สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สาเหตุของโรคตับอักเสบ

โรคตับอักเสบจากไวรัส (Hepatitis Virus)

โรคตับอักเสบ หมายถึง โรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบเกิดขึ้น เป็นโรคที่รู้จักกันมาช้านาน มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณหรือสมัยฮิปโปเครตีส โรคตับอักเสบอาจเกิดจากการแพ้สารพิษ หรือการติดเชื้อจุลชีพ แต่ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสของโรคตับอักเสบซึ่งมีหลายชนิด และมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกันไป

สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสของโรคตับอักเสบ เช่น

ไวรัสดับอักเสบ A พบมากในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนาที่มีความล้าหลังทางด้านสาธารณสุขและอนามัย นักเดินทางท่องเที่ยวจึงเป็นกลุ่มบุคคลที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง

ไวรัสตับอักเสบ B ในปี พ.ศ.2506 นายแพทย์บลุมเบอร์ก (Blumberg) และคณะ ได้พบ แอนติเจน (Antigen) ชนิดหนึ่งในเลือดของชาวพื้นเมืองในทวีปออสเตรเลีย จึงให้ชื่อในขณะ นั้นว่า ออสเตรเลีย แอนติเจน ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของไวรัสตับอักเสบ B ที่เรียกว่า เฮปาไตติส บี เซอร์เฟส แอนติเจน (Hepatitis B Surface Antigen) เป็นผลให้เกิดการวินิจฉัย โรคตับจากการติดเชื้อไวรัสชนิดต่าง ๆ ส่งผลให้เขาได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี พ.ศ.2519

ไวรัสตับอักเสบ C ภายหลังที่นายแพทย์บลุมเบอร์กและคณะรายงานเรื่อง ออสเตรเลีย แอนติเจน เมื่อปีพ.ศ.2506 แล้วอีก 5 ปีต่อมา ยังพบอุบัติการณ์ของโรคตับอักเสบที่ไม่ใช่ชนิด A และ B ต่อมาได้มีการศึกษาพบไวรัสตับอักเสบชนิด C ซึ่งพบบ่อยขึ้นภายหลังการถ่ายเลือด

ไวรัสตับอักเสบ D ในปีพ.ศ.2516 ริเซตโต (RIZETTO) และคณะในประเทศอิตาลี ได้พบ เชื้อไวรัส D ในกลุ่มผู้ติดยา หรือฉีดยาเสพติดโดยใช้เข็มร่วมกันเหมือนการติดเชื้อในกลุ่มไวรัส B

ไวรัสตับอักเสบ E จากการศึกษาทางระบาดวิทยา พบว่า โรคตับอักเสบจาก ไวรัสที่ไม่ใช่

A และไม่ใช่ Bนั้นมีอยู่ 2รูปแบบ รูปแบบหนึ่งจะติดต่อแพร่โรคโดยการได้รับเลือด ผลิตภัณฑ์เลือด หรือโดยเข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกันในกลุ่มผู้ฉีดยาเสพติดดังกล่าวมาแล้ว และได้รับการจำแนกต่อมาว่าเป็นตับอักเสบ C สำหรับอีกรูปแบบหนึ่งพบว่า ระบาดอยู่ตามชุมชนเล็กๆ และการแพร่โรคเกิดขึ้นโดยการกินชนิดนี้คือไวรัสตับอักเสบ E

เชื้อที่ทำให้เกิดโรค เชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบได้แก่เชื้อไวรัส ฮีฟาติทิส  A, B, C, D และ E (Hepatitis A, B, C, D and E virus) นอกจากนี้ยังมีเชื้อไวรัสอื่นๆ เช่น ไวรัส G

แหล่งของโรค พบว่าผู้ที่มีเชื้อไวรัสแต่ละชนิดในร่างกายเป็นแหล่งของโรคเชื้อไวรัสตับอักเสบ B พบได้มากในประเทศไทย ผู้ป่วยเป็นแหล่งของเชื้อโรคและเป็น พาหะเรื้อรังโดยไม่แสดงอาการ มีในผู้ชายไทยประมาณร้อยละ 10 และในผู้หญิงไทยประมาน ร้อยละ 5

