สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นตาและการทำงาน

ดวงตา

ความสำคัญของดวงตาต่อชีวิตมนุษย์นั้นมีมากมาย การสูญ เสียสายตาไปจึงมีความหมายต่อการดำรงอยู่ของชีวิตเป็นอย่างมาก การเปลี่ยนแปลงหรือโรคทางตาก็เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ คือมี

1. ชนิดที่เราทราบสาเหตุและรักษาได้ เช่น เยื่อตาอักเสบจากเชื้อริดสีดวง

2. ชนิดที่เราทราบสาเหตุแต่รักษาไม่ได้ผล เช่น การเปลี่ยน แปลงหรือการฝ่อตัวของประสาทและจอตา เนื่องจากกินของมี พิษ เช่น แอลกอฮอล์ชนิดผสมทาแชลก

3. ชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุแต่พอจะควบคุมหรือแก้ไขให้ดีขึ้น ได้มาก เช่น ต้อหิน ซึ่งถ้ารักษาในระยะแรกๆ จะช่วยเหลือถนอม สายตาได้เป็นอย่างมาก

4. ชนิดร้ายที่สุดคือไม่รู้สาเหตุ รักษาก็ไม่ได้ผล ได้แก่พวก มะเร็งชนิดร้ายแรงทั้งหลาย เกิดแล้วลุกลามเร็ว

ฉะนั้นทุกคนต้องยอมรับความจริงอันนี้ไว้ก่อน เพื่อที่จะได้ เข้าใจ เตรียมใจไว้เผชิญต่อโรคภัยไข้เจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวของท่านได้

ส่วนประกอบของตาแบ่งได้ตามหน้าที่ของมันคือ

1. ส่วนที่ช่วยเหลือเกี่ยวกับการเห็น หรือทำหน้าที่เป็นเกราะ คอยกำบังอันตรายที่เกิดขึ้น เช่น คิ้ว กระดูกที่ประกอบเป็นเบ้าตา หนังตา ขนตา กล้ามเนื้อตา

2. ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเห็นโดยตรง เช่น แก้วตา กระจก ตา วุ้นในตา จอตา และประสาทตา

รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนต่างๆ รวมทั้งชื่อทางการแพทย์ที่ใช้เสมอๆ

คิ้ว (Eyebrow) มีหน้าที่กันไม่ให้เหงื่อหรือวัสดุสกปรก เช่น รังแค ตกหรือไหลเข้าตา

ขนตา (Eyelashes or Cilia) ทำหน้าที่เป็นตะแกรงอีกชั้น หนึ่งที่คอยกั้นไม่ให้ของแปลกปลอมตกเข้ามาใส่ตา ส่วนใหญ่เราคิดไปว่าขนตานั้นเป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับความงามเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วมันมีหน้าที่ดังกล่าว ขนตาจะมีอายุประมาณ 3-5 เดือน แล้วก็จะร่วงหลุดไป มีอันใหม่มาแทนที่ เป็นเช่นนั้นตลอดไปชั่วอายุคนเรา ขนตานั้นเมื่อมีอายุมากขึ้นจะเปลี่ยนสี (หงอก) ได้เช่นเดียวกัน แต่เท่าที่มีผู้สังเกตมามันจะเปลี่ยนช้ากว่าผมบนศีรษะมาก

ที่บริเวณโคนขนตา จะมีต่อมขับสารช่วยหล่อลื่นตา หรือเป็น อาหารของตาหลายต่อม ต่อมเหล่านี้ถ้ามีการอุดตันก็จะทำให้เกิดกุ้งยิงได้ นอกจากต่อมต่างๆ เหล่านี้ก็ยังมีเส้นประสาทเกี่ยวกับการรับความรู้สึกอยู่มากมาย จึงทำให้บ่ริเวณขนตาไวต่อการกระตุ้นมาก เมื่อมีอะไรมาถูกเพียงเล็กน้อย ตาจะกะพริบทันที เป็นการช่วยป้องกันตาจากกัยต่างๆ ได้อย่างดียิ่ง

