สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการหอบ (Dyspnea)

อาการหอบในเด็กแรกเกิด
เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายในการหายใจ และรู้สึกว่าต้องพยายามหายใจที่จะสังเกตเห็นได้ เด็กเล็กอาจจะบอกไม่ได้ แต่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงสังเกตเห็นว่าเด็กหายใจเร็วขึ้น อาจจะเห็นซี่โครงบุ๋ม ถ้าเป็นมากก็อาจจะเขียว และกระสับกระส่าย หรือซึม

สาเหตุของการหอบตาม pathophysiology มีดังนี้
1. มีการขัดขวางการแลกเปลี่ยนแก็ส (Interference with gas exchange) จากสาเหตุการติดเชื้อ (infection), ปอดบวม (pneumonia), การสำลัก (aspiration), ปอดแฟบ (atelectasis) และการคั่งน้ำในปอด (pulmonary edema)

อาการหอบจากระบบหายใจมักจะวินิจฉัยได้โดยการฟังปอด และจากประวัติ

2. การขัดขวางการหายใจ (Interference with air entry) จาก
สาเหตุต่อไปนี้

2.1 bronchoconstriction จากโรคหืด หรือ acute bronchiolitis พวกนี้มักจะหายใจออกยาว และมี wheezing หรือ rhonchi

2.2 upper airway obstruction จาก croup, diphtheria, foreign body, acute epiglottitis, retropharyngeal abscess ลักษณะเด็กมักหายใจดัง มีรอยบุ๋มที่ suprasternum เวลาหายใจเข้า

2.3 compression of lung เช่น pneumothorax, pleural effusion, elevation of diaphragm, diaphragmatic hernia

2.4 ความผิดปกติในปอดเอง เช่น congenital lobar emphysema, congenital lung cyst

2.5 ความผิดปกติของทรวงอก

3. ปัญหาจากระบบหัวใจและหลอดเลือด

3.1 congenital heart disease พวก right to left shunt ซึ่งมักจะมี chronic hypoxia และ cyanosis

3.2 ภาวะหัวใจล้มเหลว เด็กมักจะมีอาการหายใจเร็ว และหอบนำมาก่อนร่วมกับ tachycardia และ cardiomegaly

3.3 cardiac compromise เช่น pericarditis, myocardi¬tis, arrhythmia เด็กอาจจะหายใจลำบากทั้งตอนออก และตอนเข้า หายใจตื้นและเร็ว เป็นมากในท่านอน สบายขึ้นในท่านั่ง อาจจะตรวจพบความผิดปกติของหัวใจ

4. Inadequate oxygen supply to tissues เช่น ซีด ออกกำลัง
shock, methemoglobinemia

5. การรบกวนทางระบบประสาท (CNS disturbance)
-acidosis, alkalosis การเปลี่ยนแปลงภาวะกรดด่างจะกระตุ้น ศูนย์หายใจ ทำให้มีการหอบและหายใจเร็ว เช่น เด็กท้องร่วง, เบา หวาน, Reye’s syndrome, salicylate poisoning เป็นต้น

-CNS irritation จากเยื่อหุ้มสมองอักเสบและสมองอักเสบ

-ก้อนเนื้องอก หรือภาวะเลือดออกในสมอง เด็กมักจะหายใจไม่สม่ำ
เสมอ และตรวจพบความผิดปกติทางระบบประสาท

6. Neuromuscular problems เด็กมักมี hypoventilation เช่น bulbar poliomyelitis, organophosphate poisoning, hypokalemia

7. Psychogenic cause เช่น กลัว, เจ็บปวด

แม้ว่าสาเหตุส่วนใหญ่จะเกิดจากหัวใจและปอด ถ้าหากการตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้วไม่อาจจะสนับสนุนการวินิจฉัยได้ ก็ควรคิดถึงและค้นหาสาเหตุอื่นๆ ที่กล่าวข้างต้นด้วย

แนวทางในการตรวจร่างกายเด็กที่มาด้วยอาการหอบ ควรจะได้สังเกต
1. ลักษณะของการหายใจลำบาก (breathing difficulty) เช่น หอบ (dyspnea), หายใจเร็ว (tachypnea), พยายามหายใจ (forced respiration), หยุดหายใจเป็นพักๆ (halted respiration)

2. ลักษณะของ impaired ventilation เช่น inspiratory stridor (การหายใจเข้าลำบาก), expiratory stridor (การหายใจออกลำบาก), ฟังเสียง rales, diminished breath sound เป็นต้น

3. ลักษณะของ ventilatory insufficiency เช่น cyanosis on exertion or at rest, respiratory acidosis

การส่งตรวจ
จากการซักประวัติและการตรวจร่างกายที่ละเอียด มักจะได้แนวทางวินิจฉัยว่าเกิดจากอะไรเป็นสาเหตุ และความผิดปกติอยู่ที่ระบบไหน ถ้าคิดว่าปัญหาอยู่ที่ระบบทางเดินหายใจ หรือโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ การส่งเพื่อการวินิจฉัยเพิ่มเติมจะต้องทำ chest x-ray ด้วยเสมอ

การรักษา
ถ้าเป็นไม่มากนักอาจจะรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกตามสาเหตุ
ถ้าเป็นมาก และต้องการการตรวจเพิ่มเติมควรจะรับไว้ในโรงพยาบาล

อาการหอบในเด็กเกิดใหม่
เด็กเกิดใหม่ที่มาด้วยอาการหอบ มักจะมีลักษณะเฉพาะที่จะบอกถึงสาเหตุได้ดังนี้

1. หอบรุนแรงทันทีหลังคลอด แสดงว่าน่าจะมีความผิดปกติแต่กำเนิดของระบบการหายใจ (major malformation of respiratory tract)

2. พยายามหายใจเข้า แต่ไม่ได้ยินเสียงลมเข้าปอดให้สงสัย choanal atresia หรือ laryngeal atresia

3. หายใจเร็ว และหอบตั้งแต่หลังคลอดให้สงสัย respiratory distress syndrome ซึ่งมักจะเกิดในเด็กคลอดก่อนกำหนด คลอดโดยการผ่าตัดทางหน้าท้อง หรือแม่เป็นเบาหวาน

4. หอบหลังคลอด 3-4 ชั่วโมง และเป็นขึ้นกะทันหัน ให้สงสัย pneumo¬thorax หรือ atelectasis

5. สังเกตว่าทรวงอกโป่งหรือไม่เท่ากัน (overfull chest or asymmetrical chest) สงสัย lobar emphysema, pneumothorax, pulmonary agenesis, diaphragmatic paralysis

6. เคาะโปร่ง (hyperresonance) ให้นึกถึง lobar emphysema, pneumothorax

7. ได้ยิน wheezing ให้นึกถึง vascular ring, unilobular emphysema

8. Stridor พบใน congenital laryngeal stridor, microgna¬thia, laryngotracheomalacia

เด็กที่มีอาการหรือตรวจพบดังกล่าว ควรรับไว้ในโรงพยาบาล เพื่อการตรวจละเอียด และให้การรักษาต่อไป

ที่มา:พันธ์ทิพย์  สงวนเชื้อ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า