สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สารที่มีในบุหรี่

1. นิโคติน (NICOTINE)

เป็นสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำมันไม่มีสี เมื่อเข้มข้นจะเป็นสารที่มีพิษมากที่สุดตัวหนึ่ง และเป็นสารที่มีฤทธิ์แรงที่สุดในบรรดาสารทั้งหลายที่อยู่ในควันบุหรี่ ออกฤทธิ์ได้ทั้งเป็นตัวกระตุ้น กดและกล่อมประสาทกลางของสมอง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คนติดบุหรี่กัน

นิโคตินคือยาพิษที่มีฤทธิ์ฆ่ารุนแรงมาก เพียงนิโคตินเข้มข้น 2-3 หยดบนลิ้นก็สามารถฆ่าคนๆ นั้นได้ บุหรี่ธรรมดามวนหนึ่งจะมีนิโคติน ราว 15-20 มิลลิกรัม จำนวนนิโคตินในบุหรี่ 2 มวน ก็พอทำให้คนตายได้ แต่คนที่สูบบุหรี่ติดต่อกันหลายมวนแล้วไม่ตาย เพราะส่วนน้อยของนิโคตินในควันบุหรี่เมื่อสูบแล้วจะดูดซึมเข้าไปในร่างกายของผู้สูบ ถึงแม้ว่าบุหรี่หนึ่งมวนจะมีปริมาณนิโคตินระหว่าง 15-20 มิลลิกรัม แต่จะให้นิโคติน ออกมาในควันบุหรี่ประมาณ 0.6-2.6 มิลลิกรัมต่อมวน  บุหรี่ไทย มีปริมาณนิโคตินระหว่าง 0.1-1.6 มิลลิกรัมต่อมวนเท่านั้น บุหรี่ที่มีก้นกรอง ไม่ได้ทำให้ปริมาณนิโคตินลดน้อยลง เพราะฉะนั้นมีก้นกรองหรือไม่มีก้นกรองก็ได้รับพิษจากนิโคตินเท่าเทียมกัน ถ้าใครสูบถี่ สูบแรง ดูดยาวและอัดลึก ก็จะได้ปริมาณนิโคตินเข้าปอดมาก ถ้ายิ่งสูบจนเหลือก้นบุหรี่สั้นเท่าไร ก็จะได้ปริมาณนิโคตินเข้าปอดมากเท่านั้น

นิโคตินเป็นยาพิษอันทรงพลัง ที่กระตุ้นระบบประสาทในตอนแรกและทำให้ช้าลงในที่สุด มันอาจกระตุ้นท่านในนาทีแรก แต่กดดันประสาทของท่านทันทีในภายหลังการสูบบุหรี่จึงทำให้รู้สึกสดชื่นอยู่ครู่หนึ่ง และทำให้สงบลง หลังจากนั้นจะต้องสูบเพิ่มขึ้นๆ การเพิ่มนี้แหละจะทำให้ติดบุหรี่

นิโคตินจะไปออกฤทธิ์ทั้งที่สมองกลาง ระบบหัวใจ และหลอดเลือดและที่ระบบการหายใจ เช่น จะไปกระตุ้นให้หัวใจทำงานมากขึ้นเต้นเร็วขึ้น ความดันเลือดสูงขึ้น ซึ่งเมื่อสูบบุหรี่จัดต่อไปนาน ๆ อาจก่อให้เกิดโรคหลอดเลือดแดง ปลายมือ ปลายเท้าอักเสบ อุดตัน จนขาดเลือด ทำให้นิ้วเน่าต่อไปแขนเน่าถึงต้องตัดมือ ตัดขาทิ้ง ซึ่งมักเกิดภายหลังสูบบุหรี่เป็นเวลานาน 20-30 ปี ขึ้นไป

หัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย อาจเจ็บปวดอย่างรุนแรง อาจตายอย่างรวดเร็วด้วยหัวใจวาย อาจไม่ตายทันที แต่ต้องทรมานเพราะไม่สามารถออกกำลังเพื่อดำรงชีวิตอย่างปกติได้

นอกจากนี้ นิโคตินยังทำให้เบื่ออาหาร ไม่รู้รสอาหาร ในขณะเดียวกันก็ไปกระตุ้นนํ้าย่อยในกระเพาะเป็นต้นเหตุของโรคแผลในกระเพาะ และทางเดินอาหาร

