สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การแพร่กระจายโดยทั่วไปของโรค

การแพร่กระจายโดยทั่วไปของโรค หมายถึงการที่เชื้อโรคเคลื่อนที่จากแหล่งที่อยู่ไปสู่คนสัตว์ หรือสิ่งของอื่นๆ แล้วทำให้เกิดโรค การแพร่กระจายของเชื้อโรคมี 2 ทางดังนี้

1. การแพร่เชื้อโรคโดยทางตรง (Direct transmission)

หมายถึง การที่เชื้อโรคแพร่จากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งโดยไม่มีสื่อกลางหรือพาหะเป็นตัวนำไป เซ่น การสัมผัสหรือได้รับเชื้อจากน้ำมูก น้ำลาย หนอง น้ำเหลือง หรือสะเก็ดแผลของผู้ป่วย นอกจากนี้ ยังมีการรับเชื้อโดยตรง จากการได้รับเลือดซึ่งมีโรคติดต่อบางอย่างอยู่ในเลือด เซ่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี เป็นต้น

การแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยทางตรง อาจแบ่งได้ดังนี้

1.1 การสัมผัสหรือได้รับเชื้อจากนํ้ามูก นํ้าลาย จากการไอ จาม พูดจากับผู้ป่วย และ เชื้อโรคนั้นสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยตรง

1.2 การสัมผัสกับแหล่งของโรค เช่น การร่วมประเวณีกับผู้ป่วยที่เป็นกามโรค เซ่นหนองใน ซิฟิลิส หรือโรคเอดส์ โรคไวรัสดับอักเสบชนิด B เป็นต้น

 

 2. การแพร่เชื้อโดยทางอ้อม (Indirect transmission)

หมายถึง การที่เชื้อโรค แพร่จากแหล่งหนึ่งไปสู่อีกแหล่งหนึ่งโดยมีสื่อกลาง หรือพาหะเป็นตัวนำ ซึ่งไม่ใช่เป็นการติดต่อ กันโดยตรงระหว่างผู้ป่วยกับคนปกติหรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เซ่น เชื้อโรคอาจปะปนอยู่ในน้ำ อาหาร เสื้อผ้าและของใช้ต่างๆ เมื่อเราดื่มน้ำ กินอาหาร และใช้ของเหล่านี้ เชื้อโรคก็เช้าสู่ร่างกายได้ หรืออาจได้รับเชื้อจากสัตว์นำโรค เช่น ยุง แมลงวัน เป็นต้น

การแพร่กระจายของเชื้อโรคโดยทางอ้อม จำเป็นต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 ตัวเชื้อโรคต้องสามารถดำรงชีวิตอยู่นอกร่างกายในชั่วระยะเวลาหนึ่ง

2.2 จะต้องมีตัวพาหะ (Vehicle) ซึ่งเป็นตัวนำเชื้อโรค จากแหล่งหรือจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า