การเพิ่มจำนวนของไวรัสชนิด D จะต้องพึ่งพาอาศัยไวรัสดับอักเสบ B เป็นหลัก

การติดต่อ

ไวรัสตับอักเสบ A ติดต่อกันโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มนํ้าที่มีเชื้อชนิดนี้ปนเปื้อน การระบาดในท้องถิ่นมักมีส่วนสัมพันธ์กับนํ้าดื่ม นํ้าแข็ง อาหารทะเล เชื้อจากผู้ป่วยจะถูกขับออกมากับอุจจาระตั้งแต่ 2 สัปดาห์ก่อนและหลังแสดงอาการดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง) ผู้ป่วยจึงเป็นแหล่งแพร่เชื้อ อาจตรวจพบไวรัสของเชื้อชนิดนี้ในเลือดได้ในช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เชื้อจึงไม่แพร่สู่ผู้อื่นโดยการถ่ายเลือด และไม่มีปัญหาในการบริจาคเลือด ต่างจากไวรัสชนิด B, C และ D ในแหล่งที่มีคนมารวมกันอยู่เป็นหมู่มาก เช่น ในกรมทหาร โรงเรียน เรือนจำ อาจมี การระบาดอย่างกว้างขวาง

ไวรัสดับอักเสบ B พบเชื้อได้ในสารนํ้าและสารคัดหลั่งต่างๆ ของร่างกาย ได้แก่ เลือด นํ้านม นํ้าลาย อสุจิ และเมือกในช่องคลอด การติดต่อจึงเกิดจากการใช้เข็มฉีดยาหรือของมีคม ที่เปื้อนเลือด เช่น การใช้ใบมีดโกนร่วมกัน การสักจากเครื่องมือแพทย์ ทางเพศสัมพันธ์ และ

ติดต่อจากมารดามายังทารก โดยเฉพาะในระยะคลอดหรือติดต่อในระยะเลี้ยงดูหลังคลอด วิธีการเช่นนี้ เป็นวิธีเดียวกับการติดต่อแพร่เชื้อของไวรัสโรคเอดส์ ซึ่งคนส่วนใหญ่ยังไม่ทราบว่าไวรัสตับชนิดนี้สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมผัส

โรคนี้พบได้ทุกอายุพบได้บ่อยและจะกระจัดกระจายไม่เป็นกลุ่มต่างจากไวรัสตับอักเสบ A

ไวรัสตับอักเสบ C ผู้ติดเชื้อบางราย กลายเป็นพาหะเรื้อรัง โรคตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการถ่ายเลือดในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ เกิดจากการติดเชื้อชนิดนี้ และสามารถติดต่อ

ทางเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

ไวรัสตับอักเสบ D พบในกลุ่มผู้ติดยาเสพติดที่ใช้เข็มและกระบอกฉีดยาร่วมกัน รวมทั้ง ได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบ E ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือดื่มนํ้าที่เชื้อปนเปื้อน

ระยะฟักตัวของโรค

ไวรัสตับอักเสบ A ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 15-50 วัน ไวรัส B ประมาณ 50-180 วัน ไวรัส C ค่อนข้างยาวนานคล้ายไวรัส B เกณฑ์อยู่ในระหว่าง 2-20 สัปดาห์หรือเฉลี่ยประมาณ 8 สัปดาห์ ไวรัส D, ไวรัส E ประมาณ 3-6 สัปดาห์

ระยะติดต่อ

ไวรัสตับอักเสบ A เชื้อจะถูกขับออกในอุจจาระของผู้ป่วยตั้งแต่ 2 สัปดาห์ก่อนและหลังแสดงอาการดีซ่าน ผู้ป่วยในระยะนี้จึงเป็นแหล่งแพร่เชื้อ ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ ผู้ติดเชื้อประมาณหนึ่งในสามเท่านั้นที่แสดงอาการโรคตับอักเสบชนิดเฉียบพลัน ผู้ใหญ่มักมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็ก

ไวรัสตับอักเสบ B โรคนี้เกิดได้กับประชากรทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ทารกแรกเกิดจนถึงผู้ใหญ่ ภูมิคุ้มกันจะเกิดขึ้นได้ โดยการติดเชื้อในธรรมชาติ โดยไม่ปรากฏอาการของโรค และพบว่าใน ประชากรไทยโดยทั่วไปจะเป็นพาหะของโรคอยู่ประมาณร้อยละ 5-10 ผู้ที่เป็นพาหะเรื้อรังนี้จะมีเชื้อไวรัส B อยู่ในตัวตลอดเวลา สามารถแพร่ให้แก่ผู้อื่นต่อไปได้

