สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การนวดตามเส้นสุขุมัง

ทางเดินของเส้นสุขุมังตามแผนนวดฉบับหลวง รัชกาลที่ 5
เอ็นเส้นหนึ่งชื่อว่า นันทกะหวัด นั้น ออกมาแต่นาภี แล้วไปเกี่ยวเอาปากกระเพาะทวารคูธ ทวารมูตร นั้นแล

ทางเดินของเส้นสุขุมังตามตำราโรคนิทานคำฉันท์ 11
เส้นนี้แล่นออกมา             แต่นาภีใต้สูญงาม
ตลอดตรงไม่เข็ดขาม       เปนลึงคะชาติมุตมัก

ทางเดินของเส้นสุขุมังสรุปได้ดังนี้
เริ่มจากตำแหน่งใต้สะดือลงมา 2 นิ้วมือ และเยื้องเล็กน้อยไปทางด้านซ้าย แล้วไปยังทวารหนัก

ลมประจำเส้นสุขุมัง(นันทกะหวัด), (กังขุง) และการเกิดโรค
ไม่ระบุชื่อลม เกิดจากการกินอาหารที่มัน อาการมักกำเริบขึ้นในวันอาทิตย์ ทำให้ตึงทวาร ปวดท้องมาก กินอาหารได้น้อย อุจจาระติดขัด

วิธีแก้ลมประจำเส้นสุขุมัง
ให้กดนวดเส้นที่บริเวณท้องน้อยให้เสียวไปถึงทวารจนฝีเย็บเผยออก ทำให้เกิดการเบ่งอุจจาระ ในตำมีกล่าวไว้ว่า ถ้าจะฝึกนวดให้ชำนาญก็ต้องมีอาจารย์คอยจับมือกดถึงจะรู้

ส่วนใหญ่เส้นสุขุมังจะเกี่ยวกับระบบขับถ่ายอุจจาระ ซึ่งอยู่บริเวณทวารหนัก ฝีเย็บ ส่วนอาการที่อาจสืบเนื่องกันแบบอื่นๆ เช่น ประสาทวากัส ควบคุมการอาเจียน สะอึก สะอื้น การทำงานของกระบังลม การหอบเหนื่อย และอาจจะเกี่ยวข้องกับไต หรือหัวใจในกรณีที่มีอาการบวมเกิดขึ้น

เส้นสุขุมังนี้จะกำหนดจุดนวดตามแนวของแผนนวดเดิม ประกอบกับความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์บ้าง แต่หมอนวดยังมีประสบการณ์หลากหลายที่ไม่ตรงกัน ในการปฐมพยาบาลขั้นต้นน่าจะมีประโยชน์สำหรับตำแหน่งแก้สะอึก สะอื้น และอาเจียน ในความถูกต้องชัดเจนนั้นจึงควรมีการศึกษากันต่อไป

แนวจุดกดด้านหน้าตามเส้นสุขุมัง

จุดนวด ตำแหน่งจุดบนร่างกาย
แก้ไอเพื่อเสมหะ กึ่งกลางลำคอด้านหน้า
แก้ลมทำให้หอบ บริเวณหน้าอกแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน
แก้ลมให้อาเจียน บริเวณหน้าอกแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน
แก้ลมทำให้เหนื่อย บริเวณหน้าอกแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน
แก้มือบวม ใต้กล้ามเนื้อลูกหนู
แก้ลมสะอึก บริเวณหน้าท้อง
แก้ลมทำให้สะอื้น บริเวณหน้าท้อง
แก้ลมให้ปวดอุจจาระ บริเวณหน้าท้อง
แก้ลมกองอุจจาระธาตุ บริเวณหน้าท้อง
แก้อาโปกำเริบ บริเวณหน้าท้อง
แก้บวมเข่าเพื่อลม ตรงท้องน้อย
แก้ลมเมื่อยเบื้องต่ำ หน้าต้นขา
แก้ลมบวมเท้า บริเวณข้อพับเข่า
แก้ลมให้ลงท้อง บริเวณเท้าแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้แน่ชัด
แก้ลมเท้าเย็น ใต้ตาตุ่มด้านใน
แก้ลมกองอติสาร บริเวณเท้าแต่ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้แน่ชัด

แนวจุดกดด้านหลังตามเส้นสุขุมัง

จุดนวด ตำแหน่งจุดบนร่างกาย
แก้ลมหายใจคลั่ง บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ลมให้เหนื่อย บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ลมให้เรอ บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ลมสะอึก บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ลมให้หอบ บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ราก บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้ลงโลหิต บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงอก
แก้โสภะโรค ไม่สามารถอธิบายได้
แก้มูกเลือด บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงเอว
แก้ปวดเป็นบิด บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงเอว
แก้อุจจาระธาตุพิการ บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงเอว
แก้ลงอติสารโรค บริเวณแนวข้างกระดูกสันหลังช่วงเอว
แก้บาทเท้าทั้งสอง โคนขาด้านใน
แก้บวมอติสาร โคนขาด้านใน
แก้ลมคูถทวารติ่ง บริเวณขาท่อนล่างแต่ไม่สามารถอธิบายจุดได้แน่ชัด
แก้ปวดท้องสุขุมัง บริเวณขาท่อนล่างแต่ไม่สามารถอธิบายจุดได้แน่ชัด
แก้กระหายน้ำ บริเวณเท้าแต่ไม่สามารถอธิบายจุดได้แน่ชัด
แก้ร้อนเกินกำหนด บริเวณเท้าแต่ไม่สามารถอธิบายจุดได้แน่ชัด

ที่มา:จากหนังสือวิทยาศาสตร์ในการแพทย์แผนไทย
โดย: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มุกดา ตันชัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ
อาจารย์อภิชาต ลิมติยะโยธิน
อาจารย์พิเศษสถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า