สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

นิ่วในท่อปัสสาวะ (Urethral stone)

นิ่วในท่อปัสสาวะ ส่วนมากเป็นนิ่วที่เกิดในไตหรือกระเพาะปัสสาวะ แล้วหลุดปนมากับนํ้าปัสสาวะลงมาติดต่อที่ท่อปัสสาวะ มักอุดกั้นตรงบริเวณส่วนที่ท่อปัสสาวะตีบแคบที่สุด นิ่ว อาจเกิดขึ้นเองที่ท่อปัสสาวะ แต่พบน้อยมาก ส่วนมากเกิดในรายที่กระเพาะปัสสาวะโป่งพองเป็นบางแห่งนิ่วในท่อปัสสาวะมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

พยาธิสรีรวิทยา

นิ่วที่หลุดออกมาจากไต ท่อไต หรือกระเพาะปัสสาวะ มักมีการอุดกั้นทั้งหมดทำให้มีการคั่งของนํ้าปัสสาวะอย่างเฉียบพลัน ซึ่งถ้ามีการอุดกั้นบางส่วนโดยมีการตีบแคบของท่อปัสสาวะอยู่ก่อนแล้ว ก็ยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้บ้าง เมื่อนานๆ เข้าก็มีการติดเชื้อตรงตำแหน่งที่นิ่วอุดอยู่มากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบรอบท่อไต หรือเกิดเป็นฝีรอบๆ ท่อไต จนถึงเกิดมีรอยทะลุขึ้นได้ นิ่วที่เกิดตรงตำแหน่งที่ท่อปัสสาวะโป่งพองอาจมีขนาดโตมาก ทำให้ถ่ายปัสสาวะขัดและอาจมีการติดเชื้อ มีหนอง หรือมีรอยทะลุ ทำให้มีการติดเชื้อลุกลามขึ้นไปยังส่วนบนได้อย่างรวดเร็ว

ภาวะแทรกซ้อน

1. เกิดการอักเสบรอบๆ ท่อปัสสาวะ เนื่องจากการติดเชื้อและทำให้เกิดเป็นฝีรอบๆ ท่อไต

2. เกิดแผลโดยมีรอยทะลุ ทำให้ปัสสาวะไหลออกทางช่องคลอดได้

อาการและอาการแสดง

1. ถ่ายปัสสาวะขัดบ่อยๆ หรือถ่ายปัสสาวะขัดมากทันทีทันใด ถ้ามีการติดเชื้ออาจมีไข้ หรืออาจมีหนองออกมาทางท่อปัสสาวะเป็นครั้งคราว

2. เจ็บปวดในท่อปัสสาวะ

3. ในรายที่มีรอยทะลุเกิดขึ้น จะมีนํ้าปัสสาวะไหลออกมาทางช่องคลอดตลอดเวลา

การประเมินภาวะสุขภาพ

1. การซักประวัติ จากประวัติการถ่ายปัสสาวะขัด บางครั้งอาจถ่ายไม่ออกทันทีทันใด สายนํ้าปัสสาวะอ่อนหรือเล็กลง อาการปวดในท่อปัสสาวะ และการที่มีนํ้าปัสสาวะออกมาทางช่องคลอด

2. การตรวจร่างกาย

2.1 อาจคลำได้ก้อนแข็งในท่อปัสสาวะ หรือมองเห็นนิ่วติดที่รูเปิดภายนอกของท่อปัสสาวะ

2.2 โดยใช้เครื่องมือใส่เข้าไปในท่อปัสสาวะ จะรู้สึกว่ากระทบกับก้อนนิ่ว

3. การตรวจทางรังสี ก้อนนิ่วส่วนมากทึบรังสี จากการถ่ายเอกซเรย์ธรรมดาสามารถเห็นก้อนนิ่วได้

การบำบัดรักษา

1. ถ้านิ่วติดที่ปลายเปิดของท่อปัสสาวะ ทำการผ่าเปิดท่อปัสสาวะ (External ทาeatotomy) และคีบก้อนนิ่วออกมา

2. นิ่วที่ติดตรงท่อปัสสาวะส่วนโคนอวัยวะเพศชาย (Penoscrotal Junction) อาจทำโดยผ่าเปิดท่อปัสสาวะออก แล้วใช้ปากคีบคีบออกมาเช่นเดียวกัน

3. ถ้าติดอยู่ลึกกว่าที่กล่าวแล้วหรือคีบไม่ออก อาจลองดันนิ่วกลับเข้ากระเพาะปัสสาวะ หรือฉีดเยลลี่เข้าท่อปัสสาวะ จะช่วยดันก้อนนิ่วเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ แล้วจึงทำผ่าตัดโดยวิธีขบนิ่วออก โดยใช้เครื่องมือขบนิ่วสอดเข้าทางท่อปัสสาวะหรือผ่าตัดกระเพาะปัสสาวะและเอานิ่วออก

4. ถ้าคีบก้อนนิ่วไม่ออก หรือดันไม่เข้าเพราะก้อนนิ่วอุดอยู่นาน มีไฟโบรสีสและมีการตีบแคบของท่อปัสสาวะ หรืออยู่ในส่วนที่โป่งขยายออก ก็ผ่าท่อปัสสาวะแล้วคีบออกโดยตรง (Urethrolithotomy)

5. ต้องแก้ไขการตีบแคบของท่อปัสสาวะ และรักษานิ่วในไต และกระเพาะปัสสาวะด้วย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า