ความไวต่อโรคและความต้านทาน ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับที่ไม่มีภูมิคุ้มกันมีโอกาส เป็นโรคนี้ได้

อาการ โรคตับอักเสบหมายถึงโรคที่เซลล์ของตับมีการอักเสบทำให้บวมโต ผู้ป่วยจึงมีอาการเจ็บแน่นบริเวณตับ รู้สึกเบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย บางรายมีไข้ต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายจะมีอาการดีซ่าน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง เกิดขึ้นตามมาจากนั้นอาการ ต่าง ๆจะทุเลาลง ผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะฟักฟื้น ซึ่งอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนกว่าจะหายปกติ หากไม่เกิดการอักเสบชนิดเรื้อรังอาจจะหายได้ภายในเวลาประมาณ 6 เดือน

ไวรัสตับอักเสบ A เป็นชนิดที่พบบ่อยในเมืองไทย พบมากในเด็กและวัยหนุ่มสาว อาการไม่ค่อยรุนแรงและเป็นเร็วหายเร็วไม่เรื้อรังผู้ได้รับเชื้อส่วนน้อยที่แสดงอาการโดยจะมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มักเข้าใจว่าเป็นโรคติดเชื้อของทางเดินอาหาร ทำให้การวินิจฉัยโรคผิดพลาดเพราะ 4-5 วันต่อมาจึงจะแสดงอาการชัดเจนของโรค คือเป็นดีซ่านหรือตัวและตาเหลือง โรคจะดำเนินไปอีกประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็จะทุเลา แต่บางรายที่เป็นรุนแรงอาจ เสียชีวิตได้

ผู้ที่หายจากการติดเชื้อแล้วไม่ว่าจะเกิดอาการของโรคหรือไม่ก็ตามจะหายขาด คือไม่มีภาวะเป็นพาหะของโรคติดตามมาภายหลัง ไม่เป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัส ตับชนิด A ไปตลอดชีวิต

ไวรัสตับอักเสบ B อาการเริ่มแรกอาจคลุมเครือไม่ชัดเจน ไม่รวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีไข้ต่ำแล้ว ค่อยๆ สูงขึ้น คลื่นไส้อาเจียนและค่อยๆ มีอาการของดีซ่าน อาการที่สำคัญคืออ่อนเพลีย โดยเฉพาะผู้ที่เป็นเรื้อรังหรืออาจไม่แสดงอาการเลย ซึ่งบางรายแค่ปรากฏอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้ บริเวณตับในระยะหลังๆเท่านั้น แต่บางรายอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่นปวดข้อไตอักเสบ คัน           ดังนั้นในรายที่ไม่ปรากฏอาการกว่าจะทราบว่าเป็นเรื้อรังก็เมื่อโรคได้ดำเนินไปจนถึงขั้น เป็นตับแข็งแล้วโดยไม่ปรากฏอาการดีซ่านมาก่อน ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ได้รับเชื้อจะไม่แสดงอาการ ร้อยละ 6-10 ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อจะกลายเป็นพาหะเรื้อรัง

ในจำนวนพาหะนำเชื้อทั้งหลายร้อยละ 30 จะกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังซึ่งพัฒนา ไปเป็นตับแข็งหรือมะเร็งตับได้ โดยก่อนหน้าที่จะมีอาการถึงขั้นตับแข็งอาจไม่เคยแสดงอาการเฉียบพลันมาก่อนเลยหรือมีอาการเพียงเล็กน้อยเช่นอ่อนเพลีย คลื่นไส้ และเจ็บตับในระยะหลังๆเท่านั้น แต่สามารถเป็นพาหะแพร่เชื้อได้

ถ้าไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นชนิดเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะทุเลาและหายภายใน 4- 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนน้อยเป็นโรครุนแรงจนถึงแก่ชีวิต

ไวรัสตับอักเสบ C จะมีอาการน้อยกว่าชนิด B ส่วนใหญ่การติดเชื้อมักเป็นชนิดไม่ปรากฏอาการหรือไม่แสดงอาการรุนแรง อาการโดยทั่วไปคือเบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องบ้างเล็กน้อย ท้องอืดท้องเฟ้อ ตามด้วยอาการดีซ่าน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พบว่าร้อยละ 25-50 สามารถหายจากโรคได้ อีกร้อยละ 50-75 จะกลายเป็นเรื้อรังและอาจ กลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับได้ โรคตับอักเสบที่เกิดขึ้นภายหลังการถ่ายเลือดในปัจจุบันส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด C

