สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

วัณโรค(Tuberculosis)

ประวัติและสาเหตุ

วัณโรคในกระดูกไขสันหลังของคนมีรายงานพบในมัมมี่ชาวอียิปต์ในระยะเริ่มแรกของยุคหิน ชาวกรีกและโรมันรู้ว่าโรคนี้เป็นโรคระบาดที่น่ากลัว จนกระทั่ง ฮิปโปเครติสได้บรรยายลักษณะอาการของโรคนี้โดยให้ชื่อว่า ทูเบอร์เคิล ( tubercle ) ซึ่งหมายถึงลักษณะเป็นตุ่ม ซึ่งเป็นคำมาจากภาษา sylvius ในศตวรรษที่ 17

วัณโรคในสัตว์เคยมีรายงานเป็นโรคที่พบเสมอในช้างในวรรณคดีโบราณของชาวฮินดู ในกฎหมายโมเซด และทาลมัด

(Talmud) ได้อธิบายไว้เกี่ยวกับอันตรายของการกินเนื้อโคที่เป็นวัณโรค ต่อมาในยุคกลางได้มีข้อบังคับของชาวเมืองในเยอรมันว่าห้ามมิให้ผู้ใดนำเนื้อโคที่มีลักษณะตุ่มคล้ายมุกมาขาย ซึ่งลักษณะที่เป็นตุ่มคล้ายมุกนี้ คือวัณโรค ที่เกิดในเยื่อหุ้มช่องอกและช่องท้อง ในศตวรรษที่ 17 มีการขนส่งโคจากแหล่งหนึ่งไปสู่แหล่งอื่นๆ มากในแถบยุโรปตะวันตก ซึ่งมีผลทำให้โรคนี้ระบาดไปทั่ว และเข้าใจว่าโคที่ส่งจากเนเธอร์แลนด์นำวัณโรคไปสู่อังกฤษ จนถึงศตวรรษที่ 19 วัณโรคในโคมีระบาดทั่วไป และทำความสูญเสียทางเศรษฐกิจให้แก่สหรัฐอเมริกามาก

ในปี ค.ศ. 1868 Villemin ได้พิสูจน์ว่าวัณโรคเป็นโรคติดต่อ และสามารถ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ในกระต่ายโดยนำเอาวิการที่เป็นโรคจากคนและโคฉีดเข้าไปในกระต่าย โรแบท ค็อค เป็นผู้ที่ทราบเป็นคนแรกว่า วัณโรคในคนเกิดจาก บาซิลลัส ซึ่งต่อมาได้เรียกเชื้อที่ทำให้เกิดโรคนี้ว่า Mycobacterium tuberculosis ธิโอบอลด์ สมิท ได้ให้ชื่อวัณโรคที่เกิดในโคว่า M. bovis ซึ่งเขาพบว่าแตกต่างจาก M. tuberculosis ที่แยกได้จากคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1983 ริโวลต้า ได้แยกเชื้อและบอกความแตกต่างของวัณโรคที่เกิดจากสัตว์ปีกและโค ต่อมาเรียกเชื้อที่พบในสัตว์ปีกว่า M. avium ในปี.ค.ศ. 1901 ได้มีการประชุมเกี่ยวกับวัณโรคระหว่างประเทศขึ้นในกรุงลอนดอน และได้มีการอภิปรายว่าเชื้อวัณโรคที่พบในสัตว์จะให้เกิดอันตรายในคนหรือไม่ ในปีค.ศ. 1911 จึงได้พิสูจน์ว่า M . bovis ในโคสามารถทำให้เกิดวัณโรคทุกชนิดได้ในคน โดยพบว่ามีคนจำนวนมากติดเชื้อมาจากการดื่มนมโค

