สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ยาระงับประสาทและยากระตุ้นประสาท

ลักษณะและอันตรายของยาระงับประสาท

ลักษณะทั่วไปของยาระงับประสาท

ยาระงับประสาทเป็นยาที่ใช้ระงับความวิตกกังวล ผ่อนคลายความตึงเครียด ของสมอง ระงับอาการตื่นเต้นกระวนกระวาย ทำให้หลับ ยาระงับประสาทที่มีอยู่ทั่วไป ได้แก่ ยาพวกบาร์บิทูเรต ซึ่งได้แพร่หลายเข้ามาสู่วงการแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ.1903 ยาตัว แรกที่นำมาใช้ คือ “บาร์บิตาล” ซึ่งรู้จักกันในนาม “เมดินาล” ต่อมาได้มีการผลิตยา บาร์บิทูเรตออกมาหลายชนิดที่เสพกันโดยทั่วไป ได้แก่

1. เซโคบาร์บิตาล หรือ เซโคนาล เป็นผงสีขาว บรรจุอยู่ในแคปซูลสีแดง นิยมเรียกกันว่า “ไก่แดง เป็ดแดง ปีศาจแดง เหล้าแห้ง” ซึ่งสาเหตุที่เรียกว่า เหล้าแห้ง เนื่องจากทำให้เกิดอาการคล้ายเมาเหล้า

2. อะโมบาร์บิตาล เป็นที่นิยมในต่างประเทศ จะบรรจุในแคปซูลสีฟ้า นิยมเรียกกันว่า นกสีฟ้า สีฟ้า สวรรค์สีฟ้า

3. เพนโตบาร์บิตาล นิยมในต่างประเทศ เช่นเดียวกับอะโมบาร์บิตาล จะบรรจุในแคปซูลสีเหลือง นิยมเรียกกันว่า เสื้อเหลือง

ลักษณะของยาพวกบาร์บิทูเรต

ยาระงับประสาทประเภทนี้จะมีหลายแบบ ได้แก่ เป็นเม็ดกลม เม็ดแบบยาว เป็นแคปซูลสีต่าง ๆ เช่น สีแดง สีฟ้า สีเหลือง บางครั้งอาจมีสีชมพู สีเขียว ซึ่งผู้เสพ มักจะเสพด้วยวีธีกินเข้าไปเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางรายใช้วิธีฉีด

ฤทธิ์ของยาพวกบาร์บิทูเรต

ฤทธิ์ของยาประเภทนี้จะไปกดประสาทและสมอง ทำให้มีอาการง่วงเหงาหาวนอน มึนงง อาการแปรปรวน เดนโซซัดโซเซ บางครั้งอาเจียนพูดจาลากเสียงเหมือนคนดื่มสุรา เฉื่อยชา เลื่อนลอย เศร้าสร้อย กดความรู้สึกรับผิดชอบชั่วดี ทำให้เกิดความบ้าบิ่น ใจคอหงุดหงิด มีอากัปกิริยารุกราน ชอบทะเลาะวิวาท ด่าทอ กล่าวคำผรุสวาท ก้าวร้าวต่อผู้อื่นคลุ้มคลั่ง ทำในสิ่งที่คนปกฅิไมกล้าทำ กระทำผิดศีลธรรมอย่างไม่มียางอาย เช่น เปลือยเสื้อผ้าเต้นโชว์ ก่อให้เกิดความโน้มเอียงที่จะทำร้ายตนเอง เช่น ใช้มีดกรีดคอหรือท่อนแขนจนถึงฆ่าตัวตาย

อาการของผู้ติดยาระงับประสาท

1. มีอาการเหมือนคนเมาเหล้า แต่ไม่มีกลิ่นทางลมหายใจ

2. เดินโซซัดโซเซ หรือกระโผลกกระเผลก

3. หลับบ่อย ๆ

4. ขาดความเอาใจใส่ในงานที่ทำ

5. ง่วงเหงาหาวนอนเสมอ

อันตรายจากยาระงับประสาท

การใช้ยาพวกบาร์บิทูเรตมาก ๆ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ ดังนี้

1. ทำไห้เสียชีวิต

เนื่องจากยาไปกดศูนย์การหายใจ ทำให้เกิดภาวะการหายใจล้มเหลว

แล้วหยุดหายใจ

2. ทำให้ความดันโลหิตต่ำ

เนื่องจากฤทธิ์ของยาไปกดกล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อของหลอดโลหิต ทำให้ปริมาณของโลหิตที่ไหลออกลดลง ความดันโลหิตลดลง ฤทธิ์ในการกดนี้จะเพิ่มมากขึ้นตามขนาดของยาที่เสพเข้าไป ซึ่งจะทำให้ผู้เสพถึงแก่ชีวิตได้

3. ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

การใช้ขนาดของยามากเกินไปทำให้หลับ ซึ่งอาจจะมีฤทธิ์ยาตกค้างอยู่ เมื่อตื่นขึ้นฤทธิ์นี้มักจะแสดงออกมาในรูปของการทำให้มีการตัดสินใจที่ไม่ดี เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขณะขับรถหรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร

