สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

งูทะเล

อยู่ในวงศ์ Hydrophiidae อาศัยอยู่ในทะเล ส่วนใหญ่จะใช้ชีวิตในนํ้า ทะเลตลอดเวลา มีเพียงบางชนิดที่เลื้อยขึ้นบกเป็นบางครั้ง เพื่อการวางไข่ เช่น งูสมิงทะเล หรือ Amphibious Sea Snake (Laticauda colubnna) สำหรับงูกิน ปลาบางชนิดที่อาศัยตามชายเลนและป่านํ้ากร่อย อาศัยตามร่องนํ้า นํ้าตื้น เลนเปียก ไม่นับเป็นงูทะเล เช่น งูปากกว้างนํ้าเค็ม (Cerberus rhyn- chops)

งูทะเลที่มีอยู่ในน่านนํ้าทะเลไทย ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย ชนิดเดียวเท่านั้นที่ไม่มีพิษ คือ งูผ้าขี้ริ้ว (Acrochodus granulatus) ซึ่งเป็นงูในสกุลเดียวกับงูงวงช้าง (Acrochodus javanicusj ที่อาศัยในนํ้าจืดตามแม่นํ้าลำคลอง รูปลักษณะคล้ายคลึงกันผิดกันที่มีขนาดเล็กกว่ามาก และมีลายสีน้ำเงินเทา ปลายหางเรียวแหลม เป็นงูทะเลชนิดเดียวที่หางแหลม นอกนั้นงูทะเลทุกชนิดจะมีหางแบนเป็นพาย เพราะต้องว่ายนํ้าแทนการเลื้อยตลอดเวลา และงูทะเลหางแบนเหล่านั้นมีพิษทุกชนิด

งูทะเลส่วนมากจะมีลายเป็นปล้องสีเข้มสลับอ่อน มักเป็นสีดำ เทา นํ้าเงิน และนํ้าตาล ปล้องสีก็มักจะคาดรอบตัว อาศัยทั้งทะเลโคลนและทะเลนํ้าใส แต่จะปรากฏชุกชุมบริเวณทะเลโคลนชายฝั่งมากกว่า โดยเฉพาะทะเลที่มีปะการัง งูทะเลเกือบทั้งหมดออกลูกเป็นตัว เว้นแต่งูสมิงทะเลเท่านั้นที่วางไข่ ปกติงูทะเลมักไม่ดุ อันตรายอันจะเกิดได้ก็พวกชาวประมงไปถูกหรือเหยียบ เข้าในเมื่องูติดอวนพร้อมกับปลาขึ้นมาบนเรือหรือในบางฤดูกาล เช่น ในฤดูฝน งูทะเลมักจะมีชุกชุมตามปากแม่นํ้าที่ติดทะเล และในบางเวลานํ้าทะเล หนุน งูทะเลก็จะตามนํ้าเข้ามาตามลำนํ้ากร่อย

ความจริงงูทะเลหลายชนิดมีอำนาจพิษแรงกว่างูบก มีเขี้ยวพิษในลักษณะ Proteroglypha อย่างไรก็ตามงูทะเลหลายชนิดที่มีพิษแรงแต่ก็มีต่อมพิษเล็กมาก ปริมาณนํ้าพิษน้อย เช่น งูชายธงท้องบาง (Praecutata viperina) งูแสมรังหัวเข็ม (Microcephalophis gracilis) เป็นต้น

งูทะเลเป็นงูที่มีมากชนิดและมีแยกออกเป็นชนิดย่อยมาก ลำบากในการเข้าใจและพิสูจน์ทราบชนิด เช่น ในสกุลงูแสมรัง (Hydrophis) พบหลายชนิดแต่ละชนิดมีความแตกต่างน้อยมาก ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่สนใจเป็นพิเศษ มีตัวอย่างหลายชนิดมาตรวจเทียบ ย่อมจะไขว้เขวได้ พึงระลึกว่างูแสมรัง ทุกชนิดเป็นงูพิษที่ควรระวัง

งูทะเลพิษที่พบในน่านนํ้าทะเลไทย มีดังนี้

Family Hydrophiiae

Subfamily Laticaudinae

–  งูสมิงทะเล (Laticauda laticauda, Linnacus)

–  งูสมิงทะเลปากเหลือง (Laticauda colubrina, Schneider)