ระบาดวิทยา

คน

วัณโรคที่ปอดนับว่าสำคัญที่สุดเมีอเปรียบเทียบกับวัณโรคที่เป็นที่อวัยวะอื่น เพราะทำให้เชื้อแพร่และระบาดไปสู่ผู้อื่นง่าย อาการเป็นแบบเรื้อรังหรือไม่แสดงอาการของโรคออกมา และในบางกรณีอาจหายได้เองแต่พบน้อยมาก วิการที่พบในปอดอาจ เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยจนกระทั่งรุนแรงมาก และจะพบได้ที่ต่อมน้ำเหลืองที่ปอดก่อน ส่วน miliary tuberculosis พบมากในเด็ก วัณโรคปอดอาจตรวจพบได้โดยการแยกเชื้อ จากเสมหะ พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นจะรุนแรงมากน้อยอาจทราบจากการเอ็กซเรย์ หรืออาการที่แสดงออกมาของโรค ลักษณะของเอ็กซเรย์ที่พบอาจมีลักษณะ infiltrate cavitation และ fibrosis อาการที่แสดงออกมาให้เห็น คือ ไอ อ่อนเพลีย หมดแรง มีไข้ น้ำหนักลด ตอนกลางคืนมีเหงื่อออก เจ็บหน้าอก และต่อมามีเลือดออกทางจมูก หรือไอออกมามีเลือดปน อาการดังกล่าวอาจไม่พบในระยะแรก แต่ในระยะที่โรคไปไกล อาการจะแสดงออกอย่างรุนแรง ซึ่งเราจะพบมากในแหล่งที่มีโรคผอมแห้งเรื้องรังที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ดังนั้นการวินิจฉัยจึงควรแยกจากโรคระบบทางเดินหายใจตอนบน นิวโมเนีย acute pulmonary infiltrate หลอดลมอักเสบเรื้อรัง chronic bronchiectasis มะเร็ง เนื้องอกธรรมดาที่ปอดและขั้วปอด silicosis ฝีที่ปอด และโรคราต่างๆ เช่น ฮิสโตพลาสโมซิส สปอสป

สปอโรทริโคซิส แอสเพอจิลโลซิส และบลาสโตไมโคซิส เป็นต้น วิธีการวินิจฉัยที่จะแยกจากโรคอื่นๆ ที่ดีที่สุดคือการแยกเชื้อ บางครั้งอาจต้องทำการแยกเชื้อหลายครั้งในรายที่ครั้งแรกไม่พบ สำหรับวัณโรคที่เกิดขึ้นในอวัยวะอื่น เช่น ที่ตับ ม้าม ไต กระดูก เยื่อหุ้มสมอง อัณฑะ รังไข่ ลำไส้ และที่ข้อต่างๆ ส่วนมากเกิดขึ้นเนื่องจากเชื้อกระจายไปตามกระแสโลหิต ซึ่งอาจวินิจฉัยได้โดยการแยกเชื้อโดยตรงจาก exudate หรือจากอวัยวะนั้นโดยตรง

วัณโรคที่เกิดจาก M. bovis ในคนส่วนมากวิการเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ส่วนที่เกิดวิการในปอดพบได้น้อย นอกจากนี้อาจพบในอวัยวะที่อยู่ในช่องท้อง และพบได้ในเด็กเป็นส่วนใหญ่ การที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องจากการติดต่อของวัณโรคที่เกิดจาก M. bovis มาจากการดื่มนมโค ดังนั้นวิการของโรคจึงเกิดในระบบทางเดินอาหาร ในช่องท้อง นอกจากนี้อาจพบตามผิวหนัง หรือต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้กับบริเวณผิวหนัง ที่เชื้อเข้าไป อย่างไรก็ตามได้มีรายงานพบว่าวัณโรคที่เกิดจาก M. bovis ทำให้เกิดวัณโรคปอดเพิ่มขึ้นโดยการติดต่อทางละอองอากาศ ( droplet ) และจะพบมากในแหล่งที่มีการติดเชื้อจาก M. tuberculosis ตํ่า ( Schmiedel 1970) ผู้ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นโรค สามารถทำให้ติดต่อมาสู่คนหรือสัตว์ด้วยกันได้โดยมีระยะเวลาการแพร่เชื้อได้นานเป็น เดือนหรือหลายปี ถ้าไม่มีการควบคุมหรือป้องกันให้ดี อาการของโรคเมื่อติดเชื้อเข้าไปครั้งแรกอาจไม่แสดงอาการให้เห็น ยกเว้นในรายที่มีวิการรุนแรง การอยู่กันอย่างแออัดและสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ดี ทำให้โรคติดต่อจากบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งได้ง่ายและรวดเร็ว การติดต่อของวัณโรคที่เกิดจาก M. bovis แปดเปื้อนไปใน อาหารอื่นๆ มีน้อยมากยกเว้นนม ในกรณีที่ตรวจพบว่ามี M. bovis ในสัตว์และคน การป้องกันและรักษาทันทีจะทำให้หยุดการระบาดของเชื้อได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามในการปฏิบัติโดยวิธีการนี้ค่อนข้างเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะในประเทศด้อยพัฒนาหรือ กำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะประชาชนหรือเจ้าของสัตว์ที่ป่วยไม่ค่อยมีความรับรู้ถึงความสำคัญของการเกิดโรคนี้ ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข แพทย์ หรือสัตวแพทย์ ไปชี้แจงแล้วก็ตาม นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการในการตรวจสอบวินิจฉัยอาจมีไม่เพียงพอ