4. เป็นอันตรายต่ออวัยวะอื่น ๆ

เช่น กระเพาะอาหาร ลำไล้ ท่อปัสสาวะ มดลูก ตับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เป็นฤทธิ์ที่น้อยมากหรือเกือบไม่มีเลย

5. ทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์

ฤทธิ์ของยาจะทำให้ทารกในครรภ์มีโอกาสพิการมากกว่าธรรมดาถึง 3 เท่า โดยจะทำให้ทารกปากแหว่ง เพดานโหว่ ศีรษะเล็ก จมูกแบน แขนขาผิดปกติ ปัญญาอ่อน มีอาการเซื่องซึม

6. ทำให้เกิดอาการชัก

ถ้าขาดการเสพจะก่อให้เกิดอาการหงุดหงิด วิตกกังวล อ่อนเพลี้ย อาการจะ รุนแรงมากเป็นเหตุทำให้ชักได้

ลักษณะและอันตรายของยากระตุ้นประสาท

ลักษณะทั่วไปของยากระตุ้นประสาท

ยากระตุ้นประสาทเป็นยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้รู้สึกตื่นตัวเสมอ ขยันขันแข็ง ทำงานได้มากขึ้น ยากระตุ้นประสาทที่เสพกันมาก ได้แก่ แอมเฟตามีน ซึ่งค้นพบโดยวิธีการสังเคราะห์ เมื่อปี ค.ศ. 1927 นำมาใช้ทำยาสูดดมแก้หวัด คัดจมูก ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.1935 ได้มีการค้นพบว่า แอมเฟตามีนทำให้หลอดลมขยาย กระตุ้นการหายใจและกระตุ้นสมอง จึงนำมาใช้รักษาโรคง่วงหลับ ใช้เป็นยาลดนํ้าหนักหรือลดความอ้วน ใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลีย ผู้ป่วยโรคจิตที่มีอาการซึมเศร้า ใช้เป็นยาแก้ง่วงและใช้เป็นยาแก้พิษ สำหรับยาที่กดประสาทส่วนกลางหรือกดสมอง แอมเฟตามีน มีชื่อเรียกตามภาษาตลาดว่า ยาม้า ยาขยัน ยาโด๊ป ยาแก้ง่วง

ลักษณะของแอมเฟตามีน

แอมเฟตามีนส่วนมากมีสีขาวเป็นเม็ด ผง น้ำ หรือแคปซูล ที่ใช้กันโดยทั่วไปมี 3 ชนิด คือ d- form, I-form, dl-form ที่นิยมในห้องตลาด คือ d-form (เด็กซีดีน) กับ I-form (เบนซิดีน) ซึ่งการเสพนั้นมักจะใช้วิธีกินหรือผสมในอาหาร เครื่องดื่ม ถ้าผสมในกาแฟจะเรียก “กาแฟพิเศษ”

ฤทธิ์ของแอมเฟตามีน

ฤทธิ์ของยาประเภทนี้จะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการตื่นตัวเสมอ ไม่เกิดอาการง่วง ความคิดอ่านและอารมณ์แจ่มใสขึ้น รู้สึกสบาย มีความกล้าพูดมาก อาการเมื่อยล้าลดน้อยลงไป ขยันขันแข็ง ทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เมื่อเสพติดแล้วจะทำให้เกิดอาการหงุดหงิด อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย คลุ้มคลั่ง ประสาทแข็ง การตัดสินใจล่าช้า ประสาทหลอน มักโผงผาง เกะกะระราน ไม่อยากรับประทานอาหาร ปากแห้ง ลมหายใจเหม็น ตัวโคลงเคลง จุดตาดำเบิกกว้าง ชอบเลียริมฝีปาก ขอบถูและ เกาจมูก สูบบุหรี่จัด เป็นผลทำให้สุขภาพทรุดโทรม มีความเสื่อมโทรมทางจิตถึงขั้นเป็นโรคจิตและโรคหวาดระแวง บางรายคลั่งถึงขนาดทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น

อาการของผู้ติดยากระตุ้นประสาท

1. ทำงานเกินปกติ อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว

2. ปากและจมูกแห้ง ลมหายใจเสีย

3. แก้วตาเบิกกว้าง

4. ชอบเลียริมฝีปากบ่อย ๆ

5. ถูและขยี้จมูกบ่อย ๆ

6. สูบบุหรี่จัดมวนต่อมวน

7. อยู่ได้นาน ๆ โดยไม่ต้องกินอะไรหรือหลับนอน

8. ชอบก่อการทะเลาะวิวาท

อันตรายจากยากระตุ้นประสาท

การใช้ยากระตุ้นประสาทประเภทแอมเฟตามีนมีผลต่อร่างกายก่อให้เกิด อันตรายดังต่อไปนี้

1. ก่อให้เกิดอาการทางสมอง ได้แก่ เวียนศีรษะ ตัวสั่น ตกใจง่าย ช่างพูด นอนไม่หลับ ประสาทตึงเครียด โกรธง่าย อ่อนเพลีย เพ้อคสั่ง ประสาทหลอน กระวนกระวาย จิตสับสน ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคจิตอาจฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่นได้

