สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการและสาเหตุของโรคหัดเยอรมัน (German measles)

หัดเยอรมัน เรียกตามภาษาชาวบ้านว่า โรคเหือด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และ ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการออกผื่นคล้ายโรคหัด แต่เป็นโรคคนละชนิดกัน และมีอาการรุนแรงน้อย กว่าโรคหัด

โรคหัดเยอรมันสามารถแพร่ระบาดได้ง่าย พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบว่ามีการระบาดตามโรงเรียน โรงงาน ในที่ทำงาน ตามหมู่บ้าน ในช่วงหน้าแล้ง ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน พร้อมๆกับการระบาดของโรคหัด และไข้สุกใส

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในนํ้ามูก นํ้าลายของผู้ป่วย และติดต่อได้โดยการหาย ใจหรือไอจามรดกัน

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค เชื้อไวรัส รุเบลล่า (Rubella)

แหล่งของโรค ได้แก่มนุษย์หรือผู้ป่วย

การติดต่อ หัดเยอรมันเป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายเหมือนโรคหัด แต่มีอาการไม่รุนแรง ผู้ที่ได้รับเชื้อหัดเยอรมันประมาณร้อยละ 50 อาจไม่แสดงอาการของโรค ดูเป็นปกติ เหมือนคนทั่วไปแต่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้ ดังนั้นจึงเป็นอันตรายสำหรับหญิงมีครรภ์ซึ่ง อาจได้รับเชื้อนี้ (ดูหัวข้อ วัคซีน เพิ่มเติม)

โรคนี้สามารถติดต่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม

การติดต่อทางตรง โดยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เชื้อหัดที่อยู่ในนํ้ามูก นํ้าลายของผู้ป่วย สามารถแพร่กระจายให้ผู้อื่นได้โดยการไอและจาม หรือหายใจรดกัน

การติดต่อทางอ้อม โดยการรับเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศ หรือโดยการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ ป่วย เช่น ผ้าเข็ดหน้า แก้วนํ้า เป็นต้น

ระยะฟักตัวยองโรค ประมาณ 2-3 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่รับเชื้อจนถึงวันที่มีอาการ ปรากฏให้เห็น

ระยะติดต่อ โรคนี้สามารถติดต่อได้ประมาณ 7 วัน ก่อนมีอาการ และหลังจากที่มีผื่น เกิดขึ้นแล้ว 4-5 วัน ทารกที่คลอดออกมามีอาการของโรคหัดเยอรมันสามารถถ่ายทอดเชื้อไป ยังบุคคลอื่นได้

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ทุกคนที่ได้รับเชื้อหากไม่มีภูมิต้านทาน สามารถเป็นโรคไต้ ผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้แล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปตลอดชีวิต

อาการ

อาการของโรคมักเกิดในช่วง 14-21 วันหลังจากได้รับเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการไม่รุนแรง หรืออาจมีไข้เพียงเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการไอหรือไข้หวัด อาจปวดศีรษะเล็กน้อย อ่อนเพลีย ตาแดง และมีผื่นเล็กๆสีชมพูอ่อนๆ โดยเริ่มขึ้นตามใบหน้า จากนั้นจะกระจายไปที่ ลำตัวและแขนขา ผื่นอาจทำให้มีอาการคันเล็กน้อยหรือบางรายอาจไม่คันเลย ผื่นดังกล่าวอาจขึ้นในวันเดียวกับมีไข้หรือหลังมีไข้ 1-2 วัน แล้วมักจะจางหายไปภายใน 3- 5 วัน โดยจะจางหายไปอย่างรวดเร็ว ทิ้งรอยแต้มดำๆให้เห็นเหมือนผื่นของหัด บางคนอาจมีผื่นโดยไม่มีไข้ ผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดตามข้อร่วมด้วย