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคโดยสังเกตจากอาการที่แสดงออกมาของโรคที่เกิดจาก M. bovis และ M. tuberculosis แยกกันได้ยากมาก และแม้กระทั่งใช้การทดสอบทางผิวหนัง หรือการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาก็แยกลำบากมาก การ typing strain ของเชื้อที่แยกมา จากผู้ป่วยจะเป็นวิธีเดียวที่จะพิสูจน์ได้ว่าเกิดจากเชื้อชนิดใด ในปัจจุบันมีการทดสอบทางชีวะเคมีที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ดีเท่ากับการทดสอบโดยใช้กระต่ายเป็นสัตว์ทดลอง ซึ่งค่าใช้จ่ายสูง การวินิจฉัยที่จะแยกได้ดีที่สุดระหว่าง M. bovis และ M. tuberculosis แสดงไว้ในตารางที่ 13.1

การรักษา

การรักษาโรคนี้จะต้องให้ยากินติดต่อกัน 1 ปี หรือจนกระทั่งตรวจไม่พบเชื้อในเสมหะ ยาที่ให้ต้องกินติดต่อทุกวัน อาจให้ไอโซไนอาซิดร่วมกับเสตรปโตมัยซิน หรืออาจให้ร่วมกับ พี เอ เอส ethambutol, thiacetazone หรือ ethionamide เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อ ขนาดของยาที่ให้ดูตามตารางที่ 13.2 สำหรับยาสี่ตัวแรกในตาราง เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีที่สุดในการรักษาระยะนาน ไม่เป็นพิษ และเหมาะสำหรับคนไข้

องค์ประกอบที่มีผลต่ออุบัติการของโรค

องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดต่ออุบัติการของวัณโรคที่มาจากสัตว์ คือ โคที่เป็นโรค และจำนวนคนที่คลุกคลีอยู่กับสัตว์ป่วยเหล่านี้ ในประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาพบว่าประชาชนที่รับเชื้อวัณโรคชนิด human type ไปแล้วอาจมีภูมิต้านทานต่อ bovine type ดังนั้นในรายที่ทำการสำรวจดูอุบัติการของโรคในท้องที่ๆ มีการระบาด จึงพบว่าส่วนมากจะพบเชื้อเพียงชนิดเดียว ผู้ป่วยที่เป็นทั้ง human type ร่วมกับ bovine type จึงไม่ค่อยมีโคที่เป็นวัณโรคส่วนมากสังเกตจากอาการไม่ได้แน่นอน เพราะฉะนั้นการทำการทดสอบทูเบอร์คิวลินจึงมีประโยชน์มากสำหรับสำรวจหาตัวที่เป็นพาหะของเชื้อโรค สัตว์ป่วยเพียงไม่กี่ตัวในฝูงสามารถจะทำให้โรคนี้แพร่กระจายไปได้เร็วมากเมื่อเปรียบIทียบกับโรคในคน เคยมีรายงานว่าการติดต่อโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วในฝูงสัตว์ที่ถูกกักก่อนเข้าโรงฆ่าสัตว์ โดยเริ่มแรกของการตรวจพบว่ามีจำนวนน้อย แต่หลังจากที่กักไว้จะมีอัตราการติดเชื้อสูงขึ้น สัตว์อื่นที่เป็นตัวนำโรคมาสู่คน คือลิง ตามธรรมชาติลิงที่อยู่ในป่าลึกจะไม่มีการติดเชื้อวัณโรค นอกจากคนบุกรุกเข้าไปในป่า ลิงมีโอกาสคลุกคลีหรือใกล้ชิดกับคนจะมีอัตราการเป็นโรคนี้สูง ลิงนับว่าเป็นสัตว์ที่มีความไวต่อการติดเชื้อนี้ดี เคยมีรายงานพบว่าลิงที่เลี้ยงในสวนสัตว์รับเชื้อวัณโรคมาจากคนที่เข้าชม ปกติเชื้อที่พบในลิงเป็น M.tuberculosis (บุญเยี่ยม เกียรติวุฒิ และคณะ 2523)