นิโคตินไม่มีที่ใช้ในทางการแพทย์เกี่ยวกับการรักษาในท้องตลาด มีขายเป็นยาฆ่าแมลง

นิโคติน สารนี้ออกฤทธิ์ต่อสมองโดยตรง โดยใช้เวลาเพียง 7 วินาที ภายหลังสูดเข้าปอดก็จะถึงสมอง ซึ่งเร็วกว่าเฮโรอีนหลายเท่าตัวในสมองสามารถทำให้สารนี้เข้มข้นถึง 5 เท่าของระดับในเลือด และจะพยายามคงความเข้มข้นนี้ไว้ และในสมองนี้เองที่มีเครื่องรับนิโคตินโดยตรง จึงอาจกล่าวได้ว่า พออัดควันเข้าปอด นิโคตินก็ถึงสมองทันที ยังผลให้เกิดความรู้สึกสบาย นิโคตินอาจทั้งกระตุ้นสมองหรือผ่อนคลายสมอง ในผู้ที่ประหม่า  เครียด เกร็ง นิโคตินทำให้สงบลง ส่วนในผู้ที่อ่อนล้า นิโคตินกลับทำให้กระปรี้กระเปร่า ฤทธิ์คล้าย ๆ คาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่รสอ่อน นิโคตินน้อย จึงต้องอัดมากและบ่อยครั้ง จึงจะได้ระดับนิโคตินในเลือดเท่ากับที่เคยอัดบุหรี่รสแรงที่มีนิโคตินมากซึ่งต้องสูบน้อยครั้งกว่า เมื่อเว้นสูบไประยะหนึ่ง ระดับนิโคตินลดลง ก็จะก่อให้เกิดความอยากสูบอีกเพื่อเติมนิโคตินเข้าสู่ร่างกาย ถ้าไม่ได้สูบก็เกิดอาการต่าง ๆ จากการขาดนิโคติน

ผู้ที่ยิ่งต้องการนิโคตินเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดมากเท่าไรอาการ “งุ่นง่าน” ที่แสดงออกทางกายจากการ “ขาดบุหรี่” ก็ยิ่งจะรุนแรงมากเท่านั้น การติดบุหรี่ก็จะยิ่งมากและการเลิกก็จะยาก ผู้ที่สูบจัดจึงเลิกยากกว่าผู้ที่สูบไม่มากหรือเพิ่งสูบมาไม่นาน ลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับการติดยาเสพติดอื่นทุกประการ

มีข้อแตกต่างเล็กน้อยในบรรดา “นักนิยมควัน” ทั้งหลาย แม้จะได้นิโคตินเหมือนกัน แต่บุหรี่พออัดเข้าปอด ก็จะได้นิโคตินจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสมองทันที ผิดกับไป้ป์และซิการ์ จึงมีคำกล่าวว่า

ไป้ป์สำหรับคนนั่งโฅ๊ะ

ซิการ์สำหรับคนเดินไปมา

บุหรี่สำหรับคนใจร้อน

สรุปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประเภทใดสิ่งที่ต้องการจากควันคือนิโคตินที่ช่วยสมองในการปรับความรับรู้ต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นสำหรับผู้ติดบุหรี่

ตารางปริมาณของนิโคตินและทาร์ในบุหรี่ไทยชนิดต่างๆ

ชื่อบุหรี่

ประเภท

นิโคติน/มวน

ทาร์/มวน

พระจันทร์ ไม่มีก้นกรอง

0.6

24

รวงทิพย์ ไม่มีก้นกรอง

0.8

24

เกล็ดทอง ไม่มีก้นกรอง

1.0

26

รอแยล สแตนดาร์ด 3 ไม่มีก้นกรอง

1.5

28

รอแยล สแตนดาร์ด 3 ก้นกรอง

1.6

28

สามิต 14 ก้นกรอง

1.5

29

สามิต ไม่มีก้นกรอง

1.6

31

กรองทิพย์ ก้นกรอง

1.6

28

กรุงทอง 85 ก้นกรอง

1.8

29

กรุงทอง ไม่มีก้นกรอง.

1.8

30

สายฝน ก้นกรองกับเมนทอล

1.8

28

ทีทีเอ็ม ก้นกรอง

2.6

33

นักวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับพิษของนิโคตินกล่าวว่า ถ้าเราสูบบุหรี่วันละซอง ร่างกายจะสูดควันนิโคตินเข้าไปประมาณ 200 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ นิโคตินในปริมาณดังกล่าว ถ้าฉีดเข้าสู่ร่างกายจะมีฤทธิ์ทำให้ผู้นั้นถึงแก่ชีวิตได้ทันที เหตุที่นักสูบบุหรี่ไม่ถึงกับสิ้นชีวิตในทันทีที่สูบบุหรี่ เพราะ

