สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

งูพริกและงูปล้องหวาย

งูพริกท้องแดง

Blue Long – glanded Coral Snake

Maiicola bivirgata flaviceps, Cantor

เป็นงูพิษที่มีขนาดเล็ก ขนาดลำตัวของตัวที่มีขนาดโตจะโตเท่ากับ นิ้วก้อยมือ แต่มีความยาวมาก ยาวประมาณ 1,052 ม.ม. (หัว 18 ม.ม.ตัว 810 ม.ม. หาง 224 ม.ม.) หัวเล็กมีเขี้ยวพิษในลักษณะ Proteroglypha มีต่อมพิษเป็น หลอดยาวเข้าไปถึงคอ อำนาจพิษทำลายทางระบบประสาท ชอบอาศัยอยู่ใน บริเวณที่มีความชื้นสูง และที่มีน้ำขังแฉะ ออกหากินเวลาพลบคํ่า กินเขียดเล็ก ๆ เป็นงูที่พบจำนวนไม่มาก และพบเฉพาะบางท้องที่ทางจังหวัดภาคใต้เท่านั้น เช่น ที่ทะเลน้อย จังหวัดสงขลา นอกนั้นมีในมาเลเซีย

งูพริกหัวแดง หางแดง ใต้ท้อง ใต้หางแดงตลอด ตัวนํ้าเงินดำ มีเส้นขาวข้างลำตัวยาวตลอดตัวตั้งแต่คอถึงโคนหาง

งูพริกสีน้ำตาล

Brown Long – glanded Coral Snake

Maiicola iniesiinalis intesiinalis, Laurenti

เป็นงูชนิดที่หายากมาก มีขนาดเล็กขนาดประมาณโตกว่าหลอดกาแฟเล็กน้อย ยาว 440 ม.ม. (หัว 10 ม.ม. ตัว 381 ม.ม. หาง 49 ม.ม.) ตั้งแต่รวบรวมชนิดของงูมานานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15ปี มีโอกาสได้เห็น งูชนิดนี้ในขณะที่มันยังมีชีวิตอยู่เพียง 2 ตัวเท่านั้น ทั้ง 2 ตัวชาวสวนยางจับได้ที่จังหวัดยะลา และพัทลุง

รูปลักษณะโดยทั่วไปเป็นหลอดยาว หัว คอ และตัวมีขนาดไล่เลี่ยกัน คอไม่เล็กคอดหางสั้นหัวสีนํ้าตาลส้ม ตัวเหลืองลายส้ม นํ้าตาลเข้มยาวตามตัวตั้งแต่คอจนถึงหาง หางมีขวั้นสีดำ ใต้หางสีชมพู ท้องมีลายดำเป็นข้อ ๆ ตั้งแต่คอจนถึงเกล็ดทวาร

งูพริกสีนํ้าตาลมีเขี้ยวพิษในลักษณะ Proleroglyplia ต่อมพิษอยู่ลึกเข้าไปในช่วงตัว

งูปล้องหวายแดง

Red Coral Snake

Calliophis maculiceps maculiceps,Guther

งูในสกุลงูปล้องหวาย (Calliophis) ที่มีถิ่นอาศัยในไทย เป็นกลุ่มงูพิษ ขนาดเล็กที่มีสีสวย ทุกชนิดมีขนาดประมาณเท่าหลอดกาแฟหรือดินสอดำ ขนาดธรรมดา รูปร่างและนิสัยคล้ายคลึงกัน อาศัยนอนตามใต้ใบไม้ผุ ซอกหิน ซอกไม้ผุ ออกหากินในระหว่างที่แดดอ่อน อากาศเย็น มักพบในสวนยาง และป่าทึบออกเลื้อยเวลาเย็น กินจิ้งจกและลูกจิ้งเหลน มีเขี้ยวพิษในลักษณะ Proteroglypha ทุกชนิดไม่ดุ เมื่อถูกตัวมักจะพยายามซุกหนี ไม่ส่ออากัปกิริยา ว่าจะกัด

งูปล้องหวายแดงเป็นชนิดที่พบมากที่สุด พบทุกภาคของไทย เช่น จังหวัดเชียงใหม่ อุทัยธานี ชลบุรี จันทบุรี ปัตตานี ขนาดยาวประมาณ285 ม.ม. (หัว 10 ม.ม. ตัว 230 ม.ม. หาง 45 ม.ม.) หัวสีดำพื้นตัวสีส้ม หรือน้ำตาลแดง ลายดำ (ลายดำตามตัวไม่เหมือนกันบางตัวเป็นจุดดำเล็ก ๆ บางตัวจุดใหญ่ไม่เป็นระเบียบ บางตัวลายดำขวั้นขวางตัวเป็นข้อ ๆ) โคนหางและปลายหางมีสีดำขวั้น ปลายหางขาว ท้องชมพู

งูปล้องหวายหลังเส้น

Black Line Coral Snake

Calliophis maculiceps malcolmi, nov. nom.