โคที่อยู่ในภาวะขาดธาตุอาหาร หรือเป็นโรคอื่น หรืออยู่ในระยะให้นํ้านมสูง พบว่ามีความต้านทานต่อเชื้อวัณโรคต่ำ สัตว์อื่นๆ เช่น สุนัข แมว มีความต้านทานต่อวัณโรคสูง สำหรับสัตว์อื่นๆ ที่เลี้ยงตามสวนสัตว์ส่วนมากจะมีความต้านทานต่อเชื้อวัณโรคตํ่า และเมื่อเกิดการติดเชื้อจะแสดงอาการออกมาให้เห็นใน ระยะแรกๆ ของโรค การติดโรคนี้ในสัตว์ส่วนมากจะรู้ได้โดยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หรือมิฉะนั้นเวลาทำการผ่าซาก การทดสอบทูเบอร์คิวลินในสัตว์นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก ส่วนการตรวจจากเสมหะกระทำได้ยาก สัตว์ต่างๆ ควรทำการทดสอบวัณโรคด้วยทูเบอร์คิวลิน จากรายงานการสำรวจวัณโรคในสัตว์ต่างๆ ในประเทศไทย โดยกรมปศุสัตว์ (เชื้อ ว่องส่งสาร 2514) พบว่าสุกรเป็นสัตว์เลี้ยงที่ให้ผลบวกต่อทูเบอร์คิวลินสูงที่สุด ดังแสดงในตารางที่ 1 3.3

ในระหว่างปี พ.ศ. 2502 – 2510 สมาน พิพิธกุล ได้ทดสอบทูเบอร์คิวลิน ในโคนมจำนวน 5,034 ตัว พบว่าให้ผลบวกต่อการทดสอบ 2.7 % จากรายงานการตรวจซากสัตว์ หลังจากทำการฆ่าที่โรงฆ่าสัตว์ ปี 2516 พบว่าเป็นวัณโรคในโค กระบือ และสุกร 1.4, 2.6 และ 8.8 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ

เชาวนะ เมฆกมล (2525) รายงานการสำรวจวัณโรคในโคนมที่จังหวัดอยุธยา เชียงใหม่ ราชบุรี และสระบุรี ในระหว่างปี พ.ศ. 2518 – 2523 พบว่า มีอัตราการเป็นโรคผันแปร 0.3-3.9 เปอร์เซ็นต์ ดังแสดงในตารางที่ 13.4

นอกจากการสำรวจวัณโรคในสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ โดยกรมปศุสัตว์แล้ว สำนักงานวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ของทหารได้ทดสอบลิง 1,000 ราย ในระหว่างปี 1972-1976 พบว่าให้ผลบวกต่อวัณโรค 3 -5ราย (บุญเยี่ยม เกียรติวุฒิ และคณะ 2523) และมีรายงานพบในกวางดาว ซึ่งอยู่ในสวนสัตว์ดุสิต (เกรียงศักดิ์ สายธนู และคณะ 2 521)