1. เนื่องจากร่างกายของเราสามารกจะปรับตัวให้ทนยาได้มากขึ้น ทีละน้อย อาการที่แสดงพิษของนิโคตินจึงไม่รวดเร็วรุนแรง

2. เนื่องจากนิโคตินที่ร่างกายได้รับทีละน้อย มิได้คั่งอยู่ในร่างกาย แต่จะถูกขับถ่ายออกไปตลอดเวลา จึงไม่ปรากฏอันตรายขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งโทษของนิโคตินจะปรากฏว่า

นิโคตินระคายต่อทางเดินหายใจ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือยาสูบ จึงมักมีอาการระคายคอ เจ็บคอ คออักเสบ หลอดลมอักเสบ

นิโคติน มีฤทธิ์กระตุ้นทำให้กรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น ผู้ที่สูบบุหรี่มาก ๆ จึงมีลักษณะยอกอกบ่อย ๆ บางรายอาจมีอาการคล้ายเป็นแผลในกระเพาะอาหาร โดยเหตุนี้ผู้ที่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นแผลในกระเพาะอาหารจึงห้ามมิให้สูบบุหรี่

นิโคตินรบกวนการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง เป็นที่เชื่อกันว่านิโคตินมีส่วนส่งเสริมให้หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตันได้

นิโคตินทำให้เกิดการติดเป็นนิสัย ผู้สูบบุหรี่จึงจำเป็นต้องสูบเรื่อย ๆ

ผลของนิโคตินต่อร่างกาย

ภาพกราฟ 2 รูปข้างล่าง แสดงให้เห็นว่าเมื่อสูบบุหรี่ ร่างกายจะได้รับสารนิโคตินเข้าไปและไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น และผลอันนี้คงอยู่นานถึง 1 ชั่วโมง กว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ

2. ทาร์ (TAR)

ทาร์ คือ น้ำมันที่เกิดจากการเผาไหม้ของใบยาสูบ กระดาษมวน และสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ในบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เกาะติดกันเป็นสีน้ำตาล ส่วนใหญ่เป็นสารที่มีอันตราย เช่น เบนโซพัยรีน ไฮโดรคาร์บอน หรือน้ำมัน ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดมะเร็งในคนและสัตว์

บุหรี่ต่างประเทศจะควบคุมปริมาณทาร์อยู่ในระหว่าง 1-18 มิลลิกรัมต่อมวน บุหรี่ไทยมีปริมาณทาร์ระหว่าง 24-33 มิลลิกรัม/มวน ซึ่งสูงกว่าบุหรี่นอกมาก คนที่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง ปอดจะได้รับนํ้ามันทาร์ราว 300 มลลิกรัมต่อวันหรือ 110 กรัมต่อปี น้ำมันทาร์ที่เข้าไปอยู่เต็มทางเดินหายใจ หลอดลม และถุงลมในปอดเป็นต้นเหตุของเสมหะ การไอเรื้อรัง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และมะเร็งของริมฝีปาก ลิ้น ช่องปาก กล่องเสียง หลอดลม และปอด

3. คาร์บอนมอนอกไซด์ (CARBON MONOXIDE)

แก๊สนี้จะพบในควันบุหรี่ เหมือนกับที่พบจากการเผาไหม้ของ เครื่องยนต์ การหายใจเอาแก๊สนี้เข้าไปเป็นจำนวนมาก จะทำลายคุณสมบัติ ในการเป็นพาหะนำออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจน น้อยลง ผู้สูดแก๊สนี้จะหมดกำลังวังชา หายใจสั้นเข้า ทำให้ผู้นั้นมีประ­สิทธิภาพในการทำงานหนักหรือออกแรง ตลอดจนความกระฉับกระเฉงในการทำงานด้วยมือลดลง เกิดหอบเหนื่อยหรือหายใจไม่เต็มอิ่ม ไม่อาจขึ้นที่สูง ๆ ได้ แก๊สนี้ยังมีผลต่อความไวของตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลากลางคืน เพราะฉะนั้นนักบินควรงดสูบบุหรี่อย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนทำการบิน ถ้ามีแก๊สนี้ในเลือดสูงถึงร้อยละ 30 จะเกิดอาการรุนแรงและจะตายเมื่อมีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ร้อยละ 60

4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (HYDROGEN CYANIDE)