มีขนาดเล็กมากตัวเท่าหลอดกาแฟยาว 301 ม.ม. (หัว 7 ม.ม. ตัว 276 ม.ม. หาง 18 ม.ม.) พบในจังหวัดภาคกลาง สระบุรี ชัยนาท หัวสี เขียวคลํ้า ตัวสีเหลืองอมเขียว มีเส้นสีดำที่กลางหลังตลอดตามความยาวตั้งแต่คอ ถึงปลายหาง ปลายหางขวั้นสีดำ ท้องสีชมพูอ่อน

งูปล้องหวายหางแหวน

Ring-tailed Coral Snake

Calliophis hughi, Cochran

เคยเห็นตัวจริงเพียงตัวเดียว ได้จากนายทหารเรือท่านหนึ่ง ตีตายแล้วดองใส่ขวดเหล้ามาให้ บอกว่าได้จากการไปตั้งค่ายพักแรมที่เกาะเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในอ่าวไทย เห็นสวยและอยากรู้ว่ามีพิษหรือไม่จึงตีมาให้ (ตามรายงานเดิมของ Proc. Biol. Soc.Washington, Vol.40, 1927 พบที่เกาะเต่า)

ยาว 242 ม.ม. (หัว 8 ม.ม. ตัว 212 ม.ม. หาง 22 ม.ม.) หัวดำ ตัวสีน้ำตาลแดง โคนหางขวั้นสีดำรอบตัว ท้องสีครีมอ่อน ๆ

งูปล้องหวายเทา

Gray Coral Snake

Calliophis gracilis, Gray

มีลักษณะเรียวยาว หัว คอ ลำตัว หาง ขนาดเกือบเท่ากันหมด ยาว 346 ม.ม. (หัว 12 ม.ม. ตัว 312 ม.ม. หาง 22 ม.ม.) ตัวสีเทาอ่อน หรือนํ้าตาลเทา คอขวั้นดำ และขวั้นดำ 2 ปล้องที่หาง ตามตัวมีจุดสีดำ และมีลายเส้นสีดำขาวตามความยาวของตัว เส้นกลางหลัง เริ่มตั้งแต่หัวจนจรดปลายหาง ท้องลายดำสลับขาว ใต้หางสีชมพู

งูปล้องหวายข้อดำ

Black – banded Coral Snake

Calliophis macclellandii macclettandii, Reinhandt

เป็นงูปส้องหวายขนาดเล็ก พบในพม่าและจีนตอนใต้ในไทยคงจะมี เฉพาะทางภาคเหนือ เคยพบตัวเดียวที่เชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ (ตัวอย่างเบอร์ 33637 ของ Dr. Edwsrd H. Taylor ได้ที่ดอยสุเทพ)

งูปล้องหวายข้อดำ ยาว 240 ม.ม. (หัว 5 ม.ม. ตัว 224 ม.ม. หาง 11 ม.ม.) ปลายปากดำ หัวสีครีม ตัวสีแดง ท้องเหลือง มีลายดำเป็นวงแหวนคาดขวั้นรอบตัว ตั้งแต่คอถึงปลายหาง นับวงแหวนดำได้ 27 วง

พิษงูพริกและงูปล้องหวาย มีส่วนประกอบคล้ายงูเห่า แต่พิษอ่อนกว่า อัตราตายตากว่ามาก มักกัดตื้น ๆ จึงไม่ค่อยมีพิษ ถ้ากัดเต็มที่ทำให้เกิดอาการได้ พิษงูมีฤทธิ์ Neuroloxin คือ postsynaptic toxin ออกฤทธิ์เป็น neuromuscular blockade ทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อหายใจและกล้ามเนื้อ ส่วนอื่น ผู้ป่วยตายด้วยการหายใจวาย

อาการและอาการแสดง

อาการเฉพาะที่ ไม่ค่อยปวด ไม่บวม หรือบวมเล็กน้อย อาการและอาการแสดงทั่วไป ประมาณ 4 ช.ม.ขึ้น ไปหลังถูกกัด หนังตาตก ง่วงนอน ตาพร่า นํ้าลายสอ กลืนไม่ลง พูดไม่ชัด กลืนลำบาก ชา หายใจลำบากถ้าอาการรุนแรงมากตายด้วยหัวใจวาย

การรักษา ไม่มีเซรุ่มเฉพาะ ถ้ารุนแรงมาก อาจทดลองใช้เซรุ่ม

แก้พิษงูเห่า

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า