จะเห็นได้ว่าวัณโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วในประเทศไทยโดยเฉพาะในโค กระบือ และสุกร นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่นำเนื้อสัตว์หรือน้ำนมจากสัตว์ไปบริโภค ดังนั้นการควบคุมเกี่ยวกับการตรวจเนื้อสัตว์และคุณภาพนํ้านมควรมีการกระทำอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันมิให้วัณโรคระบาดมาสู่คน

ปกติเด็กจะมีความไวต่อการติดเชื้อวัณโรคในสัตว์สูงมาก และเชื้อจะกระจายไปตามกระแสโลหิต อาการที่พบจะเป็นวัณโรคในอวัยวะอื่นที่นอกเหนือจากปอด มี 40 เปอร์เซ็นต์ และสวนมากติดเชื้อมาจากโค และมักพบบ่อยเป็นวัณโรคของเยื่อหุ้มสมอง เพศชายค่อนข้างมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าเพศหญิง เพราะต้องทำงานอยู่กับสัตว์ มีประชากรบางกลุ่มที่มีการเสี่ยงต่อการเป็นโรคสูง เช่นกลุ่มที่นิยมดื่มน้ำนมสัตว์โดยตรงเป็นอาหาร หรือชอบเลี้ยงโคในโรงเรือนเดียวกับบ้านที่อยู่อาศัย เช่นพวกแขก มีหลายประเทศในอาฟริกาและเอเชียนิยมดื่มน้ำนมจากสัตว์ก่อนนำมา ดื่ม ชาวชนบท Bantu ในอาฟริกาใต้ใช้เก็บน้ำนมจากสัตว์ในภาชนะที่ทำขึ้นมาและทำให้นมเปรี้ยวแล้วจึงดื่มซึ่งเป็นการทำลายเชื้อวัณโรคไปด้วย ความเชื่อบางศาสนาขัดต่อการควบคุมโรคนี้ เช่น ศาสนาของชาวอันเดียที่ห้ามมิให้ฆ่าแม่โค จึงทำให้วัณโรค ในโคมีอัตราการเป็นโรคค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามรายงานอุบัติการของวัณโรคที่เกิดจาก M. bovis ยังไม่มี ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวอินเดียนิยมดื่มน้ำนมจากสัตว์โดยผ่านการต้มก่อน

สภาพทางกายภาพของร่างกายมีส่วนชักนำทำให้การติดเชื้อวัณโรคสูง เช่นในบุคคลที่เป็นเบาหวาน โรคพิษสุราเรื้อรัง ซิลิโคซิส อายุวัยเด็กและวัยสูงอายุ เป็นต้น วัณโรคที่เกิดจากสัตว์นับว่าเป็นโรคที่เกียวกับอาชีพโดยตรง จะพบว่าเกษตรกร ชาวนา เจาของฟาร์มหรือผู้ดูแลสัตว์ มีอัตราการเป็นโรคสูง จากการสำรวจคนทำงานในฟาร์ม จำนวน 500 คน ในเยอรมันตะวันออกพบว่า 30 เปอร์เซ็นต์เป็นวัณโรค M. bovis สำหรับบุคคลที่มีอาชีพอื่นๆ มีเพียง 3.1 เปอร์เซ็นต์ (Kappler and Langwitz, 1962) นอกจากอาชีพแล้วพบว่าสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจมีอิทธิพลต่อการเป็นโรค ความยากจนทำให้ขาดอาหาร นํ้าหนักลดทำให้ความต้านทานของร่างกายตํ่าจึงติดเชื้อได้ง่าย การศึกษาน้อยทำให้ขาดความรู้เรื่องโรค การเชื่อถือโชคลาง หมอผีหรือประเพณีของกลุ่มชนบางเผ่า เป็นอุปสรรคต่อการกำจัดวัณโรค ปัญหาวัณโรคที่เกิดจาก M. bovis ในสหรัฐอเมริกา และยุโรปในสมัยก่อนนับว่าทำลายเศรษฐกิจมากโดยเฉพาะในต้นศตวรรษที่ 20 พบว่าทั้งคนและสัตว์เป็นโรคมาก แต่หลังจากนั้นมาอัตราการเป็นโรค จะลดลงเรื่อยมา จนกระทั่งปัจจุบันมีน้อยมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปรับปรุงเกี่ยวกับโรงเรือนให้ถูกสุขลักษณะและมีการทดสอบทูเบอร์คิวลินเป็นประจำ อย่างไรก็ตามมีประเทศที่ด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนาได้นำเอาวิธีการทำฟาร์มปศุสัตว์แบบทันสมัยมาใช้ก็ยังพบว่าอัตราการเป็นโรคสูงอยู่ ( Kleeburg 1975)