–  งูชายธงนวล (Aipysurus eydouxii, Gray)

Subfamily Hydrophiinae

–  งูชายธงข้าวหลามตัด (Kerilia jerdonii, Gray)

–  งูชายธงข้าวหลามตัดไทย (Kerilia jerdonii siamensis, H. Smith)

–  งูทากลาย (Astrotia stokesii, Gray)

–  งูกะรังหัวโต (Kolpophis aืnnandalei, Laidlaw)

–  งูชายธงท้องบาง (Praecutata viperina, Schmidt)

–  งูคออ่อนท้องขาว (Enhydrina schistosa, Daudin)

–  งูทากลายท้องขาว (Acalyptophis peronii, Dumeril)

–  งูเสมียนรังหัวสั้น (Thalassophis anomalus, Schmidt)

–  งูเสมียนรังหัวเข็ม (Microcephalophis gracilis, Shaw)

–  งูชายธงหลังดำ (Pelamis platurus, Linnaeus)

–  งูอ้ายงั่ว (Lapemis hardwickii, Gray)

–  งูแสมรังเหลือง (Hydrophis cyanocinctus, Daudin)

–  งูแสมรังหัวเล็ก (Hydrophis ornatus, Gray)

–  งูแสมรังหลังเยื้อง (Hydrophis caerulescens, Shaw)

–  งูแสมรังเทา (Hydrophis lorquatus aagaardi, M. Smith)

–  งูแสมรังเทาท้องขาว (Hydrophis torquatus diadema, Gunther)

–  งูฝักมะรุม (Hydrophis klossi, Boulenger)

–  งูแสมรังปล้อง (Hydrophis fasciatus atriceps, M. Smith)

–  งูแสมรังท้องเหลือง – ขาว (Hydrophis brookei,Gunther)

–  งูแสมรังคอยาว (Hydrophis mamillaris, Daudin)

–  งูแสมรังสปิราลิส (Hydrophis spiralis, Shaw)

พิษงูทะเล

มีฤทธิ์เป็น myotoxin มีสีเหลืองอ่อน ต่างกับพิษงูอย่างอื่น ซึ่งมีสีเหลืองแก่ ประกอบด้วย Lecithinase, Anticoagulase, Hyaluronidase, paralyzing factor และอื่น ๆ ที่เคยกล่าวมาแล้ว เชื่อว่าพิษงูทะเลออกฤทธิ์ที่ cell membrane ของ skeletal muscle และอาจมีฤทธิ์ direct nephrotoxic effect ต่อไต ทำให้เกิด muscular paresis หรือ paralysis, myoglobinuria และไตวาย พิษงูทะเล เป็น poor antigen เมื่อฉีดเข้าสัตว์ เพื่อทำให้สัตว์เกิดภูมิต้านทานเกิด neutra lizing antibody ได้ยากและ antibody เกิดช้า ฉะนั้นถ้าจะทำเซรุ่ม จำต้องใช้ปริมาณน้ำพิษมาก งูจำนวนมาก ในบ้านเราจึงไม่มีเซรุ่มแก้พิษงูทะเล งูตัวหนึ่งให้พิษแห้ง 1 – 50 ม.ก. โดยทั่วไปให้พิษ 10-20 ม.ก.

จากการศึกษาของ Reid พบว่าร้อยละ 68 ของผู้ป่วยถูกงูทะเล กัดไม่มีพิษ ร้อยละ 22 มีพิษรุนแรงแต่อัตราตายตํ่า

อาการและอาการแสดง

อาการเฉพาะที่ เมื่อถูกกัดจะรู้สึกเจ็บเล็กน้อยคล้ายมีอะไรแทงหรือโดนเข็ม ตอนถูกกัดเท่านั้น ต่อมาไม่รู้สึกเจ็บ ไม่บวม ไม่ปวด ไม่มี เลือดออกหรือออกซิบ ๆ เห็นรอยเขี้ยวไม่ค่อยชัด ถ้าดึงงูที่กัดออกจะเห็นเป็น ขีดทางยาว 2 – 3 ม.ม.

