สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเส้นสิบ

บรมครูในวิชานวดไทยได้กล่าวไว้ว่า มนุษย์มีร่างกายยาวประมาณ 1 วา กว้าง 1 ศอก หนา 1 คืบ โดยมีเส้นเอ็นอยู่ประมาณ 72,000 เส้น ที่กระหวัดร่างกายให้คงรูปร่างอยู่ได้ ซึ่งจะมีเส้นประธานที่สำคัญอยู่ 10 เส้น คือ
1. เส้นอิทา
2. เส้นปิงคลา
3. เส้นสุมนา
4. เส้นกาลทารี
5. เส้นสหัสรังสี
6. เส้นทวารี
7. เส้นจันทภูสัง
8. เส้นรุชำ
9. เส้นนันทกะหวัด
10. เส้นสิกขิณี

ทางเดินแต่ละเส้นของเส้นประธาน 10 จะเริ่มมาจากบริเวณท้องรอบสะดือ แล้วแล่นไปควบคุมร่างกายให้มีกลไกการทำงานที่ปกติ

ในแต่ละเส้นของเส้นประธานจะมีเส้นแขนงที่เป็นบริวารรวมกัน 72,000 เส้น กระจายกันอยู่ทั่วร่างกายแบบตาข่ายร่างแห และตามเส้นต่างๆ นั้นจะมีพลังเลือดลมแล่นอยู่

ความสัมพันธ์ของเส้นเอ็นประธานทั้ง 10 เส้น กับระบบของร่างกาย

ชื่อเส้น จุดเริ่มต้น จุดสุดท้าย(ราก) ลมประจำเส้น ความสัมพันธ์ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบของร่างกาย
1. อิทา ข้างสะดือด้านซ้าย 1 นิ้วมือ จมูกซ้าย 1. ลมจันทกลา(ลมปะกัง),(ลมสันนิบาต)

2. ลมพหิ

3. ลมสัตตะวาต

น่าจะเป็นแนวพลังของระบบเส้นเลือดและประสาทและอาการบริเวณศีรษะ เช่น ปวดหัว
2. ปิงคลา ข้างสะดือด้านขวา 1 นิ้วมือ จมูกขวา 1. ลมสูริยกลา(สูญทกลา), (ลมปะกัง), (ลมสันนิบาต)

2. ลมพหิ

3. ลมรัตนาวาต

ความสัมพันธ์ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบของร่างกายเหมือนเส้นอิทา แต่อยู่ด้านขวา
3. สุมนา

สุสุมนา

เหนือสะดือ 2 นิ้วมือ โคนลิ้น 1. ลมชิวหาสดมภ์

2. ลมดาลตะคุณ

3. ลมทะกรน

4. ลมบาดทะจิต

น่าจะสัมพันธ์กับอาการของอวัยวะแนวกลางลำตัว เช่น ลิ้น คาง อก หัวใจ
4. กาลทารี

ฆานทารี

เหนือสะดือ 1 นิ้วมือ นิ้วมือและนิ้วเท้า 1. ลมหัสรังสี(ลมสันนิบาต) น่าจะเกี่ยวข้องกับระบบไหลเวียนและอาการของแขน-ขา
5. สหัสรังสี

หัสรังสี

หัสฤดี

ข้างสะดือด้านซ้าย 3 นิ้วมือ ตาซ้าย 1. ลมอัคนิวาตคุณ(ลมจักขุนิวาต) น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของตาซ้าย
6. ทวารี

ทวาคตา

ทวารจันทร์

ฆานทวารี

ข้างสะดือด้านขวา 3 นิ้วมือ ตาขวา 1. ลมทิพจักษุ

2. ลมปัตฆาต

น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของตาขวา
7. จันทภูสัง

อุรัง

ภูสำพวัง

สัมปะสาโส

ลาวุสัง

ข้างสะดือด้านซ้าย 4 นิ้วมือ หูซ้าย ไม่ระบุชื่อลม น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของหูข้างซ้าย
8. รุชำ

อุลังกะ

สุขุมอุสะมา

ข้างสะดือด้านขวา 4 นิ้วมือ หูขวา ไม่ระบุชื่อลม น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของหูข้างขวา
9. สุขุมัง

กังขุง

กุขุง

นันทกระหวัด

ใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ทวารหนัก ไม่ระบุชื่อลม น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของทวารหนัก
10. สิกขิณี

สังคินี

รัตคินี

สังขิ

คิชฌะ

ใต้สะดือ 2 นิ้วมือ เยื้องไปทางขวาเล็กน้อย อวัยวะเพศ ไม่ระบุชื่อลม น่าจะเกี่ยวข้องกับอาการของทวารเบาและอวัยวะเพศ

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดา ตันชัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ
อาจารย์อภิชาต ลิมติยะโยธิน
อาจารย์พิเศษสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า