การติดต่อ

การติดต่อวัณโรคในสัตว์อาจเกิดได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม การติดต่อโดยการกินน้ำนมที่มีเชื้อแปดเปื้อนพบได้เสมอ แม่โคที่เป็นโรคจะปล่อยเชื้อปนออกมากับน้ำนม หรือน้ำนมที่ปราศจากเชื้ออาจแปดเปื้อนจากเชื้อเนื่องจาก droplets หรือฝุ่นละอองที่มีเชื้อภายในโรงเรือน การพาสเจอร์ไรซ์นํ้านมนับว่าเป็นประโยชน์มากต่อการควบคุมวัณโรคที่เกิดจากสัตว์ และนอกจากนี้ยังช่วยป้องกันเชื้อโรคชนิดอื่นอีก เช่นบรูเซลโลซิส และ ซาลโมเนลโลซิส เป็นต้น การพาสเจอร์ไรซ์โดยใช้เวลาอันสั้นมาก คือ เวลา 15 นาที ที่ 72 องศาเซลเซียสไม่ได้ผลเสมอไป ทั้งนี้เพราะลิ้นที่ให้นํ้านมไหลกลับในเครื่องพาสเจอร์ไรซ์ตรงส่วนที่ให้ความร้อน จะทำให้ถูกอุณหภูมิไม่ทั่วถึง ซึ่งจะให้ดีควรให้เวลา 20 – 25 นาทีประสิทธิภาพของการพาสเจอร์ไรซ์นํ้านมในโรงงานอุตสาหกรรมขึ้นอยู่กับคุณภาพของนํ้านมด้วย ถ้าน้ำนมมีเซลล์ หรือหนอง (pus) อยู่มาก หรือน้ำนมมีรสเปรี้ยว จะทำให้ประสิทธิภาพของการพาสเจอร์ไรซ์ต่ำลง การทำพาสเจอร์ไรซ์แบบสมัยเก่า คือ ใช้ 60 องศาเซลเซียส เวลา 30 นาที นับว่าให้ผลดีมาก ผลิตภัณฑ์จากน้ำนม เช่น นมเปรี้ยว บัตเตอร์มิลค์ โยเกิร์ต และเนยที่ทำจากน้ำนมที่ไม่พาสเจอร์ไรซ์พบว่าเชื้อวัณโรคจะมีชีวิตอยู่ได้ 14 วัน หลังจากที่ทำเสร็จ ส่วนในเนยอาจอยู่ได้ 100 วัน

การติดต่อโรคจากโคไปสู่โคส่วนมากจะเป็นการติดต่อจากอากาศเป็นส่วนใหญ่และวิการพบที่ปอด 70-90 เปอร์เซ็นต์ การติดต่อส่วนใหญเกิดขึ้นภายในโรงเรือนที่เลี้ยงโค ส่วนโรงรีดนํ้านมจากแมโคพบว่าการติดต่ออาจมีบ้างแต่ไม่มาก ทั้งนี้เพราะช่วงระยะเวลาที่นำมารีดนมนั้นสั้นมาก อย่างไรก็ตามบางท้องที่หรือบางฟาร์ม เลี้ยงแม่โคและรีดน้ำนมจากโรงเรือนเดียวกัน ซึ่งจะพบได้ทั่วๆ ไปในบ้านเรา ทำให้มีโอกาสที่เชื้อจะแพร่ไปติดต่อสู่โคตัวอื่นได้ง่าย คนติดเชื้อ M. bovis จากคอก เลี้ยงสัตว์สูงกว่าการติดเชื้อนี้ระหว่างคนต่อคนด้วยกัน โรงพยาบาลในอังกฤษเคยมี รายงานว่า M. bovis ทำให้เกิดวัณโรคปอด 16.4 เปอร์เซ็นต์ ในกลุ่มคนงานที่สัมผัสกับโค ส่วนบุคคลที่ไม่ได้เคยสัมผัสกับโคพบเป็นโรค 1.6เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจะเห็นว่าวัณโรคปอดที่เกิดจาก M. bovis อาจมิใช่เกิดจากการติดต่อทางอากาศอย่างเดียวแต่ อาจเกิดจากการสัมผัสได้ ( Cutbill and Lynn, 1944)