เปลือกตาหรือหนังตา (Eyelid)

ประกอบด้วยเปลือกตาบนและเปลือกตาล่าง เปลือกตาบน เป็นส่วนที่เคลื่อนไหวได้มากกว่า ประกอบด้วยผิวหนัง กล้ามเนื้อ ปิดตา และกล้ามเนื้อเปิดตา ผิวหนังบริเวณเปลือกตานี้เป็นผิวหนังที่ละเอียดอ่อนและบางที่สุดในร่างกาย เพราะใต้ผิวหนังไม่มีไขมัน เมื่อมีนํ้าหรือเลือดคงอยู่ก็จะทำให้บวมตึง เห็นได้ชัดเจน เช่นคนถูกแมลงกัดต่อยบริเวณหนังตาจะบวมโตขึ้น โรคบางอย่าง ที่มีการบวมนํ้าในร่างกาย เช่น โรคไต ก็ทำให้หนังตาบวมได้

รูป 1

ต่อมนํ้าตาและท่อระบายนํ้าตา (Lacrymal gland and duct)

น้ำตาของคนเราในเวลาปกติจะถูกขับออกมาโดยต่อมนํ้าตา ซึ่งอยู่ที่เยื่อบุตาและอยู่บริเวณใต้เปลือกตา เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์

ของกระจกตาอยู่ตลอดเวลา นํ้าตาที่เกิดขึ้นนี้จะเคลื่อนตัวมาทางหัวตา แล้วไหลลงรูนํ้าตา มาออกทางท่อนํ้าตาและเข้าสู่ถุงนํ้าตา แล้วจึงลงไปยังท่ออีกอันหนึ่ง แต่ถ้ามากกว่านี้ เช่น เมื่อมีอารมณ์เศร้าโศก ตื่นเต้น ถูกแสงไฟแรงๆ ควันไฟหรือมีสิ่งระคายเคืองต่อเยื่อบุตา จะมีนํ้าตาขับออกมาจากต่อมนํ้าตาอันใหญ่ที่อยู่ใต้เปลือกตาชิดกับเบ้าตาด้านนอก นํ้าตาเหล่านี้จะมีจำนวนมากเกินกว่าที่ระบบถ่ายเทเดิมจะรับไหว จึงเกิดการท่วมเอ่อ หยดออกมานอกตาเป็นสภาวะที่เราเรียกว่า ร้องไห้ หรือนํ้าตาไหล

รูป 2

เบ้าตา (Orbit)

ประกอบด้วยกระดูกหลายชิ้น เช่น กระดูกที่เป็นส่วนของ กะโหลกศีรษะด้านหน้า กระดูกด้านข้างของจมูก และกระดูกรอบๆ โพรงจมูก มีลักษณะคล้ายรูปกรวย ทางก้นกรวยจะมีช่องรูติดต่อ กับอวัยวะภายในสมอง เป็นทางเดินของประสาทจากตาไปสมอง เป็นทางติดต่อกันระหว่างเส้นเลือดแดงและดำ ฉะนั้น จึงเห็นว่าโรคต่างๆ หลายอย่างของสมองจึงมาแสดงออกได้ทางตา เช่น โรคความดันเลือดสูงมีการเปลี่ยนแปลงในสมองและจะมีการเปลี่ยนแปลงของเส้นเลือดที่จอภาพเรตินา ในสมัยก่อนผู้ใหญ่จะห้ามแกะสิวบริเวณจมูกชิดกับตา เพราะเชื้อโรคจะผ่านเข้าไปตามช่องต่างๆ เหล่านี้สู่สมองได้ นอกจากภายในเบ้าตานี้จะมีลูกตาแล้วก็ยังมีไขมัน และกล้ามเนื้อที่เกาะอยู่กับลูกตา เส้นประสาทเส้นเลือดและอวัยวะต่างๆ นี้จะลอยตัวอยู่ในเบ้าตา โดยมีเส้นเอ็นยึดไว้กับด้านในของโครงกระดูกเบ้าตา ซึ่งนอกจากจะยึดแล้วก็มีไขมันล้อมรอบลูกตา (รูป 3) ให้ตาเคลื่อนไปมาได้สะดวก