ไวรัสตับอักเสบ D เป็นไวรัสที่ไม่สมบูรณ์ จะต้องติดเชื้อร่วมกับชนิด B แล้วจึงจะมีการเพิ่มจำนวนของไวรัสทั้งชนิด D และ B เนื่องจากไม่สามารถติดเชื้อเพิ่มจำนวนในเซลล์ตับได้ ตามลำพัง และชนิด D มีการติดต่อเช่นเดียวกับชนิด B ซึ่งอาจติดเชื้อร่วมกันหรือเป็นชนิดไวรัส B แล้วถูกชนิดไวรัส D ซํ้าเติม ดังนั้นการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสชนิด B จึงเท่ากับป้องกันชนิด D ด้วย

เชื้อไวรัสตับอักเสบ D ทำให้เกิดโรคตับอักเสบรุนแรงกว่าเชื้อชนิดอื่นๆ และอาจมีการติด เชื้อเรื้อรัง แล้วกลายเป็นตับแข็งได้ในอัตราค่อนข้างสูง

ไวรัสดับอักเสบ E เป็นโรคที่มีระบาดในกลุ่มหนุ่มสาวและผู้ใหญ่วัยกลางคน โดยเฉพาะ ในกลุ่มประเทศทีกำลังพัฒนาเช่น อินเดีย ปากีสถาน เนปาล พม่า อินเดีย เม็กซิโก รัสเชีย และแอฟริกา โรคนี้หากเกิดในหญิงมีครรภ์จะมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 20 แต่สำหรับใน ประชากรทั่วๆ ไป มีอัตราการตายประมาณร้อยละ 1-2 เท่านั้น

การแพร่กระจายของโรคคล้ายชนิดไวรัส A และจะไม่กลายเป็นโรคเรื้อรัง ยังไม่มีวิธีการ ตรวจในปัจจุบัน การวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการยังกระทำในเชิงวิจัยและศึกษาเพิ่มเติม

การตรวจหาเชื้อและวินิจฉัยโรค การตรวจร่างกายและอาการที่แสดงแพทย์อาจ ไม่สามารถบอกชนิดของไวรัสตับอักเสบได้ เพราะมีอาการคล้ายคลึงกัน จำเป็นต้องตรวจใน ห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือดหาแอนติเจนและหรือแอนติบอดีเชื้อไวรัส

การตรวจหาเชื้อไวรัสชนิด A การตรวจจำเพาะที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าเป็นโรคดับอักเสบ A คือ การตรวจเซรุ่มแล้วพบแอนติบอดีชนิดไอจีเอ็มต่อแอนติเจนของเชื้อไวรัสหรือตรวจหา อนุภาคของไวรัสในอุจจาระโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (ไม่นิยมเพราะช้าและไม่สะดวก) ชนิด B ทำได้โดยการตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสในเลือดของผู้ติดเชื้อ แอนติเจน ชนิดนี้มีชื่อเรียกว่า เฮปาไตติส B เซอร์เฟสแอนติเจน หรือ เอชบีเอสแอนติเจน ปัจจุบันนี้ ธนาคารเลือดทุกแห่งต้องตรวจคัดเลือกเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ B ทิ้ง ไม่นำไปให้กับผู้ป่วย อื่นๆ

ชนิด C โดยการตรวจคัดว่าไม่ใช่โรคตับอักเสบชนิด A และ B และตรวจจำเพาะโดย การทดสอบหาแอนติบอดีของเชื้อ

ผลการตรวจเลือดทางเคมี พบว่าระดับของ อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส มีระดับต่ำ กว่าตับอักเสบ A และ B แต่จะมีระดับสูงๆ ในระหว่างการดำเนินโรค ซึ่งลักษณะเช่นนี้ จะไม่ พบในตับอักเสบชนิดอื่นๆ

ไวรัสตับอักเสบ D จากการตรวจเลือดผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทยพบว่า ร้อยละ 60 เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ D มาแล้ว

ไวรัสตับอักเสบ E (ดูในท้ายหัวข้อ อาการ)