เป็นแก๊สพิษที่สามารถทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น (ส่วนมีขน) ซึ่งเป็นแนวป้องกันตามธรรมชาติที่คอยขจัดความสกปรก ฝุ่นละออง และเชื้อโรค ฯลฯ ที่หายใจเข้าไป คือเมื่อมีความสกปรกดังกล่าวผ่านเข้าไปในท่อทางเดินอากาศหายใจ ต่อมเมือกใต้ผิวบุหลอดลม ขับเมือกเหนียวมาคลุมปิดสิ่งสกปรกคล้ายผืนพรม แล้วขนเล็ก ๆ ที่เยื่อบุผิวหลอดลมค่อย ๆ ปัดสวนทางเอาแผ่นเมือกพร้อมสิ่งสกปรกกลับออกมา เมื่อถึงคอจะระคายเคือง ทำให้ไอออกเป็นเสมหะ

ควันร้อนและสารพิษจากบุหรี่ จะทำลายคุณสมบัติดังกล่าว ร่างกายหมดความต้านทานตามธรรมชาติ สิ่งสกปรกเกาะติดหลอดลม ทำให้เกิดอาการอักเสบเป็นแผล เกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เกิดอาการไอเรื้อรังมีเสมหะเป็นประจำ ทำลายบุคลิกและทำลายสุขภาพเรื่อย ๆ เมื่อปล่อยให้เป็นอยู่นาน ๆ จะไม่มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ ร่างกายจะทรุดโทรมออกกำลังมากไม่ได้ จนในที่สุดแม้แต่เดินก็หอบเหนื่อย ไปไหนมาไหนไม่ได้ แต่ไม่ตายง่าย ๆ เป็นการทรมานอย่างยิ่ง

บางท่านมีเสมหะออกมาเสมอ ไอออกได้ลำบาก แพทย์ต้องเจาะคอใส่ท่อพิเศษไว้ เพื่อช่วยการหายใจ และช่วยดูดเสมหะ เพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ต่อไป (อย่างทรมาน)

5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NITROGEN DIOXIDE)

เป็นสารพิษช่วยทำลายเยื่อบุหลอดลมส่วนปลาย และถุงลม ทำให้ผนังถุงลมบางโป่งพองหลายอันแตกรวมกันกลายเป็นโรคถุงลมปอดโป่งพอง (ปอดปกติจะมีถุงลมอยู่ประมาณ 300 ล้าน กินเนื้อที่ประมาณร้อยละ 50-60 ของปริมาตรปอด) มักเป็นร่วมกับโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง คุณสมบัติที่จะช่วยเป็นทางนำออกซิเจนเข้าสู่ปอดเสื่อมลง ส่วนของถุงลมที่พองออกคล้ายลูกโป่งช่วยกดเนื้อปอดส่วนดี ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงอาจเกิดอาการแน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง หอบเหนื่อย ออกกำลังไม่ได้ โรคดังกล่าวจะเป็นเรื้อรัง เป็นแล้วไม่มีโอกาสหาย จะทรมานไปตลอดชีวิต บางรายถุงลมที่โป่งพองนั้นฉีกขาดทำให้ลมรั่วเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด กดปอดแฟบจะเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ถ้าแพทย์ช่วยไม่ทัน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

6. แอมโมเนีย (AMMONIA)

เป็นเหตุช่วยให้หลอดลมอักเสบ

7. สารกัมมันตภาพรังสี

ในควันบุหรี่จะมีสารโพโลเนียม-210 ที่มีรังสีแอลฟาอยู่กัมมันตภาพรังสีของสารนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคมะเร็ง ผู้ที่สูบบุหรี่ 40 มวนต่อวัน จะพบว่ามีสารดังกล่าวในปัสสาวะมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 6 เท่า

8. แร่ธาตุต่างๆ

มีแร่ธาตุบางอย่าง เช่นโปแตสเซียมโซเดียม แคลเซียม ทองแดง นิเกิล และโครเมียม อันเป็นสารตกค้างในใบยาสูบหลังจากการพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะเป็นพิษต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนิเกิลทำปฏิกิริยากับสารเคมีอื่น จะกลายเป็นสารพิษที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

 

ส่วนประกอบของบุหรี่ สารเคมีที่เป็นในรูปแก๊สมีดังนี้

คาร์บอนไดออกไซด์

92,000

ส่วนในล้านส่วน

มีเทน อีเทน โปรเปน

87,000

,,

คาร์บอนมอนอกไซด์

42,000

,,

อะเซทีลีน เอซีลีน

31,000

,,

ไฮโดรเจน ไซยาไนด์

1,600

,,

เมธิลคลอไรด์

1,200

,,

อะซีโตน

1,000

,,

เมธามอล

700

,,

เมธิล เอธิล คีโตน

500

,,

แอมโมเนีย

300

,,

ไนโตรเจนไดออกไซด์

250

,,

เมธิลไนไตรท์

200

,,

อโครเลอีน

150

,,

ฟอร์มาลดีไฮด์

30

,,

 

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า