รูป 3

กระดูกเบ้าตาแข็งแรงมาก ยากที่จะเกิดการแตกหักจึงเป็นเกราะกำบังที่ดีที่สุดสำหรับตัวลูกตา

เยื่อบุตา

มีลักษณะเป็นแผ่นเยื่อบางๆ มีเส้นเลือดวิ่งไปมาอยู่ทั่วไป โรคตาแดงส่วนใหญ่เกิดกับเนื้อเยื่อนี้ ปกติตรงหัวตาเยื่อบุจะหนาตัวขึ้น ลักษณะเป็นตุ่มๆ ในสัตว์บางประเภทเช่นกบจะเป็น ตำแหน่งที่เป็นเปลือกตาอันที่ 3 (ดังรูป 1) บางคนคิดว่าเป็นโรคเนื้องอกเพราะบางครั้งบวมนูนกว่าปกติได้มาก เยื่อบุตานี้จะคลุมด้านหน้าของลูกตา และใต้เปลือกตาทั้งหมด ยกเว้นแก้วตา

ลักษณะทั่วๆ ไปคล้ายเยื่อที่บุอยู่ในปากหรือจมูก ฉะนั้นจึงมีโรคหลายอย่างที่เป็นพร้อมๆ กันขึ้นได้ เช่น แพ้อากาศ คัดจมูก นํ้ามูกไหล ตาก็คัน นํ้าตาไหลเป็นต้น ภายใต้เยื่อบุตาจะมีสายใยบุหลวมๆ อยู่ทั่วไป ฉะนั้น เมื่อมีนํ้ามาขังหรือเลือดออกจะบวมง่ายและกระจายไปได้กว้าง

หน้าที่ของเยื่อบุตา จะทำหน้าที่เป็นคล้ายผนังภายในอาคารกรุเปลือกตาด้านในและส่วนนอกของตาขาว เวลาหลับตา กะพริบตา จะไม่ฝืดเคลื่อนไหวได้ง่าย อีกทั้งภายในเยื่อบุตานี้มีต่อมขับเมือก และนํ้าตาอยู่หลายอันทำหน้าที่หล่อลื่นและทำให้กระจกตาดำเป็นผิวเรียบ ช่วยในการเห็นและเชื่อว่าเป็นอาหารของกระจกตาดำด้วย เซลล์ที่บุเยื่อตานี้ก็มีความสามารถจับกินของแปลกปลอม หรือเชื้อโรคต่างๆ ได้ ฉะนั้นถ้าเชื้อโรคไม่รุนแรงจริงโรคมักจะไม่เกิด

กระจกตาดำ (Cornea)

เป็นส่วนที่เราเรียกว่าตาดำ เป็นส่วนของร่างกายที่แปลกกว่า

รูป 4

ส่วนอื่นทั้งหมด เพราะมีลักษณะใส มีความโค้งสม่ำเสมอ การจัด เรียงตัวของเซลล์และเยื่อต่างๆ เป็นไปอย่างมีระเบียบเรียบร้อย มาก อีกทั้งเป็นส่วนที่ไม่มีเส้นเลือดเข้ามาเลี้ยงเลย จึงทำให้มีลักษณะใสแสงผ่านได้สะดวก หน้าที่ของแก้วตาดำคือจะทำหน้าที่คล้ายเลนส์นูนหักเหแสงร่วมกับแก้วตา (เลนส์) ให้แสงหรือภาพตกลงบนจอ ทำให้เรามองเห็นได้ นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของลูกตาที่ทำให้มีรูปร่างและทรงตัวไว้ได้ (ดูรูป 4) ถ้ามี ของแหลมคมตัดทะลุแก้วตาดำนํ้าในลูกตาจะไหลออก ตาจะยุบหรือแฟบลงไปได้

