สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สารชีวพิษจากหอยทะเล

รูปหอยทรายทะเล

การค้นพบแบคทีเรียที่สร้างสารชีวพิษจากหอยทะเลในอ่าวไทย

หอยทรายทะเลเป็นหอยกาบคู่ชนิดหนึ่ง เปลือกนอกมีสีขาวมีร่องตามขวาง ผิวด้านในเปลือกเรียบ มันและมีสีม่วงอยู่บางส่วนเห็นได้ชัดเจน หอยชนิดนี้พบได้ทั่วไปในบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลงของฝั่งที่เป็นหินปนกรวดทรายขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีโคลนเล็กน้อย หอยทรายทะเลมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Asaphis vilascens

หอยทรายทะเลที่พบบนหาดทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะสีชังซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานีวิจัยสัตว์ทะเลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะฝังตัวอยู่ ในทรายที่มีความชื้นพอควรเวลาน้ำลง โดยมากมักพบอยู่เป็นกลุ่มๆในช่วงน้ำขึ้น น้ำทะเลจะท่วมลานหอย หอยจะกินอาหารโดยกรองจากน้ำทะเลและนํ้ารอบๆ โดยผ่านไซฟอน ชาวบ้านไม่นิยมนำหอยทรายไปกิน ก็เพราะมีเม็ดทรายเล็กๆ อยู่ในเนื้อหอยทำให้เกิดการระคายเคืองในปากและลำคอ

เมื่อนำหอยทรายไปตรวจสารพิษที่คณะสัตว­แพทย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยฉีดน้ำสกัดเข้าหนูขาวพบว่าเกิดพิษคล้ายกับพิษอัมพาตในหอย และ เทโทรโดท็อกซิน ต่อมาจึงได้ทำการศึกษาต่อในรายละเอียดและตีพิมพรายงานผลการศึกษาวิจัย ซึ่งอาจสรุปผลการศึกษารวมได้ดังนี้

จากการศึกษาขั้นต้น เกรียงศักดิ์ สายธนู และ คณะ สรุปว่าพิษอัมพาตในหอยและพิษเทโทรโดท็อกซิน สกัดได้จากหอยทรายทะเลในปี ๒๕๓๑ มีความเป็นพิษสูงในระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน และมีพิษต่ำตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม เมื่อทำซ้ำอีกครั้งหนึ่งในปี ๒๕๓๒ก็พบว่าหอยมีพิษสูงอีกในระหว่างเดือนมีนาคมและเมษายน ครั้งนี้ได้มีการวางแผนการตรวจสอบสารพิษจากอวัยวะต่างๆ ของหอยทะเล และทำการแยกเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะด้วย พร้อมทั้งได้เก็บตัวอย่างตรวจจากสิ่งแวดล้อมและได้มีการตรวจหาชนิดของ ไดโนแฟล็กเอลเลต ในสกุล Alexandrium และแบคทีเรียในน้ำทะเลและดินตะกอนโคลนทรายที่หอยอาศัยอยู่

เชื้อ Vibrio alginolyticus ซึ่งแยกได้จากหอยทรายทะเลบริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี สร้างสารพิษทั้งชนิด PSP และ TTX

จากผลการศึกษาต่อมาบ่งชี้ว่าหอยกาบคู่ที่กรองอาหารจากสิ่งแวดล้อม (ดังเช่นหอยทรายทะเลที่ศึกษา) หอยจะกรองเอาตะกอนที่มีแบคทีเรียซึ่งสร้างสารพิษทั้ง ๒ ชนิด เข้าไปภายในตัว เมื่อแบคทีเรียถูกย่อยทำให้สารพิษกระจายไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆ และเมื่อนำเอาอวัยวะไปวิเคราะห์ จึงพบสารพิษ ดังกล่าวในอวัยวะนั้นๆ ซึ่งได้แก่ แมนเติล เหงือก กระเพาะอาหาร เนื้อเยื่อสืบพันธุ์ ตับและตับอ่อน เป็นต้น

ชนิดและสายพันธุ์ของแบคทีเรียที่สามารถ สร้างพิษทั้ง ๒ ชนิด ที่พบในบริเวณอวัยวะต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วนั้น มีความแตกต่างกัน เช่น จีนัสฟวิบริโอ พบที่ไซฟอน เหงือก เนื้อเยื่อสืบพันธุ์และกระเพาะอาหาร ที่เหงือกมีแบคทีเรีย Micrococcus เพิ่มขึ้นอีกสกุลหนึ่งด้วย ส่วนที่พบในดินตะกอนที่หอยทรายทะเลอาศัยอยู่จะพบแบคทีเรียในสกุล Fla vobacterium รายละเอียดลักษณะทางด้านรูปพรรณสัณฐานและคุณสมบัติทางชีวเคมีของแบคทีเรียทั้งหมดนี้ได้ศึกษาไว้แล้ว จะได้นำไปใช้ประกอบ เพื่อการวินิจฉัยชนิด (สปีศีส์) และสายพันธุ์ต่อไปในอนาคต

ในตารางที่ ๒ แสดงถึงผลการสุ่มตัวอย่างสัตว์ทะเลและสิ่งแวดล้อมเพื่อศึกษาแบคทีเรียที่สามารถสร้างสารพิษกีดขวางช่องโสเดียมในอ่าวไทย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า