เด็กเล็กที่เป็นหัดเยอรมันอาการเริ่มแรกคือผื่น แต่ในเด็กวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่มักจะมีไข้ตํ่าๆ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร มีนํ้ามูกและไอเล็กน้อยนำมาก่อน 1-5 วัน อาการต่างๆจะหายไป หลังจากผื่นขึ้น ส่วนในเด็กเล็ก ระยะที่มีผื่นเด็กอาจมีไข้ตํ่า ๆ

อาการสำคัญที่ช่วยบ่งชี้ ลักษณะของโรคนี้ได้โดยเฉพาะก็คือต่อมนํ้าเหลืองที่โตขึ้น สามารถคลำพบได้ตามบริเวณใบหูและต้นคอบางทีอาจพบในตำแหน่งอื่นๆซึ่งจะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วจะยุบหายไปเอง

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค

1    ดูจากผื่นและอาการของผู้ป่วย

2.  นำตัวอย่างเชื้อจากลำคอของผู้ป่วยมาเพาะจะพบเชื้อที่ทำให้เกิดโรค

3.  วิธีที่ใช้ได้ผลสำหรับการวินิจฉัยโรคคือปฏิกิริยานํ้าเหลือง

การรักษาพยาบาล

เด็กๆ และ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักจะหายได้เองภายใน 3-5 วัน โดยไม่ต้องกินยาใดๆ ยกเว้นยาที่ใช้รักษาตามอาการเช่นเมื่อมีไข้สูง

ยาที่ใช้รักษาไข้หวัดตามอาการ พาราเซตามอล (Paracetamol) เมื่อมีไข้สูง ถ้ามีอาการคัน ให้ทาด้วยแป้งนํ้าคาลาไมน์ (Calamine lotin) ถ้าไม่หายคันให้กินยาแก้แพ้ คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine)

วัคซีน ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันอย่างได้ผล ส่วนใหญ่เด็ก ผู้หญิงทุกคน ก่อนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา

โรคหัดเยอรมันเป็นอันตรายสำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก หากได้รับเชื้อ อาจทำให้ทารกในครรภ์พิการ เช่น ทำให้ทารกเป็นต้อกระจก ต้อหิน ตาบอด หูหนวก หัวใจพิการ เป็นต้น ดังนั้นผู้หญิงทุกคนถ้าไม่เคยได้รับวัคซีน ก่อนแต่งงานประมาณ 2 เดือนควรฉีดวัคซีน ป้องกันหัดเยอรมัน

วัคซีนซึ่งบรรจุรุเบลล่าไวรัส ตัวเป็นชนิดอ่อนฤทธิ์เพียงครั้งเดียวก็จะให้ภูมิต้านทานโรคนี้ ได้ แต่ห้ามฉีดในหญิงมีครรภ์

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายหัดเยอรมัน อาการไข้ออกผื่นแดง นอกจากโรคหัดเยอรมันแล้ว ยังอาจเป็นโรคหัด ส่าไข้ หรือผื่นจากยา โดยสังเกตดังนี้

โรคหัด โรคนี้จะมีอาการรุนแรงกว่าโรคหัดเยอรมัน จะมีไข้สูงตลอด กินยาลดไข้ไม่ได้ผล เป็นหวัด ไอ ซึมและเบื่ออาหาร มีผื่นขึ้นในวันที่ 4 ของไข้ (ดูเพิ่มเติมใน โรคหัด หัวข้อ อาการ)

ส่าไข้ (Roseolar infantum)

ส่าไข้มักเป็นกับทารกอายุระหว่าง 6-12 เดือน หรือถึง 3 ขวบไม่พบในเด็กโตและผู้ใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัส ติดต่อด้วยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน มีระยะฟักตัวของโรคนี้ประมาณ 7-17 วัน