การติดต่อโรคทางอากาศเกิดขึ้นเนื่องจากสัตว์ปล่อยเชื้อปนออกมากับ droplets ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งขับถ่าย หรือน้ำลาย หรือการที่สัตว์เลอออกมา ทำให้เชื้อแขวนอยู่กับละอองเล็กๆ ในอากาศ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิไมครอน ขนาดของละอองนี้จะแขวนลอยอยูในอากาศและเข้าไปยังถุงลมได้ แต่ถ้าขนาดของละอองใหญ่อาจจะไปติดอยู่ตามทางเดินของหลอดลมทำให้เชื้อมีโอกาสที่จะกลับเข้าไปอยู่ในระบบทางเดินอาหารได้

การติดวัณโรคนอกจากโคแล้วอาจติดต่อมาจากสัตว์อื่นได้เช่น สุนัข แมว แพะ แกะ โค กระบือ อูฐ สุกร ม้า กวาง ลิง และสัตว์อื่นๆ อีก การตรวจซากสัตว์ต่างๆ ที่ตายด้วยสาเหตุอื่นหรือไม่ทราบสาเหตุมักพบว่าสัตว์มีวิการของวัณโรค ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในบ้านเรา นอกจากนี้การติดเชื้อวัณโรคอาจเกิดจากการกินเนื้อสัตว์ที่เป็นโรค

การติดต่อวัณโรคในโคซึ่งมาจาก M. tuberculosis ในคนมีน้อยมาก ปีค.ศ. 1959 ถึง 1966 มีรายงานภาวะการเป็นวัณโรคในโคที่ติดเชื้อ M. tuberculosis ในคนที่เดนมาร์ค โดยพบว่าฝูงโคจำนวน 18 ฝูง เป็น human type และ 72 ฝูงเป็น bovine type สำหรับ M. tuberculosis ที่เกิดขึ้นในโคมีความสำคัญในด้านระบาดน้อย ทั้งนี้เพราะว่าโคมีความต้านทานต่อเชื้อชนิด human type ดี เมื่อสัตว์รับเชื้อเข้าไปส่วนมากไม่ค่อยแสดงอาการออกมา และปฏิกิริยาของร่างกายสัตว์ที่มีต่อเชื้อไม่รุนแรง อย่างใรก็ตามควรที่จะต้องระมัดระวัง เพราะเชื้ออาจติดกลับไปสู่คน เพราะเคยพบว่า human type ในสัตว์ขับออกกับน้ำนมสัตว์ที่เป็นโรค

สำหรับ M. avium ซึ่งปกติทำให้เกิดวัณโรคในพวกสัตว์ปีกพบว่าติดต่อมาสู่คนน้อยมาก และเมื่อติดต่อมาสู่โคส่วนมากไม่ทำให้เกิดอันตราย

เมื่อเกิดอุบัติการของวัณโรคในโคขึ้นจะทำให้สัตว์ผลิตนํ้านมต่ำ อัตราการผสมพันธุ์ติดตํ่า สัตว์ผอมแห้ง ถ้าไม่ทำการควบคุมหรือป้องกันการกระจายของโรคที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มจะเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสัตว์ในท้องตลาดซื้อขายตกตํ่า นอกจากนี้ สัตว์ที่ส่งโรงฆ่าเพื่อส่งเนื้อหรืออวัยวะออกจำหน่ายจะต้องถูกยึดซากและทำลายสัตว์ เนื้อสัตว์ หรือผลิตภัณฑ์ของสัตว์ที่มาจากแหล่งที่มีวัณโรคระบาด มักไม่เป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ ทำให้ขาดรายได้จากการส่งออกจำหน่ายต่างประเทศปีละมากมาย การสูญเสียทางเศรษฐกิจสำหรับโรคนี้จึงนับว่าสูงมาก