ตาขาว (Sclera)

เป็นส่วนที่เป็นผนังหุ้มลูกตาไว้ทั้งหมด ยกเว้นกระจกตาดำ ซึ่งอยู่ทางด้านหน้ามีลักษณะส่วนประกอบคล้ายกับกระจกตาดำ มาก แต่การเรียงตัวของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ไม่เป็นระเบียบมี ช่องทางให้เส้นประสาทและเส้นเลือดผ่านจากข้างนอกเข้ามา และจากข้างในลูกตาออกไป (รูป 4) จึงทำให้ส่วนตาขาวนี้ทึบแสง ที่เราเห็นเป็นตาขาวนั้น ที่จริงยังมีเยื่อบุตาหุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งทางด้านหน้าดังกล่าวมาแล้ว ฉะนั้นเมื่อมีการอักเสบของเยื่อบุตาจะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงบริเวณนี้มากขึ้น ทำให้มองเห็นบริเวณตาขาวมีสี แดงเรื่อ ซึ่งก็คืออาการตาแดงทางด้านหลังของตาขาวจะเชื่อมติด อยู่กับส่วนที่หุ้มประสาทตา ซึ่งเชื่อมต่อกันไปเป็นเยื่อที่หุ้มสมองทั้งหมด (รูป 4) นํ้าจากใต้เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลังจะไหลวนเวียนมาถึงใต้เยื่อหุ้มประสาทตานี้ด้วย ดังนั้น เมื่อมีการผิดปกติในสมอง เช่นความดันของนํ้าไขสันหลังขึ้นสูง หรือมีเลือดออกจะมีอาการแสดงที่ตาเป็นอาการขั้วประสาทบวม (papilledema) หรือ เลือดออกที่จอภาพเรตินา

มานตาดำ

ม่านตาดำเป็นส่วนที่อยู่ภายในตา ประกอบด้วยเส้นเลือดและเม็ดสีมากมาย จึงทำให้ดูเป็นสีคลํ้า ในคนเชื้อชาติมองโกเลียน คือ พวกคนไทย จีน ญี่ปุ่น หรือพวกที่อยู่ทางเอเชียทั้งหลาย เม็ดสีจะมีอยู่หนาแน่นมาก เมื่อมองผ่านกระจกตาจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้นั้นมีตาสีดำหรือนํ้าตาล ส่วนพวกคอเคเชี่ยนหรือที่เรียกว่า ฝรั่งทั้งหลายจะมีเม็ดสีน้อย ถ้าน้อยมากก็เป็นพวกตาสีฟ้า ถ้าน้อยพอประมาณ อาจเป็นสีเทาหรือเขียว สีของม่านตานี้จะมีมากน้อยขึ้นกับสีของผิวหนังทั่วไป ผู้ที่มีผิวขาวมักจะมีสีของม่านตาอ่อนกว่าผู้ที่มีผิวดำ

ม่านตาดำด้านหน้าจะมีรูม่านตา (pupil) (รูป 1) เพื่อให้

แสงรอดผ่าน รูม่านตานี้จะมีขนาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้ามีแสงมากจะหดเล็ก ถ้าอยู่ในที่มืดจะขยายกว้างออกเพื่อให้จำนวนแสงผ่านเข้าไปยังจอตามีขนาดพอเหมาะ ขนาดรูม่านตานี้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงตามแสงสว่างแล้ว ยังเปลี่ยนแปลงได้เนื่องจากโรคบางอย่างของระบบประสาท เช่น ซิฟิลิสขึ้นสมอง ที่มีพยาธิสภาพในสมอง จะทำให้รูม่านตามีขนาดและการทำงานผิดไป การตกเลือดในสมอง เนื้องอกในสมองทำให้รูม่านตาสองข้างไม่เท่ากัน