อาการทั่วไป รู้สึกปวดตามกล้ามเนื้อทั่วไป และตามข้อเกิดได้ ตั้งแต่ครึ่งชั่วโมงหลังถูกกัดถึงหลายวัน ปวดตามขา กล้ามเนื้อ ไหล่ คอ แขน หัวเข่า ขา และกระจายทั่วไป อาจคอแข็ง รู้สึกเมื่อยคอ อ้าปากไม่ได้เต็มที่ ปวดขา ปวดน่องมาก อาการปวดทวีมากขึ้นจนเดินไม่ได้ มีอัมพาตเกิดได้ ใน 2 ชั่วโมงหลังถูกกัดขึ้นไป อุจจาระ ปัสสาวะได้ บางรายนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก กระสับกระส่าย ตามัว มีอัมพาตของcranial nerve ต่อมา ปัสสาวะมีสีแดงหรือแดงคลํ้า ปัสสาวะออกน้อย สีน้ำตาลแก่ หรือสีโคคาโคล่า ปัสสาวะไม่ออก ถึงแก่กรรมด้วย hyperkalemia, respiratory failure และ renal failure ภายใน 24 ชั่วโมงหลังถูกกัด หรือหลังจากนั้น

การตรวจร่างกาย

บริเวณถูกกัด อาจเห็นรอยเขี้ยวเล็ก ๆ 2 รอย หรือเป็นรอยขีด (ถ้าผู้ป่วยดึงงูที่กัดติดออก) 2 รอยห่างกันมากน้อยแล้วแต่ขนาดของงู ไม่บวม ไม่มีเลือดออก บางรายมองไม่เห็นรอยเขี้ยว

อาการแสดงทั่วไป อาจพบ ptosis, paresis ของกล้ามเนื้อขา แขนและที่อื่น ๆ ถูกต้องกล้ามเนื้อรู้สึกเจ็บ muscular paresis มีมากที่ proximal- group มากกว่า distal group บางรายยังกระดิกนิ้วมือนิ้วเท้า งอเข่าได้ deep tendon reflex มีน้อยหรือไม่มี sensation ดี พูดได้ กลืนอาหารได้ อ้าปากได้ไม่ เต็มที่ พบ paresis ของ cranial nerve 3, 5, 6 ถ้าอาการมากจะพบอัมพาตของกล้ามเนื้อ เอี้ยวคอไม่ได้ ขากรรไกรแข็งเหลือกตาไปเต็มที่ไม่ได้ สติดีจนถึงระยะสุดท้ายที่มี respiratory failure

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ระบบเลือด ไม่พบซีด เม็ดเลือดขาวสูงเกิน 10,000/ม.ม.³

neutrophil สูง

ปัสสาวะ มีสีน้ำตาล มี albumin, myoglobinuria, rbc, rbc cast, granular cast, acid reaction

EKG มี peaked T wave แสดง Hyperkalemia

การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี

serum potassium สูง

BUN creatinine สูง

Electromyogram มี low voltage

Skeletal muscle biopsy พบ hyaline necrosis มี degeneration ของ mus­cle firbres with loss of striation

Kidney ไตบวม มี granular, myoglobin cast ใน tubule มี leakage ของ plasma และ rbc ออกมาจาก congested glomeruli ด้วย

มี Distal tubular necrosis มี extensive necrosis ของ epithelium และ loop of Henle, second convoluted tubule และ collecting tubule พบ des quamated cell with granular amorphous debis form cast อยู่ใน Lumen ของ distal และ collecting tubules

Interstitial tissue บวม

ตับ no specific change พบแต่ centrilobular degeneration with round or mixed cell infiltration of the portal area

การรักษา ไม่มีเซรุ่มเฉพาะพิษงูทะเล สตีรอยด์ ให้ผลดีมาก เช่นในผู้ใหญ่ให้ เพร็ดนิโซโลน 30 – 40 – 60 ม.ก./ วัน จนกว่าผู้ป่วยสบายขึ้น โดยทั่วไปภายหลัง 24 – 48 ชั่วโมง จะรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่เป็นอัมพาตมีแรงขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวเองได้ และดีขึ้นเป็นลำดับ ปัสสาวะเปลี่ยนจากสีแดง ดำ เป็นสีเหลือง

ถ้าผู้ป่วยปัสสาวะไม่ออก มีอาการของไตวายทำ Dialysis หยุดหายใจใช้ Artificial respiration กลืนอาหารไม่ได้ให้ทางหลอดเลือด ทางสายยางทางปาก อย่างอื่น ๆ เหมือนกับหลักการรักษางูพิษ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า