การควบคุมและป้องกัน

1. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนและบุคคลที่คลุกคลีกับสัตว์ หรือบุคคลที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ โดยให้ทราบว่าวัณโรคอาจติดต่อจากคนไปสู่คน หรือจากสัตว์สู่คน หรือจากผลิตภัณฑ์สัตว์ไปสู่คน และอันตรายที่ได้รับจากโรคนี้ ตลอดจนการป้องกันตัวเองจากโรค

2. ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดโรคโดยการปฏิบัติให้ถูกหลักสุขวิทยา และการสุขาภิบาล เช่น การกินน้ำนมที่ต้ม น้ำนมควรผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ผู้ดูแลสวนสัตว์ หรือทำงานกับสัตว์ทดลองพวกลิงควรมีเครื่องป้องกันการติดเชื้อ และควรทำความสะอาดโรงเรือนสัตว์ให้ถูกตามหลักสุขาภิบาล เช่น ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือใช้รังสีฆ่าเชื้อ

3. การสร้างภูมิคุ้มกันโดยให้วัคซีน บีซีจี (BCG) ป้องกันโรคในคน

4. รักษาผู้ป่วยให้หาย

5. ควรทำการควบคุมสัตว์ที่เป็นวัณโรคหรือโคที่เป็นโรค โดยการแยกและทำลายหรือแยกมารักษา

6. ให้วัคซีนป้องกันในโคโดยให้วัคซีนบีซีจีเช่นเดียวกับคน วิธีนี้เคยใช้ในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันไม่นิยมเพราะว่าวัคซีนจะไปทำให้เกิดผลบวกต่อการทดสอบทูเบอร์คิวลิน และนอกจากนี้จะต้องฉีดเป็นประจำทุกปี

7. ให้กินยาป้องกันหรือรักษาสัตว์ที่ป่วย สำหรับการรักษาวัณโรคในสัตว์ ปกติไม่นิยมทำเพราะค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือการฆ่าและทำลายซาก

8. สัตว์ที่ฆ่าใช้เนื้อเป็นอาหารควรผ่านการตรวจเนื้อจากสัตวแพทย์

9. ผลิตภัณฑ์สัตว์ อาหารสัตว์ ควรผ่านวิธีกรรมการฆ่าเชื้อมาแล้ว

ปัญหาและแนวโน้มของโรค

วัณโรคที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกาและประเทศทางยุโรป เช่น อังกฤษ ฮอลแลนด์ เดนมาร์ค ฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ นับว่าเป็นปัญหาไม่มาก สำหรับ M. tuberculosis สวน M. bovis มีแนวโน้มลดตํ่าลงมากทั้งในคนและในสัตว์ ทั้งนี้เพราะการสุขาภิบาลเกี่ยวกัลปศุสัตว์ทันสมัยขึ้น ประชาชนมีความรับรู้และเห็นความสำคัญของโรคเพิ่มขึ้น สำหรับในประเทศไทยการสำรวจหาอัตราการติดเชื้อปัจจุบันทำในคนมาก แต่การศึกษาเกี่ยวกับการติดเชื้อเบน human type หรือ bovine type ยิงมิได้มีการทำอย่างจริงจัง การติดเชื้อวัณโรคที่พบในสัตว์นับว่าค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาสภาพการเป็นอยู่ของประชากร อาชีพ การคลุกคลีอยู่กับสัตว์เลี้ยง กอร์ปทั้งความรับรู้เกี่ยวกับโรคยังมีน้อย แนวโน้มของวัณโรคอาจจะสูงขึ้นถ้าไม่มีการควบคุมโรค นอกจากนี้การตรวจเนื้อสัตว์หรือการทำลายซากสัตว์ที่ป่วยด้วยวัณโรค ในปัจจุบันมิไดัปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ดังนั้นโอกาสที่จะเกิด M. bovis ในคนอาจมีแนวโน้มสูงขึ้น

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า