สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การเจริญเติบโตของเด็ก

พัฒนาการของลูก
การเจริญเติบโตของเด็กอาจแบ่งเป็นการเจริญเติบโต (Growth) และการพัฒนาการ (Development) การเติบโต (Growth) หมายถึง การเพิ่มจำนวนและขนาดของเซลล์และ matrix สามารถวัคได้ การเติบโตของร่างกายหัวไปวัดจากน้ำหนัก, ความสูง ความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง การเติบโตอาจแบ่งตามอวัยวะต่างๆ ที่มีการเจริญเติบโต เช่น การเติบโตของฟัน ของกระดูก ของอวัยวะเพศ เป็นต้น

การเจริญหรือพัฒนาการ (Development) หมายถึงการเจริญทางด้านการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญคือ การทำงานของสมอง ซึ่งแสดงออกมาเป็นพฤติกรรม ในด้านต่างๆ รวมถึงสภาวะทางอารมณ์ จิตใจ และสังคม

ความสำคัญของการเจริญและการเติบโตในเด็กอยู่ที่ว่าวัยเด็กเป็นวัยที่ยังมีการเจริญเติบโต เราสามารถส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตเต็มศักยภาพของกรรมพันธุ์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์เต็มที่ มีอุปสรรคหลายอย่างที่สามารถทำลายหรือหยุดชะงักการเจริญเติบโตของเด็ก เช่น การได้รับอาหารไม่เพียงพอ โรคภัยไข้เจ็บ ความไม่รู้ของพ่อแม่ การละเลยทอดทิ้ง การขาดการกระตุ้นการพัฒนาการ ความสนใจทีจะขจัดองค์ประกอบเหล่านี้ในเด็กแต่ละคนที่มาที่คลินิกผู้ป่วยนอก และคลินิกเด็กดี จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มตามศักยภาพ

การวัดความเจริญเติบโตในเด็กแต่ละคนว่าปกติหรือไม่ ทำได้โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ปกติที่คัดมาจากเด็กปกติในกลุ่มอายุเดียวกัน เกณฑ์ปกติที่คัดมาลงในที่นี้เป็นเกณฑ์ที่ใช้บ่อย สำหรับรายละเอียดของการวัคความเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆ จะหาอ่านได้จากตำราทางกุมารเวชศาสตร์

การเติบโต
การเติบโตของร่างกายทั่วไป
น้ำหนักโดยเฉลี่ยในเด็กปกติ

แรกเกิด        3 กก.
5-6 เดือน    6 กก. (2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)
1 ปี                9 กก. (3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)
2 ½  ปี        12 กก. (4 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)
4 ปี               15 กก. (5 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)
7 ปี               21 กก. (7 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)
10 ปี            30 กก. (10 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด)

เด็กอายุ 3 เดือนแรก มีน้ำหนักเพิ่มเดือนละ 1 กก. หลังจากนั้นจะเพิ่มเดือนละ ½  กก. เมื่ออายุเกิน 2 ปีจะมีน้ำหนักเพิ่มประมาณปีละ 2 กก.

ความยาวหรือส่วนสูงโดยเฉลี่ยในเด็กปกติ
แรกเกิด    50 ซม.
3 เดือน    60 ซม.
1 ปี           75 ซม.
2 ปี           87.5 ซม.
4 ปี          100 ซม.

เด็กเมื่อโตเต็มที่จะสูงเป็น 2 เท่าของความสูงที่วัดได้เมื่ออายุ 2 ปี

นอกจากการดูน้ำหนัก และส่วนสูงที่จุดใดจุดหนึ่งของอายุว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่แล้ว การติดตามดูอัตราการเพิ่มน้ำหนักและส่วนสูง โดยการดูกราฟแสดงการเติบโต (Growth curve) จะช่วยให้แพทย์ตัดสินใจที่จะทำการวินิจฉัยหาสาเหตุ และขจัดสาเหตุที่ขัดขวางการเติบโตได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ ที่เริ่มมีความผิดปกติของการเติบโต กราฟแสดงการเติบโตที่ใช้ในประเทศไทยในเด็กแรกเกิด – 72 เดือน เป็นกราฟแสดงความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหารในระดับต่างๆ ตาม Gomez classification ส่วนกราฟสำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปแสดงเป็น percentile ดังกราฟที่แสดงไว้

การเติบโตของศีรษะ
ขนาดเส้นรอบศีรษะและทรวงอกโดยเฉลี่ยในเด็กปกติ

 

เส้นรอบศีรษะ

เส้นรอบอก

แรกเกิด 35 ซม. 33 ซม.
3 เดือน 40 ซม. 40 ซม.
9 เดือน 45 ซม.. 45 ซม.
4 ปี 50 ซม. 52 ซม..

