สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด

ในระยะคลอดหากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นกับหญิงมีครรภ์ ก็อาจทำให้ได้รับอันตรายได้ หรือถึงขั้นที่ทารกต้องเสียชีวิตไปได้ เนื่องจากในสมัยก่อนทางการแพทย์ยังไม่มีเครื่องมือในการช่วยคลอด จะใช้วิธีธรรมชาติในการคลอดเท่านั้น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะคลอด
1. มดลูกหดรัดตัวผิดปกติในระยะคลอด
มดลูกหดรัดตัวน้อยกว่าปกติ
เป็นลักษณะการหดรัดตัวของมดลูกตามปกติ แต่ไม่มีความแรง ใช้เวลาในการหดรัดตัวไม่นาน และนานๆ จึงจะมีการหดรัดตัวสักครั้ง ทำให้ปากมดลูกเปิดช้ากว่าปกติ

ผลเสียต่อมารดา
-มารดาจะอ่อนเพลียเมื่อใช้เวลาในการคลอดนาน
-ภายในโพรงมดลูกเกิดการติดเชื้อรา
-ในระยะหลังคลอดอาจตกเลือดได้

ผลเสียต่อทารก
-อาจทำให้ทารกขาดออกซิเจนได้
-การติดเชื้อภายในโพรงมดลูกอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้

มดลูกหดรัดตัวมากกว่าปกติ
เป็นภาวะที่มีการหดรัดตัวของมดลูกแข็งตึงมาก และไม่มีการคลายตัวออก ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการคลอดติดขัด หรือรกลอกตัวก่อนกำหนด

ผลเสียต่อมารดา
-ทำให้เสียเลือดมากจากภาวะมดลูกแตก และอาจทำให้เสียชีวิตได้
-ตกเลือด

ผลเสียต่อทารก
-ทารกเกิดภาวะขาดออกซิเจน
-อาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้

2. เจ็บครรภ์ก่อนกำหนดคลอด
หมายถึง เมื่ออายุครรภ์ระหว่าง 28-37 สัปดาห์ ก็มีอาการเจ็บครรภ์ขึ้น ทำให้ทารกคลอดออกมาก่อนจะครบกำหนด พบว่าสิ่งที่มีอิทธิพลสำคัญในปัจจุบันคือ ก่อนตั้งครรภ์มีภาวะทุพโภชนาการ และภาวะอื่นๆ เช่น โรคเรื้อรังของมารดา มดลูกมีความผิดปกติ มารดาทำงานหนักหรือสูบบุหรี่จัด

ผลเสียต่อมารดา
-การคลอดมีภาวะเสี่ยงต่อมารดา
-ทำให้เกิดความเครียดวิตกกังวล

ผลเสียต่อทารก
-ทารกจะมีภาวะเสี่ยงมาก ถ้าคลอดออกมาก่อน 37 สัปดาห์ เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ ยังไม่สมบูรณ์

3. หญิงมีครรภ์มีหนทางคลอดผิดปกติและศีรษะทารกไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานของมารดา
แม้ทารกจะมีขนาดตัวปกติแต่ก็ทำให้คลอดออกมาได้ยากหรือคลอดไม่ได้ เนื่องจากช่องเชิงกรานของมารดาแคบเกินไป

ผลเสียต่อมารดา
-อาจเกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูก การคลอดใช้เวลานานกว่าปกติ หรือเกิดการติดขัดในการคลอด
-มีการตกเลือดหลังจากคลอด

ผลเสียต่อทารก
-เกิดภาวะขาดออกซิเจน
-เนื่องจากถุงน้ำแตกก่อนเป็นเวลานานจึงทำให้เกิดการติดเชื้อขึ้น
-เกิดภาวะเลือดออกในสมอง

สัดส่วนของศีรษะทารกไม่สอดคล้องกับช่องเชิงกรานของมารดา ทำให้คลอดออกมาไม่ได้

ผลเสียต่อมารดาและทารก
-มารดาเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลีย จากการคลอดที่ยาวนาน
-ทำให้มีโอกาสติดเชื้อง่าย เนื่องจากถุงน้ำทูนหัวแตกก่อนเวลาท
-อาจทำให้มดลูกแตก และทำให้ทารกเสียชีวิตได้

4. ทารกในครรภ์อยู่ในท่าปกติ
อาจเกิดอันตรายต่อหญิงมีครรภ์และทารกได้ หากคลอดทารกที่อยู่ในท่าก้น ท่าขวาง และอาจทำให้ทารกเสียชีวิตได้ถ้าไม่สามารถวินิจฉัยได้ก่อนที่จะคลอด

5. ภาวะฉุกเฉินในระยะคลอด
มดลูกฉีดขาด
สาเหตุการฉีดขาดหรือการแตกของผนังมดลูกที่พบบ่อยคือ ฉีกขาดจากรอยผ่าตัดที่มีอยู่เดิม หรือได้รับยากระตุ้นให้มดลูกมีการทำงาน มักทำให้มีอาการปวดท้องรุนแรง มีการแข็งตึงตลอดเวลาของมดลูก เสียงหัวใจของทารกไม่สามารถฟังได้ และทางช่องคลอดอาจมีเลือดออกมา

ผลเสียต่อมารดาและทารก
-เกิดภาวะช็อกในมารดา อาจทำให้เสียชีวิตได้ถ้าช่วยเหลือไม่ทันเวลา
-มีภาวะขาดออกซิเจนในทารกอย่างรุนแรง

ภาวะน้ำหล่อทารกไปอุดตันหลอดเลือดในปอด
ภาวะนี้มักทำให้หญิงมีครรภ์เสียชีวิตเกือบทุกราย แต่เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้น้อยมาก ซึ่งภาวะนี้มักจะเกิดขึ้นในระยะท้ายของการเปิดของปากมดลูก จนทำให้น้ำหล่อทารกรั่วเข้าไปในหลอดเลือดดำของมดลูก มักทำให้เกิดอาการหายใจลำบากอย่างกะทันหัน หอบ ตัวเขียว ปอดบวมน้ำ และหมดสติอย่างกะทันหัน

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดย: อาจารย์ศิรินันท์ ตรีมงคลทิพย์
หัวหน้าภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ(การแพทย์แผนไทยประยุกต์)
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตปทุมธานี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า