สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ลัทธิประจักษนิยม (Empiricism) มนุษย์เกิดมาพร้อมจิตที่ว่างเปล่า ความรู้เกิดจากประสบการณ์

ลัทธิประจักษนิยม เชื่อว่ามนุษย์เกิดมาพร้อมจิตที่ว่างเปล่าสะอาดบริสุทธิ์เหมือนกระดาษขาว และมาเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ อริสโตเติล (Aristotle, 384-322 ก่อนคริสตกาล) นักปรัชญาชาวกรีกเชื่อเช่นนี้ ,จอหน์ ล็อค (John Locke, 1632-1704) นักปรัชญาชาวอังกฤษ และนักปรัชญาชาวอังกฤษคนอื่น ๆ อีกหลายคนก็เชื่อเช่นนี้

เด็กเกิดมาบริสุทธิ์

ลัทธิความเชื่อที่ถือว่าความรู้ทั้งปวงเกิดจากประสบการณ์ซึ่งเป็นประจักษ์ แก่ ประสาทสัมผัส เรียกกันว่า ลัทธิประจักษนิยม (Empiricism)

ลัทธิประจักษนิยมซึ่งเชื่อว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์ มีปัญหาในการอธิบายกระบวนการเกิดความรู้ ประสบการณ์จากการสัมผัสต่าง ๆ มี ภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ต่างเป็นความรู้สึกที่แยกจากกัน ความรู้สึกเหล่านี้รวมเป็นความรู้ได้อย่างไร

คำตอบของชาวประจักษนิยม คือ ความรู้สึกต่าง ๆ เหล่านี้ สามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกันเป็นความคิด และความคิดต่าง ๆ ก็สามารถเชื่อมโยงเป็นความคิดที่ซับซ้อนขึ้น เช่น เมื่อเด็กคลานไปที่เก้าอี้ ตาเห็นเก้าอี้ มือสัมผัสเก้าอี้ ได้ยินเสียงแม่พูดว่า “เก้าอี้” ภาพของเก้าอี้ ความแข็งของเก้าอี้ และเสียง “เก้าอี้” จะเชื่อมโยงกันเป็นความคิด “เก้าอี้”

ความคิด “เก้าอี้”ต่อมาจะไปเชื่อมโยงกับความคิด “นั่ง” และความคิด “โต๊ะ” เป็นความคิดที่ซับซ้อนขึ้น

ลัทธิประจักษนิยม

ความเชื่อในกระบวนการเชื่อมโยงความรู้สึกเป็นความคิด และความคิดเป็นความคิดที่ซับซ้อนนี้ เรียกว่า ลัทธิเชื่อมโยง (Associationism) ซึ่งอริสโตเติลเป็นผู้คิดค้นขึ้น และจอห์น ล็อค นำไปเผยแพร่ต่ออย่างกว้างขวาง และได้สร้างกฏแห่งการเชื่อมโยงไว้หลายกฏ ที่สำคัญ คือ กฏแห่งความใกล้ชิด (Law of Contiguity) ที่บอกว่า ความรู้สึกที่เกิดในเวลาเดียวกัน หรือในเวลาใกล้ชิดกันจะเชื่อมโยงกัน ความคิดก็เช่นกันหากเกิดในเวลาเดียวกันหรือเวลาใกล้ชิดกันก็จะเชื่อมโยงกัน

ที่มา : มูลสารจิตวิทยา , ดร.ชัยพร วิชชาวุธ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า