สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เนื้องอกของกระดูก(Tumors of bone):ออสทีโอมา(Osteoma)

การเกิดเนื้องอกของกระดูก ยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน  แต่สันนิษฐานว่า อาจเกิดจากความผิดปรกติขึ้นในกระบวนการสร้างและทำลายเนื้อกระดูกที่ผิวด้านในโพรงไขกระดูกและผิวด้านนอกของกระดูก  ซึ่งอาจมีเซลล์กระดูกอ่อนหลงเหลือและกลายเป็นจุดเริ่มของเนื้องอกภายหลัง  เนื้องอกของกระดูกมีทั้งชนิดร้ายแรง (malignant) และชนิดไม่ร้ายแรง (benign) เนื้องอกกระดูกอาจแบ่งตามลักษณะการเกิดว่าจุดเริ่มต้นอยู่ที่ใด (primary secondary or metastasis) ออกได้เป็น ๒ ชนิดตามต้นกำเนิดของเนื้องอก ดังนี้

เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์สร้างกระดูก ได้แก่

๑.  จากเซลล์สร้างกระดูกอ่อน

๑.๑  Osteochondroma

๑.๒  Chondroma

๑.๓  Chondroblastoma

๑.๔  Chondrosarcoma

๑.๕  Chondromyxoid fibroma

๒.  จากเซลล์สร้างกระดูก

๒.๑  Osteoma

๒.๒  Osteoid osteoma

๒.๓  Osteosarcoma

๒.๔  Parosteal ossifying fibroma

๓.  จากการละลายตัวของเนื้อเยื่อกระดูก

๓.๑   Bone cyst

๓.๒  Diffuse osteitis fibrosa cystica

๓.๓  Fibrous dysplasia

๓.๔  Giant cell tumor

เนื้องอกที่มีต้นกำเนิดจากเซลล์อื่น

๑.  จากเซลล์ไขกระดูกและในช่อง

๑.๑  Ewing’s endothelial myeloma

๑.๒  Multiple myeloma

๑.๓  Chloroma หรือ Leukemia of bones

๑.๔  Reticuloendotheliosis

๑.๕  Xanthoma and granuloma of bone

๑.๖  Reticulum cell sarcoma

๒.  กระจายมาจากที่อื่น (metastatic)

๒.๑ มะเร็งของต่อมไทรอยด์ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งที่ไต

๒.๒ Angioma; Angiosarcoma

๒.๓ Fibroma; Fibrosarcoma

๒.๔ Myosarcoma

๒.๕ Synovioma

โรคเนื้องอกกระดูกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ใช้ประโยชน์ในทางคลินิกเพื่อจะทราบต้นกำเนิดของเนื้อเยื่อที่กลายมาเป็นเนื้องอก ในที่นี้จะพูดถึงเฉพาะโรคเนื้องอกที่พบบ่อย ๆ ได้แก่ Osteoma, Chondroma, Osteochondroma และ Giant cell tumor, Osteosarcoma, Chondrosarcoma, Fibrosarcoma และ Ewing’s tumor.

ออสทีโอมา(Osteoma)

ลักษณะเป็นก้อนกลม ยื่นออกมาจากกระดูกยาว หรือจากกะโหลกศีรษะ ภายในก้อนอาจแข็งเป็นเนื้อผนังกระดูก หรือโปร่งเนื้อกระดูกพรุน อาการที่นำผู้ป่วยไปหาแพทย์ คือ มีก้อนคลำได้หรือมองเห็นได้ แต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ก้อนโตช้ามาก

การรักษา

อาจไม่ต้องทำการรักษาเลยถ้าก้อนไม่โตมาก หรืออาจต้องผ่าตัดเอาเนื้องอกออก ถ้าก้อนใหญ่ แล้วแต่กรณี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า