สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

โรคแต่ละชนิดมีการติดต่อเข้าสู่ร่างกายคนไม่เหมือนกันและแม้จะเป็นเชื้อโรคชนิดเดียวกัน แต่เมื่อเข้าสู่ร่างกายคนละทาง ก็จะเกิดผลแตกต่างกัน วิธีที่เชื้อโรคจะติดต่อเข้าสู่ร่างกายคนนั้น อาจเป็นได้ 6 ทางด้วยกัน คือ

1. ทางระบบทางเดินหายใจหรือทางอากาศ (Airborne Infection)

นับเป็นการติดต่อหรือแพร่กระจายของโรคที่สำคัญที่สุด เชื้อโรคหลายชนิดล่องลอยอยู่ทั่วไปในอากาศหรือปะปนอยู่กับฝุ่นละอองเช่นเชื้อโรคจากผู้ป่วยที่ไอจามหรือบ้วนเสมหะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อสู่อากาศ เมื่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียงหรือคนทั่วไปหายใจเอาเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จึงทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ วัณโรคปอด ปอดบวม คอตีบ หัด หัดเยอรมัน เป็นด้น

 

 2. ทางระบบทางเดินอาหารหรือทางอาหาร (Food-borne Infection)

เชื้อโรคบางชนิดอาศัยอยู่ในอาหารและน้ำจึงสามารถเข้าสู่ร่างกายทางปากจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำดื่มนมที่มีเชื้อโรคหรือพิษของเชื้อโรคปะปนอยู่ ก่อให้เกิดโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารได้ เซ่น บิด ไทฟอยด์ ไข้รากสาดน้อย อุจจาระร่วง อหิวาตกโรค เป็นต้น

การติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรค อาจเนื่องมาจากมีเชื้อโรคอยู่ในอาหารนั้นอยู่แล้ว หรือเกิดการติดเชื้อจากการบรรจุ การขนส่ง การปรุง การเสิร์ฟ การจำหน่าย ฯลฯ นอกจากนี้ ภาชนะหรือข้าวของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เซ่น เครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร อาจติดเชื้อและสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคสู่ผู้อื่นได้เช่นเดียวกัน เมื่อมีการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือเมื่อผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระที่มีเชื้อโรคลงพื้นดินและมีแมลงวันมาตอมแล้วไปตอมอาหาร เชื้อโรคก็สามารถ แพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นทางระบบทางเดินอาหารได้

 

 3. ทางผิวหนัง (per-cutaneous Infection)

ปกติผิวหนังของคนเราทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายแต่เชื้อโรคบางชนิดสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังได้ด้วยวิธีการดังนี้

3.1 โดยการสัมผัส เช่น โรคเรื้อน โรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน เป็นต้น

3.2 เข้าทางบาดแผลหรือรอยขีดข่วน เช่น เชื้อบาดทะยัก เชื้อแบคทีเรียอื่นๆ เป็นต้น

3.3 ถูกสัตว์หรือแมลงกัด เซ่น ยุง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายชนิดเข้าสู่ร่างกาย เช่น ไข้ มาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้เหลือง เป็นต้น

3.4 โดยการไชผ่านทางผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย เช่น พยาธิปากขอ เป็นต้น

3.5 จากการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่เป็นโรค หรือรับเลือดจากผู้ที่มีเชื้อในเลือด เช่น โรคเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ B เป็นต้น

 

4. ทางเยื่อบุต่างๆ    

เชื้อโรคบางชนิดเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุต่างๆ เช่น เยื่อบุตา เยื่อบุปาก ทั้งมีบาดแผลหรือไม่มีบาดแผลก็ได้ เช่น เชื้อราในช่องปาก เชื้อไวรัสทีทำให้เกิดโรคตาแดง เป็นต้น

 

5. ทางระบบอวัยวะลืบพันธุ์  หรือ ทางเพศสัมพันธ์

ติดต่อโดยการร่วมประเวณี ป่วย เช่น กามโรค โรคตับอักเสบชนิด B โรคเอดส์ เป็นต้น เชื้อโรคหนองในจากมารดาที่เข้าตาทารกขณะคลอด ก็ถือเป็นการติดต่อและการแพร่กระจายของเชื้อโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์

 

 6. ทางสายสะดือ (Trans-placental Infection)

โดยทารกจะได้รับเชื้อโรคจากมารดาผ่านทางสายสะดือขณะอยู่ในครรภ์ เช่น โรคซิฟิลิส หัดเยอรมัน โรคเอดส์ เป็นต้น

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า