การรักษาพยาบาล

ไวรัตับอักเสบ A รักษาโดยการประคับประคอง ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ให้ อาหารอ่อนเพื่อให้ย่อยง่ายและให้มีไขมันต่ำเพื่อป้องกันอาการท้องอืดท้องเฟ้อแน่นและอาเจียน แต่ต้องให้มีแคลอรี่เพียงพอ และให้การรักษาตามอาการเช่น ให้ยาแก้อาเจียน ให้นํ้าเกลือ สาร ละลายนํ้าตาลกลูโคสเข้าเส้นเลือด ให้ยาแก้คันถ้าคันมาก ยาสำหรับใช้รักษาโดยเฉพาะยังอยู่ในระหว่างการวิจัย

ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงยาหรือสารที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น ยารักษาวัณโรค แอลกอฮอล์  ยารักษาความดันโลหิตประเภทเมธิลโดปา เป็นต้น

ไวรัสตับอักเสบ B ผู้ป่วยที่เป็นชนิดเฉียบพลันและไม่มีภาวะแทรกซ้อนนั้น ให้ทำการ รักษาแบบทั่วไปแบบชนิดไวรัส A ขณะนี้เริ่มมีการรักษาด้วยอัลฟา อินเตอร์เฟอรอนแล้ว

ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน จะต้องได้รับการพิจารณาดูแลรักษาเป็นราย ๆไป แล้วแต่ว่า จะมีภาวะแทรกซ้อนอย่างใด ผู้ป่วยเรื้อรังให้ทำการรักษาตามอาการ

ไวรัสตับอักเสบ C ขณะนี้การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ C ยังอยู่ในระหว่างการ ดำเนินการ และการรักษาโดยใช้อินเตอร์เฟอรอนในรายที่เป็นเรื้อรังมีแนวโน้มว่าจะได้ผลดี ไวรัสตับอักเสบ D ไวรัสชนิดนี้จะติดเชื้อร่วมกับชนิดไวรัส B ดังนั้นเมื่อรักษาไวรัสตับอักเสบ B ก็ เท่ากับเป็นการป้องกันไมให้เกิดติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ D ร่วมด้วย ไวรัสตับอักเสบ E (ดูใน ท้ายหัวข้อ อาการ)

วัคซีน

ไวรัสตับอักเสบ A ในบางประเทศได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนบ้างแล้ว ผู้ป่วยเมื่อหายจากโรคแล้วจะหายขาด และจะเกิดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต จะไม่เป็นโรคตับอักเสบ A อีก

สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปในประเทศด้อยพัฒนาซึ่งการสาธารณสุขและอนามัยไม่ดี อาจป้องกันตัวด้วยการฉีดภูมิคุ้มกันในรูปของ อิมมูนโกลบูลิน (Immune globulin) ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต้านไวรัสตับอักเสบ A อยู่ด้วย (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ การป้องกันและควบคุมโรค ด้วย)

ไวรัสตับอักเสบ B ในปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B วัคซีนนี้เตรียมจากเอชบี อาแอนตินเจนที่สกัดจากพลาสมาของผู้ที่เป็นพาหะหรือเตรียมจากยีสต์โดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรม ประชากรไทยเมื่ออายุ 20 ปีอาจจะมีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติจากการติดเชื้อแบบไม่ ปรากฏอาการของโรค

วัคซีนมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดหนึ่งผลิตจากพาสมาของผู้ที่เป็นพาหะ กับชนิดที่ผลิตโดยวิธี พันธุวิศวกรรม

ปัจจุบันได้มีการผลิตวัคซีนชนิดใหม่ซึ่งเป็นส่วนผสมของเชื้อไวรัสตับอักเสบ A และ B โดยเริ่มวางจำหน่ายในอังกฤษ มีชื่อว่า สมิธไคลน์ บีแซม’ส ทวินริกซ์ โดยผ่านการรับรองจาก สหภาพยุโรปเมื่อเดือนกันยายน ปีพ.ศ.2539 แต่ยังไม่ได้รับการรับรองจากประเทศอื่นๆนอก ทวีปยุโรป

เชื่อว่าวัคซีนชนิดนี้สามารถป้องกันโรคตับอักเสบได้ทั้งชนิด A และ B

ไวรัสตับอักเสบ C (วัคซีนอยู่ในระหว่างการพัฒนา)

ไวรัสตับอักเสบ D การฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ B จะสามารถป้องกันการติด เชื้อตับอักเสบ D ได้ด้วย (ดูเพิ่มเติมในหัวข้อ อาการ)

ไวรัสตับอักเสบ E (อยู่ในระหว่างการศึกษา)

โรคแทรกซ้อน ดูในแต่ละชนิดของโรค เช่น ไวรัสตับอักเสบ D อาจทำให้กลายเป็น ตับแข็ง เป็นต้น