การขึ้นของฟันน้ำนมของเด็ก โดยทั่วไปจะขึ้นตามลำดับดังนี้

ฟันหน้าซี่ใน 2 ซี่ล่าง (lower central incisor)               อายุ 6 – 8    เดือน
ฟันหน้า 4 ซี่บน (upper central and lateral incisor) อายุ 8-12เดือน
ฟันหน้าซี่นอก 2 ซี่ล่าง (lower lateral incisor)             อายุ 12 – 16    เดือน
ฟันเขี้ยว 4 ซี่ (cuspid)                                                          อายุ 16 – 20    เดือน

ฟันกราม 4 ซี่ (1st, 2nd molar)                                          อายุ 20 – 30    เดือน

ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุดเมื่อประมาณ 6 ปี ฟันแท้ 2 ซี่(แรก ( central incisor) ขึ้นอายุ 6-8 ปี

การเจริญและพัฒนาการ
พัฒนาการทางสมอง (Mental development)
การพิจารณาพัฒนาการทางสมองของเด็กทำได้โดยดูพฤติกรรมในด้านต่างๆ ตามที่ Gesell แบ่งไว้จะแบ่งออกเป็นพฤติกรรมใน 4 ด้านคือ Motor behavior, Adaptive behavior, Language, Personal-social behavior ในแต่ละด้านของพฤติกรรมจะมีรายละเอียดตามอายุอีกมาก นอกจากวิธีของ Gesell แล้ว อาจตรวจพัฒนาการทางสมองโดยวิธีอื่น เช่น Denver Developmental Screening Test และอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดจะหาอ่านได้จากตำราทางกุมารเวชศาสตร์ ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะ developmental milestone ซึ่งเป็นการตรวจพัฒนาการทางสมองอย่างคร่าวๆ ใช้เป็นการ screening ในการตรวจเด็กที่คลินิกผู้ป่วยนอกหรือคลินิกเด็กสุขภาพดี ดังนี้

อายุ           Developmental milestone
แรกเกิด     ฉายไฟที่ตาตากระพริบได้ มี Moro reflex
1 เดือน     จ้องหน้าแม่ได้
2 เดือน     ยิ้มตอบเมื่อเล่นด้วย ได้ยินเสียงพูดด้วยจะสนใจ
3 เดือน     ชันคอได้ มองตามแสงได้ มองตามของเล่น 180º อ้อแอ้
4 เดือน     ยิ้มให้ก่อนเมื่อเห็นแม่ หัวเราะดัง หันตามเสียง เล่นมือตนเอง
5 เดือน     คว้าของเล่นได้, คว่ำได้เมื่อจับนอนหงาย
6 เดือน     จับของอยู่จะถ่ายมือไปอีกมือหนึ่งได้ แปลกคนแปลกหน้า ยกเท้ามาดูด
7 เดือน     นั่งได้ หันตามเสียงกระดิ่งและมองจับจุดที่มาของเสียงได้ เล่นกับกระจก
8 เดือน     ให้จับราว จะยืนเกาะได้
9 เดือน     จ๋าจ๊ะ เรียกชื่อจะหัน คลาน
10 เดือน   โหนตัวยืนได้ จับเศษขนมเล็กๆ ที่พื้นด้วยนิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มือ เรียกแม่อย่างรู้ความหมาย
11 เดือน    ยื่นของเล่นให้ แต่เมื่อรับไว้จะไม่ปล่อยมือ ให้จับราวไว้ทั้งสองมือจะเดินได้ ยืน
12 เดือน    ช่วยยกยาหรือสอดแขนในเสื้อผ้าเวลาแต่งตัวให้ ขอของเล่นจะยื่นให้ ถ้าแย่งของจะดึงไว้ไม่ยอมให้
15 เดือน    เดินเตาะแตะ ชี้ของที่ต้องการได้
18 เดือน    หัดนั่งโถได้ จับเชือกลากของเล่นได้ นั่งเก้าอี้เตี้ยๆ ได้ ปีนบันได
2 ปี             วิ่งได้ดี พูดได้สองคำต่อกัน ไม่ถ่ายอุจจาระรด ขีดเส้นตามแนวนอน บอกส่วนต่างๆ ของร่างกาย
3 ปี             ขี่จักรยานสามล้อ ขึ้นบันไดสลับเท้า นับถึง 3 พูดเป็นประโยคยาวๆ บอกเพศของตนเองได้ ไม่ถ่ายปัสสาวะรดกลางคืน เล่นกับเพื่อนแต่ต่างคนต่างเล่น
4 ปี            โยนบอลล์ข้ามศีรษะได้ ล้างหน้าแปรงฟันเองได้ ก้าวโดดขาเดียว เขียนกากะบาด บอกความแตกต่างของความยาวสั้น นับถึง 4 เล่านิทาน เล่นกับเพื่อนรวมกลุ่มได้
5 ปี            นับได้ถ้วนถึง 10 ยืนขาเดียวได้นานๆ รู้จักสีถูกต้อง 4 สี วาดสามเหลี่ยม วาดรูปคนครบส่วน ใส่เสื้อถอดเสื้อเอง

health-0019

 

health-0020

health-0021

health-0022

health-0023

health-0024

ที่มา:พันธ์ทิพย์  สงวนเชื้อ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า