ทางด้านหลังม่านตาจะเป็นส่วนที่อยู่ชิดกับจอตา เป็นส่วนที่มีเส้นเลือดอยู่มาก จึงทำหน้าที่นำอาหารและของเสียจากจอตาออกหรือเข้ามาจากเส้นเลือดใหญ่ๆ ต่อไป ตรงกลางจะเป็นตำแหน่งที่ยึดเกาะของเส้นโยงจากแก้วตา (Ciliary body) ส่วนนี้จะมีกล้ามเนื้อยืดหด ทำให้เส้นขึงมายังแก้วตาหย่อนหรือตึงตัวแก้วตาจะเปลี่ยนรูปร่าง หนาหรือแบนได้ วิธีการอันนี้คือการโฟกัสหรือการจัดระยะแสงให้ตกลงบนจอตาพอดี บริเวณแห่งเดียวกันนี้ (รูป4) จะเป็นที่ผลิตสารนํ้าภายในลูกตา ซึ่งถ้าผลิตน้อยลง เช่น เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น สารนํ้าในตาจะถูกผลิตออกมาไม่ได้ ตาก็จะยุบตัวลง ตรงกันข้ามถ้าผลิตมากไป หรือไหลออกไปได้ยากสารนํ้าก็จะคงอยู่ภายในตา ทำให้ความดันสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นสภาวะที่เรียกว่า “ต้อหิน”

แก้วตา (Lens)

อยู่ภายในลูกตา มีลักษณะเป็นเลนส์นูน แต่ความโค้งทาง ด้านหน้าและด้านหลังไม่เท่ากัน ตรงขอบเลนส์จะมีสายโยงไปติด กับซิเลียรีบอดีดังกล่าวข้างต้น (รูป 4) ทำให้ดูคล้ายกับว่า แก้วตา ถูกยึดให้ลอยอยู่ในสารนํ้า ตัวแก้วตาเองจะไม่แข็งตายตัวเหมือน แว่นขยายทั่วๆ ไป แต่จะอ้วนขึ้นหรือแบนลงได้ตามที่กล่าวมาแล้ว

ลักษณะของแก้วตานี้จะใสมากเช่นเดียวกับกระจกตา ที่แปลกคือมันจะมีเซลล์ที่สร้างตัวแก้วตานี้อยู่เฉพาะตอนหน้าๆ และได้อาหารจากสารน้ำภายในลูกตา ฉะนั้นถ้าสารนํ้าภายในลูกตามีส่วนประกอบผิดปกติ ก็กระทบกระเทือนถึงแก้วตาด้วย ถ้าเซลล์ที่สร้างตัวแก้วตาสร้างไม่ได้ดีเยื่อหุ้มแก้วตาก็ผิดไปด้วย เกิดการขุ่นมัวคือเกิดต้อกระจกนั้นเอง ที่น่าสนใจคือ แก้วตานี้เจริญเติบโตไม่มีวันสิ้นสุด ตั้งแต่อยู่ในท้องจนกระทั่งผู้นั้นตายไปเนื้อแก้วตาที่เกิดขึ้นใหม่จะอยู่รอบนอก ผลักของเก่าแน่นเข้าไปตรงกลางเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไปคล้ายๆ กับต้นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ๆ ถ้าเราตัดดูจะเห็นวงปีต่างๆ ได้ ฉะนั้นถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในระยะใดระยะหนึ่งของการเติบโตนี้ เราอาจจะคะเนได้ว่ามันเกิดขึ้นเมื่อไร เช่นเกิดเห็นรอยมัวๆ บริเวณริมๆ แก้วตา ก็แสดงว่าการผิดปกติเพิ่งจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ เนื่องจากการเจริญแบบนี้ตัวแก้วตาจะถูกอัดแน่นให้แข็งตัวขึ้นเรื่อยๆ การเปลี่ยนรูปร่างยืดหยุ่นก็ค่อย ๆ หมดไป ทำให้การโฟกัสหรือจัดระยะให้ภาพตกบนจอตาผิดพลาด หรือทำไม่ค่อยได้เกิดสภาวะที่เรียกว่า “สายตาคนมีอายุ”