โรคนี้บางที่เรียกว่า “ไข้ผื่นกุหลาบในทารก” (roseola infantum) คนไทยเรียกว่า “ส่าไข้” หรือ หัดเทียม” เนื่องจากมีอาการคล้ายออกหัด เป็นโรคที่ไม่มีอันตราย ยกเว้นในกรณีที่มี ไข้สูงจนทำให้ เด็กชักชั่วขณะ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงจัดตลอดเวลา ซึมและเบื่ออาหาร โดยไม่มี อาการเป็นหวัดหรือผิดปกติอื่นๆ เมื่อมีไข้สูงราว 3-4 วันก็จะลดลง จากนั้นไม่กี่ชั่วโมงจะ เกิดผื่นแดงตามตัว มีลักษณะคล้ายผืนออกหัด ประมาณ 1-3 วัน ผื่นจะหายไปและเด็กจะ แข็งแรงเป็นปกติ

ส่าไข้จะมีผื่นขึ้นหลังจากไข้ลด แต่โรคหัดเมื่อมีผื่นขึ้นแล้วไข้ก็ยังไม่ลดโดยจะมีไข้ต่อไป อีกประมาณ 2-3 วัน

ผู้ป่วยที่หายจากโรคนี้จะมีภูมิคุ้มกันทำให้ไม่กลับเป็นซํ้าอีก

ผื่นจากยา จะมีผื่นแดงปรากฏขึ้นหลังจากกินยา ผื่นนั้นจะทำให้มีอาการคันยิบๆ หาก สงสัยว่าเกิดจากสาเหตุนี้ควรหยุดยาที่กินแล้วปรึกษาแพทย์ ส่วนโรคหัดและส่าไข้กินยา รักษาตามอาการ ควรปรึกษาแพทย์

โรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่พบได้คือข้ออักเสบและสมองอักเสบ โดยทั่วไปโรคนี้ ไมรุนแรงและไม่ทำให้เกิดพิการหรือตาย ยกเว้นเมื่อเกิดในหญิงมีครรภ์ในระยะ 3-4 เดือนแรก เชื้ออาจผ่านไปยังทารกในครรภ์ทำให้แท้งหรือคลอดออกมาพิการได้

การปฏิบัติตน

เมื่อเป็นหรือสงลัยว่าเป็นโรค ไข้หัดเยอรมัน นอกจากการไปพบแพทย์และปฏิบัติตามคำ แนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควรทราบ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.ผู้ป่วยไม่ควรเข้าใกล้หญิงมีครรภ์ โดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก เพราะอาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ (ในกรณีที่หญิงมีครรภ์ไม่มีภูมิคุ้มก้น)

2.สำหรับคนทั่วๆ ไป โรคนี้ไม่มีอันตรายร้ายแรงแต่อย่างใด การป้องกันและควบคุมโรค

นอกจากปฏิบัตตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังมีรายละเอียดในหัวข้อ การป้องก้นและควบคุมโรค จากบทนำแล้วยังมีข้อควรทราบ เกี่ยวการป้องก้นเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1.เด็กผู้หญิงควรรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันก่อนจบการศึกษาระดับประถมศึกษา

2.ผู้หญิงก่อนแต่งงานรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน

3.หญิงที่มีสามีเมื่อรับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมัน ควรคุมกำเนิดประมาณ 2 เดือน เพราะหากมีครรภ์ในช่วง 2 เดือนแรกที่ได้รับวัคซีน จะเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์

4.หญิงมีครรภ์ที่เป็นหัดเยอรมัน (โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก) ควรรีบไปพบ แพทย์ และหญิงมีครรภ์ไม่ควรคลุกคลีกับผู้ป่วยเป็นหัดเยอรมัน

ข้อควรทราบเพิ่มเติม นายแพทย์ชาวเยอรมันผู้หนึ่งค้นพบว่า โรคเหือดหรือหัดเยอรมัน เป็นคนละโรคกับโรคหัด วงการแพทย์จึงตั้งชื่อว่า “หัดเยอรมัน” เพื่อให้เกียรติแก่ชาติที่ค้นพบ ชื่อของโรคนี้ จึงมิได้หมายความว่าแพร่ระบาดมาจากเยอรมันแต่อย่างใด โรคนี้มีอาการรุนแรง น้อยกว่าโรคหัด ผู้ป่วยจึงสามารถทำงานหรือไปโรงเรียนได้ตามปกติ

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า