2. ทำให้ความดันโลหิตสูงหรือต่ำ ผู้เสพจะมีอาการปวดศีรษะ มือเท้าซีด หน้าแดง หนาวสั่น หัวใจเต้นแรง และเต้นไม่เป็นปกติ ปวดหน้าอกด้านซ้าย บางครั้ง ทำให้เส้นโลหิตในสมองแตก หรือหัวใจวายได้

3. ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ การใช้แอมเฟตามีนนาน ๆ ทำให้เกิดอาการประสาทหลอนรู้สึกว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดติดตามหรือจะจับตัว ดังนั้น ผู้ขับรถจึงต้องขับรถเร็ว เพื่อจะหนีให้พ้นเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตหรือพิการได้ บางรายหน้ามืดขณะขับ รถก็ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นเดียวกัน

4. ทำให้เบื่ออาหาร แอมเฟตามีนจะทำให้ความรู้สึกในรสอาหารผิดไป เป็นเหตุให้เบื่ออาหาร นอกจากนี้จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ปวดท้องอย่าง รุนแรง

5. เป็นเหตุให้เป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย จากการที่ร่างกายถูกฝืนให้ทำงานหนักตลอดเวลา ทำให้สุขภาพทรุดโทรมเป็นเหตุให้ร่างกายเกิดโรคติดเชื้อได้ง่าย โรคที่ พบบ่อย ๆ ได้แก่ โรคตับอักเสบ ไตไม่ทำงาน โรคเกี่ยวกับปอด

6. เป็นหนทางนำไปสู่การใช้ยาเสพติดชนิดอื่น ๆ เนื่องจากการใช้แอมเฟ ตามีนในระยะเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการเสพติด เป็นเหตุให้นอนไม่หลับ เมื่อต้องการจะหลับจึงต้องใช้ยาเสพติดชนิดอื่นอีก เช่น บาร์บิทูเรต มอร์ฟีน เฮโรอีน

การหลีกเลี่ยงการใช้ยาระงับประสาทและยากระตุ้นประสาท

กลุ่มบุคคลที่ใช้ยาเสพติดประเภทยาระงับประสาท ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น หมู่ พาร์ตเนอร์ นักร้องผู้ทำงานกลางคืน แต่ต้องนอนกลางวัน ส่วนผู้ที่ใช้ยากระตุ้นประสาท ได้แก่ กลุ่มผู้ขับรถบรรทุก รถแท็กซี่ ผู้ใช้แรงงาน กลุ่มนักเรียนนักศึกษากลุ่มวัยรุ่น นักร้อง นักแสดง ซึ่งมีวิธีการหลีกเลี่ยงการใช้ยาประเภทนี้ ดังต่อไปนี้

1. พยายามหลีกเลี่ยงยาเสพติดทุกประเภท ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะใด ก็ตาม เช่น ลูกอม ยาแก้ง่วง ยาเม็ด แคปซูลต่าง ๆ โดยไม่ลอง ไม่ชิม ไม่เห็นแก่กัน โดยเด็ดขาด เนื่องจากยาเสพติดนั้นทำให้ติดง่ายแต่เมื่อติดแล้วเลิกยาก

2. ไม่หลงเชื่อคำยั่วยุ สั่งสอน ชักชวน ให้ทดลองสรรพคุณยาเสพติดต่าง ๆ ด้วยความคึกคะนอง

3. สังเกตอาการของตนเอง ถ้ากินยาชนิดใดชนิดหนึ่งเข้าไปแล้วยานั้นมีรสแปลก ๆ ทำให้มีอาการมึนงง คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบปรึกษาแพทย์ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง ดีกว่าจะปรึกษาเพื่อน

4. ไม่ควรใช้ยาเพื่อแก้อาการง่วง ควรแก้ด้วยวิธีธรรมชาติ เช่น อาบน้ำ ล้างหน้า เดิน บริหารร่างกาย ดื่มนมสดผลไม้ ถ้าง่วงมากก็นอนพักผ่อนไม่ควรฝืน หา ทางแก้ไขในทางถูกต้อง เช่น ดูหนังสือหรือทำงานเวลากลางวัน หัวค่ำหรือตอนรุ่งเช้า

5. ใช้วิจารณญาณในการแก้ปัญหา เผชิญกับความจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิต ถ้าแก้ปัญหาไม่ได้ก็ปรึกษาผู้ใหญ่ พ่อแม่ พี่น้อง ครู อาจารย์ ไม่ควรใช้ยาระงับประสาท เพี่อคลายความเครียดหรือปัญหาเหล่านั้น

6. เลือกคบเพื่อนที่ดี หาทางหลีกเลี่ยงเพื่อนที่ชอบชักจูงไปในทางที่

เสื่อมเสีย

  1. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้
,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า