จอตา (Retina) และประสาทตา (Optic Nerve)

ในกระบวนความสำคัญของส่วนของตา ไม่มีอะไรเกินไปกว่า จอตาและประสาทตา คงจะได้ยินคำพังเพยที่ว่าของที่เรารัก และหวงแหนมากที่สุดนั้นเทียบได้กับแก้วตา แต่แท้จริงแล้วแก้วตา ส่องแววออกมาทำให้นึกว่าแก้วตานั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เรามองเห็น ที่จริงก็เป็นความจริงแต่ถ้ามีการเสียหายเกิดขึ้น เราสามารถลอก เอาออกผ่อนหนักเป็นเบาด้วยวิธีหลายๆ อย่าง ทำให้เราเห็นขึ้นมา ได้อีก แต้ถ้าประสาทหรือจอตามีอันตรายเสียหายลงไปยากนักที่จะแก้ไขให้ฟื้นขึ้นมาได้ เพราะจอตาและประสาทตาทำหน้าที่เหมือนฟิล์มถ่ายรูป ถึงแม้จะมีเลนส์ถ่ายภาพที่ดีเท่าไรระบบการเปิดปิดอย่างดีวิเศษแค่ไหน ถ้าฟิล์มหมดอายุหรือมีรอยขูดขีดเสียหายหลายแห่ง ภาพที่ถ่ายมาจะไม่มีวันดีไปได้ จอตาและประสาทตาตามการเจริญเติบโตและการจัดรูปร่างของตัวมันนั้นเทียบได้กับระบบต่างๆ ในสมอง เนื้อเยื่อของสมองนั้นไม่เหมือนกับเส้นประสาทหรืออวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย ประการแรกมันต้องการออกซิเจนสูงมากในการดำรงชีวิต ถ้าขาดออกซิเจนไม่นานจะหยุดทำงานทันที และถ้าปล่อยทิ้งไว้ต่อไปเนื้อเยื่อต่างๆ จะหยุดทำงาน ลองถึงขั้นนี้แล้ว สมองจะไม่มีทางกลับมาดีเหมือนเก่าได้ และนอกจากขาดออกซิเจนแล้วเชื้อโรคที่ปล่อยพิษหรือกินสารมีพิษต่อสมองเข้าไป ส่วนที่มีพิษนั้นจะทำลายเนื้อสมองเสียหายลงไป โดยไม่มีทางกลับคืนมาอย่างเก่าอีกได้เช่นกัน ไม่เหมือนกับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงตามแขน ขา ถึงถูกตัดให้ขาด หรือถูกเชื้อโรคทำลายบ้างก็กลับมาสู่รูปเดิมได้ ดังนั้นโรคอะไรก็ตามที่เกิดกับจอตาหรือประสาทตา จนกระทั่งมีการเสียหายอย่างหนักแล้ว ไม่มีทางซ่อมแซมให้กลับดีดังเก่าได้อีกเลย

จอตานี้จะกรุภายในลูกตาเกือบทั้งหมด(ยกเว้นประมาณหนึ่งในสามของลูกตาด้านหน้า) ด้วยเยื่อบางมีลักษณะใส แต่ภายในเยื่อบางๆ นี้จะมีเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมกันได้ถึงสิบชั้น แต่ละชั้นจะมีสายโยงติดต่อกันตลอดและจากชั้นของจอตานี้จะส่งสายไปรวมกันที่ประสาทตา เซลล์แต่ละเซลล์ของจอตาเปรียบเป็นโทรศัพท์แต่ละเครื่องที่ส่งสายไปรวมกันที่ชุมสายโทรศัพท์ คือประสาทตา ฉะนั้นประสาทตาจึงเป็นส่วนที่สำคัญมาก การเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยจะทำให้การทำงานของจอตาเสียไปได้หลายแห่ง จากประสาทตาสายจะส่งไปถึงสมองเป็นจุดสุดท้ายที่ทำให้เราเกิดความรู้สึกใน “การมองเห็น”

แต่ละจุดภายในประสาทตาจะทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าแสงจากทิศทางต่างๆ ไม่เข้ามาตรงๆ ก็จะทำให้เราเห็นได้ เป็นความกว้างของการเห็นเรียกว่า “ลานสายตา” ฉะนั้นเราจะ สังเกตเห็นว่า เมื่อเรามองไปตรงๆ เราก็ยังเห็นการเคลื่อนไหวหรือ แสงต่างๆ รอบๆ ตัวเราได้ ลานสายตานี้เป็นเครื่องแสดงการทำ งานของจอประสาทตาได้อย่างดี ตัวอย่างเช่นคนเป็นต้อหิน จอตา ถูกทำลายไปลานสายตาจะแคบลงไปมาก

ในส่วนต่างๆ ของจอตา ตรงกลางคือส่วนที่อยู่ลึกที่สุด จะเว้าลงไปเล็กน้อย เราเรียกส่วนนี้ว่า “แมคคูล่าหรือจุดเหลือง” (maaila or yellow spot) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะส่วนนี้เป็น ส่วนที่มีเซลล์รับภาพหนาแน่น จึงเป็นส่วนที่เราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ได้ละเอียดละออที่สุด ฉะนั้นถ้าส่วนนี้ถูกทำลายเสียหายไป เราก็ยังเห็นอยู่แต่จะไม่ชัดไม่ละเอียดพอ เช่นคนสูงอายุที่จอตาเสื่อม จะมองไม่ชัด แต่ตาจะไม่บอด

กล้ามเนื้อกลอกตา

ทั้งหมดมี 6 มัด ด้านหนึ่งจะติดอยู่ใกล้ๆ ประสาทตาด้าน หลัง แล้วจะวกมาเกาะกับลูกตาทางด้านหน้า (รูป 5) กล้ามเนื้อตานี้จะถูกควบคุมโดยประสาทที่มาจากสมองทำให้ตาเคลื่อนไหวได้ เกือบทุกทิศทางจากการทำงานร่วมระหว่างประสาทจากสมองและตัวกล้ามเนื้อที่เป็นไปอย่างละเอียดและเที่ยงตรง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตานี้ จะมีความสัมพันธ์กันระหว่างตา 2 ข้าง คือจะเคลื่อนไปในทิศทางต่างๆ ที่สัมพันธ์กันตลอด ถ้ากล้ามเนื้ออันหนึ่งอันใดเสียไป ความสัมพันธ์ของการเคลื่อนไหวหรือตำแหน่งของลูกตาทั้งสองข้างจะไม่ไปด้วยกัน ทำให้เกิดสภาวะที่เราเรียกว่า ตาเข ตาเอก ตาส่อน ทั้งหลาย

จะเห็นได้ว่าการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา ถูกควบคุมโดย ใกล้ชิดจากประสาทที่มาจากสมอง ถ้าเกิดการผิดปกติภายในสมองที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ควบคุมประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อตาเหล่านี้ เราจะสังเกตการผิดปกตินั้นได้โดยดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อตา ดังนั้นนอกจากการเปลี่ยนแปลงที่จอตา ประสาทตา รูม่านตา การเคลื่อนไหวของตาก็ยังใช้บอกถึงการเปลี่ยนแปลงภายในสมองได้

