แก้ไอ แก้ไข้ ควรให้อยู่ในการดูแลของแพทย์

วัคซีน –

โรคแทรกซ้อน

เมื่อป่วยเป็นโรคปอดบวมหรือปอดอักเสบ อาจมีโรคอื่นๆแทรก เช่น มีนํ้าในช่องปอด มีหนองในช่องปอดหรือหนองในปอด ร่วมกับการอุดตันของหลอดลม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

โรคปอดบวม อาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ หัด ไข้ สุกใส ไอกรน เป็นต้น

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายโรคปอดอักเสบ

เมื่อมีอาการไข้สูงร่วมกับหายใจหอบ อาจเป็นอาการของโรคอื่นๆ เช่น หลอดลมฝอยอักเสบ โรคต่างๆ ที่เกิดจากการเป็นมะเร็งปอด คอตีบ (มักพบในเด็ก)

การปฏิบัติตน

เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น โรคปอดอักเสบ นอกจากการรีบไปพบแพทย์

และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1 .ระวังรักษาสุขภาพ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน

2.ระมัดระวังไม่ให้กลับเป็นโรคอีก

การป้องกันและควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวแล้ว ยังมีข้อควร ทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้

  1. เมื่อเป็นไข้หวัด         ทอนซิลอักเสบ หัด ไข้สุกใส จะต้องรีบรักษาเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกัน โรคปอดอักเสบแทรกซ้อน
  2. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา           งดการสูบบุหรี่อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคปอดและหลอด ลม และไม่ควรรับประทานยาประเภทสเตียรอยด์โดยไม่จำเป็น เก็บนํ้ามันก๊าดไว้ให้มิดชิดโดย เฉพาะให้ห่างจากมือเด็ก
  3. การอผู่ในสถานที่แออัด เป็นสาเหตุสำคัญข้อหนึ่งของการได้รับเชื้อเกี่ยวกับโรคทางเดิน หายใจ เช่น โรคหวัด ปอดอักเสบ วัณโรค ควรหลีกเลี่ยง
,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า