โรคอื่นๆที่มีอาการคล้ายตับอักเสบจากไวรัส อาการดีซ่าน คือ อาจเกิดจาก สาเหตุของโรคอื่นๆ ได้ เช่น ตับแข็ง มะเร็งตับ โรคพยาธิใบไม้ในตับ โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ธาลัสซีเมีย ถุงนํ้าดีอักเสบ ฝีในตับ หรือโรคติดเชื้ออื่นๆ เช่น มาลาเรีย ไทฟอยด์

การปฏิบัติตน เมื่อเป็นหรือสงสัยว่าเป็น

โรคตับอักเสบจากไวรัส นอกจากการไปพบ แพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อ ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำ แล้ว ยังมีข้อควรทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเฉพาะโรคเพิ่มเติม ดังนี้

1 .ออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ แต่อย่าหักโหมมากเกินไป สามารถประกอบ ธุรกิจประจำวันได้ตามปกติ

2.  พักผ่อนให้เต็มที่     ดื่มนํ้ามากๆอย่าทำงานหนัก จนกว่าจะหายอ่อนเพลีย ควรไปพบ แพทย์อย่างสม่ำเสมอ

3.  ผู้ป่วยด้วยโรคไวรัสตับชนิดที่มีการติดต่อได้ทางเลือดเช่น    ชนิด B, C และ D ไม่ควรใช้ ของที่อาจเปื้อนเลือด เช่น ยาสีฟัน มีดโกนหนวดร่วมกับผู้อื่น และควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ ว่าตนป่วยหรือเป็นพาหะของโรค เพื่อแพทย์จะได้เพิ่มการระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการสั่งยาที่ อาจเป็นพิษต่อเซลล์ตับ และควรงดการบริจาคโลหิต

การป้องกันและควบคุมโรค นอกจากปฏิบัติตามคำแนะนำ เพื่อหลีกเลี่ยงและ ป้องกันการรับเชื้อหรือภาวะที่ทำให้เกิดโรค ดังกล่าวรายละเอียดไว้ในบทนำแล้ว ยังมีข้อควร ทราบเพิ่มเติมเฉพาะโรค ดังนี้

  1. ควรตรวจเลือดก่อนแต่งงาน
  2. หญิงที่ต้องการจะมีบุตร        ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ

ไวรัสตับอักเสบ A

  1. หากต้องเดินทางไปในดินแดนที่มีโรคชุกชุมหรือมีการระบาดให้ฉีดอิมมูนโกลบูลินหนึ่งครั้ง ขนาด 0.02 ซีชี.ต่อนํ้าหนักตัว 1 กก.ก่อนเดินทาง ถ้าพักพิงอยู่นานให้ฉีดขนาด 0.05 ชีชี.ต่อ นํ้าหนักตัว 1 กก.ทุกๆ 5-6 เดือน
  2. ในกรณีที่ไปสัมผัสโรคมา เช่น อยู่ร่วมชายคาเดียวกันและใกล้ชิดผู้ป่วย หรือเจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานในเขตการระบาดโดยทั่วไปในท้องถิ่น ให้ฉีดขนาด 0.02 ซีซี.ต่อนํ้าหนักตัว 1 กก.ครั้ง เดียว

ไวรัสตับอักเสบ B

  1. ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกับผู้ป่วย ควรได้รับการตรวจ เพื่อทำการป้องกันการติดต่อ
  2.  ในกรณีที่บุตรเกิดจากมารดาที่เป็นพาหะ ให้ฉีดวัคซีนหรือให้วัคซีนร่วมกับอิมมูนโกล บูลินจำเพาะตั้งแต่แรกเกิด
  3. ไม่ควรใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  4. บุคคลทั่วไปเมื่อให้แพทย์ตรวจแล้วพบว่ายังไม่มีภูมิของโรคนี้ ควรฉีดวัคซีนป้องกัน
  5. ในประเทศไทย มีโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบ B ให้แก่ทารกคลอดใหม่ ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2534 เป็นต้นไป ฉะนั้นควรนำทารกที่เกิดใหม่ไปรับวัคซีน ตามที่แพทย์นัด
  6. ศูนย์บริการโลหิตและธนาคารเลือด จะต้องนำเลือดมาตรวจว่าปลอดเชื้อก่อนนำไป บริการแก่ผู้ป่วย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า