สารนํ้าภายในลูกตา

สารน้ำภายในลูกตานั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ

1. สารนํ้าที่อยู่ในส่วนหน้า

2. น้ำวุ้นที่อยู่ในส่วนหลัง

สารนํ้าที่อยู่ในช่องส่วนหน้านั้น มีลักษณะไม่เหนียวมากไหล ไปมาได้สะดวก ถูกผลิตออกมาจากส่วนที่เรียกว่าซิเลียรีบอดี ซึ่งการผลิตนี้จะมีอยู่ตลอดเวลา ไหลออกทางรูม่านตามาอยู่หลัง กระจกตา (รูป 4) แล้วจึงไปผ่านรูตะแกรงที่มุมตา เข้าสู่ระบบ หมุนเวียนของเลือดดำ การผลิตและการถ่ายเทนี้ต้องได้สัดส่วน กันจึงจะทำให้ตามีความดันทรงรูปร่างอยู่ได้ ถ้าผลิตน้อยหรือผลิตออกมาปกติ แต่ไหลออกไปเร็วก็ทำให้ตาแฟบลง ถ้าผลิตออกมาปกติแต่ไหลออกไม่ได้หรือออกได้น้อย ความดันภายในจะเพิ่ม มากขึ้นสภาพเช่นนี้ในตาเราเรียกว่า “ต้อหิน”

ส่วนสารนํ้าที่อยู่ในช่องหลัง มีลักษณะเหมือนวุ้น คือตั้งทิ้งไว้ จะไม่ไหลไปทันที แต่จะคงรูปร่างอยู่ระยะหนึ่ง แล้วจึงเปลี่ยนเป็น

นํ้าทีหลัง มันจะทำหน้าที่เป็นคล้ายฟูกนุ่มๆ อยู่ภายหลังตาทำให้ตามีรูปร่างทรงตัวอยู่ได้ ทางด้านหน้าจะชิดอยู่กับแก้วตา ที่เหลือจะชิดอยู่กับประสาทและจอตา (รูป 4) เนื่องจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับจอตาและประสาทตานี้การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติระหว่างความสัมพันธ์ของนํ้าวุ้นในตา จอตาและประสาทตา จึงทำให้เกิดโรคขึ้นได้ เช่นน้ำวุ้นตาเสื่อมลงไปจับตัวกับจอตา ต่อมานํ้าวุ้นนี้เปลี่ยนตัวเป็นสายใยคล้ายพังผืด หดตัวทำให้จอตาฉีกขาดได้

สรุปการทำงานของตา

แบ่งออกได้เป็น

1. เกี่ยวกับการเห็น เมื่อมีแสงจากวัตถุมากระทบตาดำก็จะ เกิดการหักเหครั้งแรก เมื่อแสงผ่านต่อมาถึงแก้วตาจะมีการหักเหครั้งที่สอง การหักเหครั้งนี้สามารถปรับได้ แสงจะผ่านต่อไปยังจอตา เกิดปฏิกิริยาทางเคมีจากแรงกระตุ้นผ่านไปตามเส้นประสาท ไปยังขั้วประสาทตา ผ่านต่อไปยังประสาทตา จนถึงสมองส่วนหลัง จะเกิดความรู้สึกขึ้นตามรูปแผนผังดังนี้

2. ช่วยการเห็นให้ดีขึ้น ได้แก่การกลอกตา จับภาพที่ต้องการ เห็นชัด ถ้าแสงมากไปก็จะมีการหรี่ของหนังตา และการหดตัว ของรูม่านตา

3. การป้องกันตัวเอง โดยการปิดตา กะพริบตา การหันหน้า หนี การขับนํ้าตาออกมาชะล้าง

สรุปความสามารถของตา

ความสามารถของตานั้นไม่ใช่แต่เพียงแต่เห็นอย่างเดียว ที่จริงในการเห็นนั้นเราอาจจะแยกความหมายของการเห็นออกไป ได้อีก

1. การเห็นรูปร่าง

2. การเห็นแสงสว่าง บอกได้ว่ากลางวัน กลางคืน แสงสว่าง มากน้อย

3. การเคลื่อนไหวของวัตถุ

4. การเห็นสี

5. ความกว้างของการเห็น

6. ความลึก คือบอกมิติที่สามได้ อันนี้เป็นคุณสมบัติที่เยี่ยม มาก เพราะต้องใช้สองตาที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งที่สัตว์ ทั่วไปส่วนใหญ่ไม่มีถึงแม้จะมีสองตาก็ตาม

7. ความสามารถในการป้องกันตัวเอง

ศ.นพ. จรีเมธ กาญจนารัณย์

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า